Thursday, April 25, 2024

วงการชิ้นส่วนยานยนต์สั่นสะเทือน! คอมแพ็ค เบรก เล่นใหญ่ 7 จังหวัด กับแคมเปญ "I Choose ฉันเลือกคอมแพ็ค เบรก"

บริษัท คอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล (1994) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผ้าเบรกคุณภาพยอดขายอันดับ 1 ที่ได้รับการยอมรับในมาตรฐานการผลิตจากยุโรปและอเมริกา รวมถึงการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเบรกที่พร้อมส่งมอบความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานรถยนต์ ภายใต้แบรนด์ "คอมแพ็ค เบรก" ได้เปิดตัวแคมเปญการตลาดสุดล้ำ "I Choose ฉันเลือกคอมแพ็ค เบรก" ยึดครองกลุ่มเป้าหมาย 7 จังหวัด โดยการใช้เทคนิค Street Marketing ดึงดูดสายตาคนเมืองด้วยการตลาดที่แตกต่างทั้งตามถนนเส้นสำคัญๆ สี่แยกกลางเมือง หรือแม้แต่สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นการรับรู้และสร้างความจดจำ สำหรับที่มาของแคมเปญการตลาดดังกล่าวนี้มาจากอินไซต์ของผู้บริโภคทั่วประเทศที่ยืนยันด้วยยอดขายอันดับ 1 ว่า "ใครๆ ก็เลือกใช้คอมแพ็ค เบรก" นอกจากนั้นเพื่อตอบรับกระแสความต้องการของผู้บริโภคในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์คอมแพ็ค เบรก ได้มากขึ้นผ่านศูนย์บริการควิกเซอร์วิส อาทิ Cockpit, Auto1, Compact Premium Service Center, Diamond Service Center และ GRIP ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, นครปฐม, สมุทรสาคร, พระนครศรีอยุธยา และนนทบุรี

วันนี้! ใครๆ ก็ยืนยันเลือก คอมแพ็ค เบรก แล้วคุณหล่ะ? เปลี่ยนเบรกทุกครั้ง เลือกคอมแพ็ค เบรก ได้แล้ววันนี้ที่ศูนย์บริการใกล้บ้านคุณ 

Tuesday, April 23, 2024

เอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป เข้าลงทุนใน SWAT MOBILITY บริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยี AI ในสิงคโปร์

ที่มา: นิปปอน เอ็กซ์เพรส โฮลดิงส์ อิงค์

- เร่งเปลี่ยนผ่านโลจิสติกส์สู่ระบบดิจิทัล ด้วยการปรับเส้นทางการขนส่งให้เหมาะสมและวิเคราะห์ข้อมูลการจราจร -

เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา บริษัท นิปปอน เอ็กซ์เพรส โฮลดิงส์ อิงค์ (NIPPON EXPRESS HOLDINGS, INC.) ได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัท SWAT MOBILITY (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "SWAT") ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยี AI ที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ ผ่านการลงทุนโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นเอ็กซ์ โกลบอล อินโนเวชั่น อินเวสต์เมนต์ (NX Global Innovation Investment Limited Partnership) (ต่อไปนี้จะเรียกว่า "กองทุนเอ็นเอ็กซ์ โกลบอล อินโนเวชั่น") ในโอกาสนี้ นิปปอน เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป หรือ "เอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป" หวังว่าการลงทุนครั้งนี้จะช่วยผลักดันกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลให้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และช่วยแก้ไขปัญหาสังคมในระดับโลก

โลโก้ของ SWAT: https://kyodonewsprwire.jp/img/202404159429-O1-rFKLIb5g
โลโก้ของเอ็นเอ็กซ์: https://kyodonewsprwire.jp/img/202404159429-O2-E9u5HPjs

ภาพรวมของ SWAT
SWAT ก่อตั้งขึ้นในสิงคโปร์เมื่อปี 2558 และให้บริการใน 8 ประเทศ (สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย) บริษัทใช้อัลกอริทึมการกำหนดเส้นทางแบบไดนามิก (*1) ซึ่งสามารถรวบรวมข้อมูลเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดได้ในทันที เพื่อรองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่กระจัดกระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ โดยในประเทศญี่ปุ่นนั้น SWAT กำลังพัฒนาและให้บริการระบบเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า ระบบปฏิบัติการด้านการขนส่งแบบออนดีมานด์ และระบบวิเคราะห์เส้นทางเดินรถประจำทาง ตลอดจนใช้วิธีการใหม่ ๆ ที่ปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของตลาดท้องถิ่นเพื่อให้บริการขนส่งในรูปแบบ Mobility as a Service (MaaS)

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการลงทุน
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังเผชิญกับความท้าทายทางสังคมในระดับโลก เช่น การขาดแคลนคนขับรถ ค่าเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้ บริษัทต่าง ๆ จึงถูกคาดหวังให้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ และช่วยกันสร้างสังคมที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน อันเนื่องมาจากกฎระเบียบการทำงานที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับคนขับรถบรรทุกซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2567 ด้วยเหตุนี้ การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน

เอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป อาศัยการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ พร้อมทั้งสำรวจการใช้ทรัพยากรจากภายนอกองค์กรอย่างจริงจังมาโดยตลอด โดยครอบคลุมถึงการร่วมสร้างสรรค์ (co-creation) (*2) กับบริษัทสตาร์ตอัปในญี่ปุ่นและต่างประเทศ เพื่อบรรลุประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ที่ดียิ่งขึ้น

การเข้าลงทุนใน SWAT ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งด้านโซลูชันการขนส่งที่ล้ำสมัยทั้งในสิงคโปร์และอีกหลายประเทศ ถือเป็นความพยายามของเอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป ในการเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและแก้ไขปัญหาสังคมระดับโลกในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

โครงการริเริ่ม
1. การตรวจสอบการส่งยานพาหนะออกไปปฏิบัติงานด้วยระบบดิจิทัล
เทคโนโลยีอัลกอริทึมการกำหนดเส้นทางแบบไดนามิกและความสามารถด้านการพัฒนาขั้นสูงของ SWAT จะถูกนำไปใช้กับโครงการของเอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและการสร้างมาตรฐานสากลในการจัดส่งยานพาหนะออกไปปฏิบัติงาน

2. การพัฒนาบริการใหม่ด้วยการนำข้อมูลประสิทธิภาพการขนส่งมาใช้ในเชิงกลยุทธ์
เอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป ใช้ข้อมูลประสิทธิภาพการขนส่งที่รวบรวมผ่านกระบวนการตรวจสอบ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตัวแปรในการส่งยานพาหนะออกไปปฏิบัติงาน รวมทั้งคำนวณต้นทุนการรับ-ส่ง และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ เอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป จะดำเนินการพัฒนาบริการใหม่ ๆ โดยอาศัยการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในเชิงกลยุทธ์

เอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป จะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป เพื่อร่วมสร้างสรรค์กับสตาร์ตอัปที่มีอนาคตสดใส

หมายเหตุ:
(*1) อัลกอริทึมการกำหนดเส้นทางแบบไดนามิก: เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อสร้างเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดโดยอ้างอิงจากข้อมูลการจราจรและข้อมูลที่กำหนด
(*2) การร่วมสร้างสรรค์ (co-creation): ความร่วมมือระหว่างบริษัทในเครือเอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป กับกองทุนเอ็นเอ็กซ์ โกลบอล อินโนเวชั่น เพื่อลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัปที่เพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าและการดำเนินงานนอกสถานที่ โดยเอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป และบริษัทสตาร์ตอัปทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุการเติบโตทางธุรกิจ

ข้อมูลบริษัทที่ได้รับเงินลงทุน: https://kyodonewsprwire.jp/attach/202404159429-O3-i7B6ua8R.pdf

เกี่ยวกับเอ็นเอ็กซ์ กรุ๊ป: https://kyodonewsprwire.jp/attach/202404159429-O2-dBeYgDVw.pdf

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเอ็นเอ็กซ์: https://www.nipponexpress.com/

บัญชีลิงด์อินอย่างเป็นทางการของนิปปอน เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป: https://www.linkedin.com/company/nippon-express-group/

ที่มา: นิปปอน เอ็กซ์เพรส โฮลดิงส์ อิงค์

 

Yeast Fuel, Developed by Chula's Faculty of Science Soon to Expand Its Production for the Aerospace Industry

Researchers from Chulalongkorn University have made use of forage grass to feed microorganisms and convert the resulting fat into jet fuel. They aim to expand petroleum-based oil replacement production to reduce impacts on human health and the environment.

Yeast is a microorganism that is an important ingredient in many foods and beverages. However, in the future, yeast will play a major role in the production of fossil-based renewable fuels.

Currently, researchers from Chulalongkorn University's Faculty of Science are accelerating their technological development to scale up the production of aviation biofuel from yeast. This is an extension of the successful results of research that found a strain of yeast with a high potential for producing fat for use in aviation fuel. In addition to producing yeast oil, they use agricultural waste as food to grow microorganisms. This is another way to reduce burning problems and increase the value of agricultural waste.

How did the research originate?

Petroleum is an important source of fuel in today's world, both in various industrial sectors and in transportation, especially the aircraft industry.

A report from the Department of Energy Business of the Ministry of Energy (2019) stated that Thailand's jet fuel import volume has increased significantly. In 2016, Thailand imported 84.9 million liters of jet fuel, but only four years later, in 2019, the amount of jet fuel imports soared to 376.3 million liters per year.

This increase in fuel imports reflects growing industrial demand and the need to find innovations to produce alternative energy that is more friendly to human health and the environment than petroleum.

Prof. Dr. Warawut Chulalaksananukul

The team led by Prof. Dr. Warawut Chulalaksananukul and Asst. Prof. Dr. Chompunuch Glinwong from the Department of Botany, Faculty of Science, Chulalongkorn University has carried out the "Development of scaling-up technology for production of microbial lipid for biojet fuel synthesis" research project.

Assist. Prof. Dr. Chompunuch Glinwong

According to Prof. Dr. Warawut, "The team has been successful in the separation of Saccharomyces cerevisiae yeast (CU-TPD4 strain) that has a high potential for fat accumulation. We have used yeast to produce biojet fuel to meet future energy demand. If we can develop Thailand's potential in the production of bio-jet fuel, it would help our economy progress as well."

The project has received funding from the National Research Council of Thailand, focusing specifically on the Sino-Thai Plans for Renewable Energy to work on the extraction of fat, production of bio-jet fuel from microbial lipid synthesis, and bio-refinery of jet fuel from biomass resources. Aside from the two researchers mentioned, the team also includes three doctoral students from the Department of Botany, namely Dr. Nuttha Chuengcharoenpanich, Dr. Wannaporn Wattanasunthorn, and Mr. Thanapong Tangwanaphrai, with the collaboration of Dr. Surisa Suwannarangsee from the National Centre for Genetic Engineering and Biotechnology under the National Science and Technology Development Agency. They have collaborated with a group of Chinese researchers, including Prof. Zhongming Wang and Prof. Wei Qi from the Guangzhou Institute of Energy Conversion at the Chinese Academy of Science (GIEC).

Dr. Surisa Suwannarangsee

The researcher team

High-potency yeast produces fuel

The researchers selected the yeast from 53 soil samples found in Mae Hongson and other nearby provinces and discovered Saccharomyces cerevisiae yeast (CU-TPD4 strain), which has a high potential for fat accumulation. This came at a time when there had not yet been any reports that this type of yeast could produce high levels of fuel at the same level as existing fuel-producing yeast.

"S. cerevisiae?is classified as a microorganism with high safety levels. It is known to have been used for a very long time, is Generally Recognized as Safe, GRAS, and is therefore used in the food production industry, such as for beer or bread production. Yet, it has not been reported that the particular strain of yeast has been used for the production of fat at the industrial level."

Prof. Dr. Warawut explained that the type of yeast that has been discovered can produce and collect fat in the cells at a level as high as 20-25% of the dry cell weight. These fat properties are extremely beneficial for the development of bioenergy, such as biodiesel.?

"Using oleaginous yeast as a feedstock for biofuel production has several advantages over using plants as an oil source, including the fact that the life cycle of yeast is short, a variety of foods can be used for its cultivation, it is relatively cheap, and it requires little labor. It can be cultivated at any time and doesn't depend on the season; scaling up production is easy, while the fat produced has the same characteristics as that produced from plants. It is safe both for humans and the environment.

Prof. Dr. Warawut also added an important advantage of oil production from yeast, saying that "when the process is developed and the yeast is used at the industrial level, its culture at 40 degrees Celsius can help reduce the cost of the cooling process to control the temperature of the fermentation tank."

This research has attracted interest both nationally and internationally from researchers from such institutions as Hamburg University of Technology (TUHH) in Germany and Toulouse Biotechnology Institute (TBI) in France. Researchers from Hamburg University of Technology (TUHH) in Germany and Toulouse Biotechnology Institute (TBI) in France saw the opportunity to expand the CU-TPD4 yeast leavening production for use in oil, bread, alcohol, and other food products.

Raising yeast using agricultural waste 

In addition to getting energy that is cleaner than fossil energy, the process of growing yeast to produce oil also makes use of agricultural waste, which is part of driving the circular economy and reducing air pollution problems from the burning of agricultural waste.

"In addition to animal fodder grass, agricultural waste and various types of lignocellulosic biomass can be used as carbon sources to feed fat-accumulating yeasts for example, rice straw, corn cobs, sugarcane bagasse, as well as various vegetable and fruit peels such as banana peels, durian peels, and bean shells, especially rice straw, which is a large amount of waste material in Thailand. Therefore, it is considered another way to use agricultural waste to be beneficial as well."

Moreover, there are also reports of waste disposal such as office paper scraps. and wastewater from industrial plants, including wastewater from paper factories. Wastewater from a sago flour factory and wastewater from homes can be used as a carbon source as well. The main aim is to reduce production costs, eliminate waste, and increase the value of such waste materials to make them more useful.

Improvement of yeast strains, expansion of oil production, and adding value to the food and pharmaceutical industries 

The growth of yeast and the amount of oil produced by yeast on a laboratory scale are still not sufficient to meet the demand for fuel in the market. Therefore, it is necessary to develop technology to expand production capacity.

"This can be done by using different methods, such as improving strains of fat-accumulating yeast to increase their ability to produce and accumulate more fat or improving the yeast to be more resistant to conditions that are not suitable for growth. Improve yeast to be more resistant to conditions that are not suitable for growth, such as being able to withstand higher temperatures in the production process to reduce cooling costs. They can also be more resistant to toxins that occur from the process of pretreatment of agricultural waste to reduce the steps and costs of the detoxification process, for example."

Prof. Dr. Warawut explained that at present, the research is focused on increasing the oil production level of the yeast S. cerevisiae at higher levels by genetically modifying the increased expression of the enzyme Acetyl-CoA carboxylase in the TWP02 strain, resulting in increased fat production.

After that, researchers scaled up their study of the oil production process from yeast cells using research tools from the Biological Engineering and Precision Fermentation Laboratory (Bioengineering and precision fermentation laboratory) of the Biotechnology and Materials Research Department Innovation Institute, PTT Public Company Limited, which is Thailand's leading laboratory in biological processes and fermentation processes. Biotechnology research tools from the upstream process are available for the selection and improvement of microbial strains. The fermentation process ranges from a laboratory scale with a 2-liter fermentation tank to a prototype research unit with a 20,000-liter fermentation tank. This includes downstream processes used to separate microbial cells, such as breaking microbial cells with pressure, increasing the concentration and purity of biologics, and forming biopharmaceuticals into dry form by heating or cooling. The potential of the laboratory helps enable this research project to evaluate the potential for designing an appropriate biofuel production process for aircraft.

Prof. Dr. Warawut ended by saying that in addition to producing biodiesel and jet fuel, improving fat-accumulating yeast strains can produce fatty acids such as unsaturated fatty acids. This is a type of fat that is in demand in the market and has a high value. It can also be used as a starting material for producing other products in the fields of food, cosmetics, and medicine that can meet the needs of sustainable life science businesses as well.

"Chulalongkorn University sets the standard as a university of innovations for society and is listed in the World's Top 100 Universities for Academic Reputation, in the Quacquarelli Symonds (QS) World University Rankings 2021-2022." 

น้ำมันเชื้อเพลิงจากยีสต์! ผลงานวิจัยคณะวิทย์ฯ จุฬาฯ จ่อขยายการผลิตเพื่ออุตสาหกรรมอากาศยาน

นักวิจัย จุฬาฯ ใช้หญ้าอาหารสัตว์ เลี้ยงจุลินทรีย์เพื่อนำไขมันที่ได้มาเปลี่ยนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ตั้งเป้าขยายการผลิตทดแทนน้ำมันจากปิโตรเลียม ลดผลกระทบทางสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารและเครื่องดื่มหลายประเภท อาทิ ขนมปัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ในอนาคต ยีสต์จะเป็นกำลังสำคัญในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนพลังงานที่มาจากฟอสซิล

ปัจจุบัน นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีขยายขนาดการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยานจากยีสต์ ซึ่งเป็นการต่อยอดผลสำเร็จจากการวิจัยพบยีสต์สายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงในการผลิตไขมันเพื่อนำมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน โดยในกระบวนการผลิตน้ำมันจากยีสต์นั้น ยังได้ใช้ของเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรมาเป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ นับเป็นการลดปัญหาจากเผาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเหลือทิ้งภาคการเกษตรอีกทางหนึ่งด้วย

ที่มางานวิจัยผลิตน้ำมันจากยีสต์

น้ำมันปิโตรเลียมเป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงสำคัญในโลกปัจจุบัน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ และการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมอากาศยาน รายงานจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน (พ.ศ. 2562) ระบุว่าประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าเชื้อเพลิงในกลุ่มน้ำมันอากาศยานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยนำเข้าเชื้อเพลิงในกลุ่มน้ำมันอากาศยาน 84.9 ล้านลิตร แต่เพียง 4 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2562 ปริมาณการนำเข้าเชื้อเพลิงในกลุ่มน้ำมันอากาศยานทะยานสูงขึ้นถึง 376.3 ล้านลิตรต่อปี

ปริมาณการนำเข้าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดนี้สะท้อนความต้องการในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต และความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องค้นหานวัตกรรมเพื่อผลิตพลังงานทดแทน ที่เป็นมิตรต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากกกว่าน้ำมันปิโตรเลียม

ศ. ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล

คณะนักวิจัยนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมภูนุช กลิ่นวงษ์ จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินโครงการวิจัย "การพัฒนาเทคโนโลยีการขยายขนาดการผลิตน้ำมันจากยีสต์เพื่อสังเคราะห์น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน"(Development of scaling-up technology for production of microbial lipid for bio jet fuel synthesis)

ผศ. ดร.ชมภูนุช กลิ่นวงษ์

"คณะผู้วิจัยประสบความสำเร็จในการคัดแยกยีสต์ชนิด Saccharomyces cerevisiae ที่มีศักยภาพในการสะสมไขมันสูง สายพันธุ์ CU-TPD4 และได้นำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ชีวภาพ เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต หากเราสามารถพัฒนาศักยภาพของประเทศในด้านการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ จะมีส่วนช่วยเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปด้วย" ศ.ดร.วรวุฒิ กล่าวถึงความความสำเร็จและเป้าหมายของการวิจัย

โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยรับทุนในกลุ่มเรื่องแผนงานพลังงานทดแทน ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน กรอบวิจัยพลังงานทดแทน (Renewable Energy) แผนงานวิจัยการสังเคราะห์ไขมันและการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานจากชีวมวล Microbial lipid synthesis and bio-refinery of jet fuel from biomass resource ซึ่งนอกจาก ศ.ดร.วรวุฒิ และผศ.ดร.ชมภูนุช แล้ว คณะผู้วิจัยยังประกอบด้วยนิสิตปริญญาเอกจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ จำนวน 3 คน ได้แก่ ดร.ณัฏฐา จึงเจริญพานิชย์ ดร.วรรณพร วัฒน์สุนธร และนายธนาพงษ์ ตั้งวนาไพร ร่วมด้วย ดร. สุริษา สุวรรณรังษี จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และกลุ่มนักวิจัยจีน ได้แก่ Prof. Zhongming Wang และ Prof. Wei Qi จาก Guangzhou Institute of Energy Conversion, Chinese Academy of Science (GIEC)

ดร.สุริษา สุวรรณรังษี

คณะวิจัย

ยีสต์ศักยภาพสูงผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง

ศ.ดร.วรวุฒิ เล่าว่านักวิจัยได้คัดแยกยีสต์จากตัวอย่างดินทั้งหมด 53 ตัวอย่าง จากตัวอย่างดินที่เก็บในเขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดใกล้เคียง และได้ค้นพบยีสต์ที่มีศักยภาพในการสะสมไขมันสูง สายพันธุ์ CU-TPD4 ซึ่งจัดเป็นยีสต์ชนิด Saccharomyces cerevisiae (S. cerevisiae) ซึ่งในเวลานั้น ไม่เคยมีรายงานมาก่อนว่ายีสต์ชนิดนี้สามารถผลิตน้ำมันได้ในปริมาณสูงเทียบเท่ายีสต์ผลิตน้ำมันชนิดที่มีอยู่

"ยีสต์ S. cerevisiae จัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยสูง มีประวัติการใช้มาอย่างยาวนานและได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัย (Generally Recognized as Safe, GRAS) ซึ่งมีการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ และอุตสาหกรรมการผลิตขนมปัง แต่ยังไม่เคยมีรายงานการนำยีสต์สายพันธุ์ดังกล่าวมาใช้เพื่อการผลิตไขมันในระดับอุตสาหกรรม"

ศ.ดร.วรวุฒิ อธิบายว่ายีสต์สายพันธุ์ที่พบนี้สามารถผลิตและสะสมไขมันในเซลล์ได้สูงถึงร้อยละ 20-25 ของน้ำหนักเซลล์แห้ง ซึ่งคุณสมบัติของไขมันดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาไปเป็นพลังงานชีวภาพอย่างไบโอดีเซล

"การใช้ยีสต์ผลิตน้ำมันเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพมีข้อได้เปรียบมากกว่าการใช้พืชเป็นแหล่งของน้ำมันหลายประการ ได้แก่ วงจรชีวิตของยีสต์สั้น สามารถใช้อาหารในการเจริญเติบโตได้หลากหลาย ราคาถูก ใช้แรงงานน้อย สามารถเพาะเลี้ยงได้ทุกช่วงเวลา ไม่ขึ้นกับฤดูกาล ง่ายต่อการขยายขนาดการผลิต และไขมันที่ผลิตได้มีลักษณะเดียวกับที่ผลิตได้จากพืช ซึ่งเมื่อนำมาใช้ประโยชน์ มีความปลอดภัยกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม"

นอกจากนี้ ศ.ดร.วรวุฒิ กล่าวเสริมข้อได้เปรียบสำคัญอีกประการของการผลิตน้ำมันจากยีสต์ว่า "เมื่อมีการพัฒนากระบวนการและนำยีสต์ดังกล่าวไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการหล่อเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิถังหมักลงได้"

งานวิจัยนี้ได้รับความสนใจจากนักวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น Hamburg University of Technology (TUHH) ประเทศเยอรมนี และ Toulouse Biotechnology Institute (TBI) ประเทศฝรั่งเศส ที่เห็นโอกาสในการขยายการผลิตหัวเชื้อยีสต์ CU-TPD4 เพื่อใช้ในการผลิตน้ำมัน ควบคู่กับการผลิตขนมปัง แอลกอฮอล์ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้านอาหาร

เลี้ยงยีสต์ด้วยวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร

นอกจากจะได้พลังงานที่สะอาดกว่าพลังงานฟอสซิลแล้ว กระบวนการเลี้ยงยีสต์เพื่อผลิตน้ำมันยังได้ใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร อันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน และลดปัญหามลพิษทางอากาศที่มาจากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

"นอกจากหญ้าอาหารสัตว์แล้ว วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและชีวมวลประเภทลิกโนเซลลูโลสประเภทต่าง ๆ สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อให้แก่ยีสต์สะสมไขมันได้ ยกตัวอย่างเช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย รวมทั้งเปลือกผักและผลไม้ต่าง ๆ ได้แก่ เปลือกกล้วย เปลือกทุเรียน เปลือกถั่ว โดยเฉพาะฟางข้าว ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งปริมาณมากของประเทศไทย จึงนับเป็นการใช้ของเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์อีกทางหนึ่ง"

นอกจากนี้ ยังมีรายงานการนำของเหลือทิ้ง เช่น เศษกระดาษสำนักงาน และน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำทิ้งจากโรงงานผลิตกระดาษ น้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งสาคู และน้ำทิ้งจากบ้านเรือน มาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนเช่นเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์หลักในการลดต้นทุนการผลิต เพื่อกำจัดของเสีย และเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้งดังกล่าวให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซลด้วยน้ำมันที่ผลิตได้จากยีสต์สะสมไขมัน

ปรับปรุงสายพันธุ์ยีสต์ ขยายการผลิตน้ำมัน เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมอาหารและยา

การเจริญเติบโตของยีสต์และปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้จากยีสต์ในสเกลการผลิตในห้องปฏิบัติการนั้น ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเชื้อเพลิงในตลาด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อขยายขนาดกำลังผลิต

"เรื่องนี้สามารถทำได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงสายพันธุ์ของยีสต์สะสมไขมัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตและสะสมไขมันให้ได้มากขึ้น หรือปรับปรุงให้ยีสต์สามารถทนทานต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตได้มากขึ้น เช่น สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นในกระบวนการผลิต เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการหล่อเย็น หรือสามารถทนต่อสารพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการปรับสภาพวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรได้มากขึ้น เพื่อลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในกระบวนการ Detoxification เป็นต้น"

ศ.ดร.วรวุฒิ กล่าวว่าปัจจุบันการวิจัยมุ่งเน้นที่จะเพิ่มระดับการผลิตน้ำมันของยีสต์ S. cerevisiae ในระดับขยายขนาดที่สูงขึ้น โดยทำการดัดแปลงพันธุกรรม เพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ Acetyl-CoA carboxylase เป็นสายพันธุ์ TWP02 ทำให้ผลิตไขมันได้เพิ่มสูงขึ้น หลังจากนั้นจึงได้ศึกษากระบวนผลิตน้ำมันจากเซลล์ยีสต์ในระดับขยายขนาด โดยใช้บริการเครื่องมือวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิศวกรรมชีวภาพและการหมักแม่นยำ (Bioengineering and precision fermentation laboratory) ของฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวัสดุ สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการชั้นนำของประเทศไทยทางด้านกระบวนการทางชีวภาพและกระบวนการหมัก มีความพร้อมของเครื่องมือวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำที่ใช้ในการคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ กระบวนหมักตั้งแต่ระดับห้องปฏิบัติการขนาดถังหมัก 2 ลิตร ไปจนถึงระดับหน่วยวิจัยต้นแบบขนาดถังหมัก 20,000 ลิตร รวมไปถึงกระบวนการปลายน้ำที่ใช้ในการแยกเซลล์จุลินทรีย์ การทำให้เซลล์ของเชื้อจุลินทรีย์แตกด้วยความดัน การเพิ่มความเข้มข้นและความบริสุทธิ์ของสารชีวภัณฑ์ ตลอดจนการขึ้นรูปสารชีวภัณฑ์ในรูปแบบแห้งด้วยความร้อนหรือความเย็น ซึ่งศักยภาพของห้องปฏิบัติการดังกล่าวมีส่วนช่วยทำให้โครงงานวิจัยนี้สามารถประเมินศักยภาพสำหรับการออกแบบกระบวนผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับอากาศยานที่เหมาะสมต่อไปได้

ท้ายที่สุด ศ.ดร.วรวุฒิ กล่าวว่านอกจากการผลิตไบโอดีเซลและเชื้อเพลิงอากาศยานแล้ว การปรับปรุงสายพันธุ์ของยีสต์สะสมไขมันให้สามารถผลิตกรดไขมัน เช่น กรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นไขมันชนิดที่มีความต้องการในตลาดและมีมูลค่าสูง ยังสามารถใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้านอาหาร เครื่องสำอาง และยา ที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจทางด้าน Life Science อย่างยั่งยืนได้อีกด้วย

"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงติด 100 อันดับแรกของโลกด้านชื่อเสียงทางวิชาการ โดย (QS) World University Rankings 2021-2022"

ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก

 

ศูนย์สื่อประจำเขตปกครองตนเองฉางเจียงหลี่

เมื่อไม่นานมานี้ ในพิธีปิดแฟชั่นวีค (Fashion Week) ประจำงานมหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคนานาชาติจีน (China International Consumer Products Expo) ประจำปี 2567 ทางเขตปกครองตนเองฉางเจียงหลี่ มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน ได้จัดแฟชั่นโชว์ "Rendezvous with Changjiang" ขึ้น โดยมีดีไซเนอร์ชื่อดังร่วมนำเสนอความงดงามของฉางเจียง ไห่หนาน และจีน สู่สายตาคนทั่วโลก

โชว์ปิดงานนี้นำองค์ประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นงิ้วฉางเจียง ผ้ายกและเครื่องปั้นดินเผาหลี่ และอีกมากมายมานำเสนอ บนรันเวย์ที่ตกแต่งด้วยแพไม้ไผ่ฉางเจียง เครื่องปั้นดินเผาหลี่ เครื่องทอผ้า และม่านผ้ายกหลี่ทั้งสองด้าน ทำให้ผู้ชมได้ดื่มด่ำไปกับความงดงามทางธรรมชาติและความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมแบบฉบับฉางเจียง บรรดาแฟชั่นดีไซเนอร์ยังได้ผสมผสานองค์ประกอบทางวัฒนธรรมของฉางเจียงลงในงานออกแบบของตนอย่างสร้างสรรค์ โดยนำสุนทรียภาพแบบดั้งเดิมมาผสานรวมเข้ากับศิลปะการออกแบบสมัยใหม่ เพื่อสร้างสรรค์แฟชั่นที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในระดับชาติ สะท้อนความเป็นเลิศทางวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน

มหกรรมนี้เป็นงานแสดงสินค้าอุปโภคบริโภคคุณภาพสูงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยปีนี้เปิดพื้นที่ให้แบรนด์กว่า 4,000 แบรนด์จาก 71 ประเทศและภูมิภาค ซึ่งได้เข้ามากระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในด้านเศรษฐศาสตร์ การค้า และวัฒนธรรม

เจ้าหน้าที่จากศูนย์สื่อประจำเขตปกครองตนเองฉางเจียงหลี่ระบุว่า ทางเขตปกครองฯ ได้ร่วมมือกับงานแฟชั่นวีคประจำมหกรรมนี้เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอวัฒนธรรมของฉางเจียงให้โลกได้รับรู้ นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดแสดงมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในระดับมณฑลของฉางเจียงอย่าง "สตูลหนังวัว" เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในนิทรรศการภาพนานาชาติและงานส่งเสริมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมไห่หนาน "Bonjour Chine, Soleil Hainan" ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากทั้งชาวฝรั่งเศสและสื่อมวลชนทั่วโลก

ที่มา: ศูนย์สื่อประจำเขตปกครองตนเองฉางเจียงหลี่

Monday, April 22, 2024

Meet China's Changjiang: A Rendezvous with its cultural and artistic fusion

 

Convergence Media Center of Changjiang

Recently, at the closing ceremony of the Fashion Week of the 2024 China International Consumer Products Expo, "Rendezvous with Changjiang", a fashion show produced by Changjiang Li Autonomous County of Hainan Province and esteemed designers, showcased the beauty of Changjiang, of Hainan, and of China to the world.

With elements like Changjiang red silk-cotton tree, Li brocade, Li pottery, and more, the closing show featured a runway decorated with Changjiang bamboo rafts, Li pottery, looms, and Li brocade curtains on both sides, immersing the audience in the unique natural beauty and cultural richness of Changjiang. Fashion designers also creatively incorporated Changjiang's cultural elements into their designs, blending traditional aesthetics with modern design art to produce a series of national specialty fashions, offering a vivid illustration of its cultural excellence.

As the largest high-quality consumer products exhibition in the Asia-Pacific region, the Expo provided a platform for more than 4,000 brands from 71 countries and regions this year, which has deepened exchanges and cooperation in economics, trade, and culture.

According to officials from the Convergence Media Center of Changjiang, the county has been collaborating with the Expo's Fashion Week for the third consecutive year, demonstrating its commitment to showcasing Changjiang's culture to the world. Moreover, in March this year, "cowhide stool", the Changjiang's provincial-level intangible cultural heritage, was exhibited at the "Bonjour Chine, Soleil Hainan" International Image Exhibition and Hainan Tourism and Cultural Promotion Event in Paris, France, and has attracted significant attention from French audiences and international media.

Source: Convergence Media Center of Changjiang

Bridgestone Receives "The Best Supplier of Overall Performance in 2023 (Truck Business)" Award, As a Strong Partnership with Hino


Mr. Chayut Wiriyawattana, OE Business Senior General Manager of Thai Bridgestone Co., Ltd. (left), received the prestigious award “The Best Supplier of Overall Performance in 2023 (Truck Business), Gold level” from Mr. Chaiyant Nimnualphong, President of Hino Motors Manufacturing (Thailand) Ltd. (right)

Thai Bridgestone Co., Ltd., led by Mr. Chayut Wiriyawattana, OE Business Senior General Manager received the prestigious award for the best performance in 2023 "The Best Supplier of Overall Performance in 2023 (Truck Business), Gold level" from Hino Motors Manufacturing (Thailand) Ltd., represented by Mr. Chaiyant Nimnualphong, President, in "THE HMMT ANNUAL SUPPLIER CONFERENCE 2024 and THE 46th THCC ORDINARY CONFERENCE". The award ceremony was taken place at Novotel Bangkok Suvarnabhumi Airport Hotel, Samut Prakan province. This award was considered as the highest level that Hino bestows upon suppliers who deliver outstanding performance in supplying truck tires, reaffirming another pride for Bridgestone with strong teams and continues strengthening the partnership with Hino through premium truck tires to deliver a superior driving experience, ensuring customers satisfaction and steadily grow with Hino.

Mr. Chayut Wiriyawattana, OE Business Senior General Manager (middle)
with OE Business team of Thai Bridgestone Co., Ltd.

THE HMMT ANNUAL SUPPLIER CONFERENCE 2024 and THE 46th THCC ORDINARY CONFERENCE were organized by Hino Motors Manufacturing (Thailand) Ltd., overseeing Hino's trucks & buses and automotive parts manufacturing in Thailand. The ceremony aimed to announce the business performance of Hino's trucks & buses, and future business trends. It also aimed to honor and recognize suppliers within the country based on their performances in 2023 in various aspects such as quality, delivery, safety, and corporate.

Mr. Chayut Wiriyawattana, OE Business Senior General Manager of Thai Bridgestone Co., Ltd., stated that "Bridgestone feels honored and proud to earn trust from Hino as a business partner with outstanding performance, derived from our core strengths; our experienced management teams combined with the expert staff in product development, service, and solutions for truck tires. We are committed to improving business by offering innovative advanced technologies to elevate the premium standards of truck tires with a focus on value and safety. Furthermore, we consistently enhance our internal and team management and are dedicated to delivering co-creation value to our customers and growing sustainably with Hino."


The Best Supplier of Overall Performance in 2023 (Truck Business), Gold level” award

About Bridgestone in Thailand:
Bridgestone is a global leader in tires and rubber building on its expertise to provide solutions for safe and sustainable mobility. In Thailand, Thai Bridgestone Co., Ltd. (TBSC) is a leading manufacturer in the Thai automotive industry, while Bridgestone Sales (Thailand) Co., Ltd. (BSTL) is the exclusive importer & distributor, and supervises the marketing strategy for Bridgestone, Firestone and Dayton branded tires in Thailand. Bridgestone is a brand trusted by its customers, dealers and business partners. Bridgestone offers a diverse product portfolio of premium tires and advanced solutions backed by innovative technologies, improving the way people around the world move, live, work and play.