เขตปกครองตนเองหลินเซี่ย มณฑลกานซู ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน เป็นพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเกษตรกรรมที่มีสภาพแห้งแล้ง ประชากรเกือบ 80% อาศัยอยู่ในพื้นที่แถบชนบทและสองในสามของพื้นที่เพาะปลูกตั้งอยู่ในเขตแห้งแล้งจัดและกึ่งแห่งแล้ง ดังนั้นความพยายามที่จะลดความยากจนในภูมิภาคนี้ จึงต้องขึ้นอยู่กับการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่แห้งแล้ง
การสนับสนุนเทคโนโลยีการเกษตรล่าสุด ช่วยทำให้ผลผลิตข้าวโพดในภูมิภาคเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้นเป็น 1.37 ล้านหมู่ (mu) หรือราว 91,333 เฮคตาร์ คิดเป็น 69.2% เมื่อเทียบกับพื้นที่เพาะปลูกข้าว ผลผลิตข้าวโพดพุ่งแตะระดับ 500,000 ตัน คิดเป็น 62.4% ของผลผลิตธัญพืชทั้งหมด อย่างไรก็ตาม พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่เพิ่มมากขึ้นกลับมีผลต่อประสิทธิภาพการเพาะปลูก รายได้เกษตรกรลดลง และเกิดการสะสมของซังข้าวโพดปริมาณมหาศาล ส่งผลให้มีการทิ้งทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในชนบท ในทางกลับกัน เขตปกครองตนเองหลินเซี่ยยังเป็นที่ตั้งของแหล่งอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่แข็งแกร่งซึ่งมีความต้องการสูงในเรื่องของอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ การใช้ซังข้าวโพดที่ไม่มีประสิทธิภาพและอาหารสัตว์คุณภาพสูงที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ความท้าทายในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้น
เพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าว ในปี 2560 เขตปกครองตนเองหลินเซี่ยเริ่มเปลี่ยนการเพาะปลูกทำการเกษตรไปสู่การเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์แทน พร้อมส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การเก็บรักษาคลังผลผลิต และการหมักอาหารสัตว์ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการเพาะปลูกและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ปัจจุบันเขตปกครองตนเองหลินเซี่ยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์โดยเฉพาะประมาณ 299,000 หมู่ และคาดการณ์กำลังการผลิตอยู่ที่ 2.48 ล้านตันสำหรับอาหารสัตว์คุณภาพดี
หากเดินเข้าไปในเขตจ้าวเจียวของเขตปกครองตนเองตงเซียงในหลินเซี่ยแล้ว จะต้องตื่นตาตื่นใจไปกับลูกบอลขนาดใหญ่สีน้ำเงินและสีขาว ตั้งอยู่ริมถนนและพื้นที่โล่งในหมู่บ้าน นายหม่า เฉิงหมิง ซึ่งเป็นชาวบ้านในหมู่บ้าน ได้เปลี่ยนข้าวโพดจากพื้นที่ทั้ง 6 หมู่ของเขาเป็นอาหารสัตว์ "เหล่านี้คืออาหารสัตว์ที่เพิ่งทำใหม่ ซึ่งจะพร้อมให้โค กระบือ และแกะของเราสามารถเพลิดเพลินกับอาหารแสนอร่อยเหล่านี้ไปได้ในอีกประมาณ 1 เดือนให้หลัง"
อาหารสัตว์ที่หมักไว้ทำจากการบดซังข้าวโพดและลำต้นข้าวโพดให้ละเอียด ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้ถึง 1-3 ปี การทดลอง "ปลูกพืชอาหารสัตว์" นั้น มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการผลิตอาหารสัตว์จากข้าวโพดและเปลี่ยนแปลงพืชที่ได้จากการเก็บเกี่ยวให้เป็นอาหารสัตว์ ศาสตราจารย์เหอ ชุนกี รองคณบดีของคณะวิทยาศาสตร์การเกษตรวิทยาลัยกานซู่ อธิบายการตัวอย่างการเพิ่มมูลค่าของวิธีการดังกล่าวไว้ว่า "อัตราส่วนสารอาหารของหญ้าแห้งนั้นต่ำกว่า 5% ขณะที่อัตราส่วนสารอาหารจากการใช้วิธีการอื่นๆอยู่ที่ประมาณ 30% และอัตราส่วนสารอาหารของอาหารสัตว์จากพืชทั้งต้นอาจจะสูงได้ถึง 70%"
เมื่อเริ่มการทดลองนี้ในปี 2560 นายหม่ายังรู้สึกสับสนอยู่ว่า อาหารสัตว์จากวิธีการดังกล่าวจะขึ้นราหรือไม่ เนื่องจากลำต้นและข้าวโพดสดๆ จะถูกบดให้ละเอียดและบรรจุโดยตรง นายหม่าได้ตัดสินใจทดลองด้วยการเปลี่ยนแปลงพืชให้เมล็ดของตนเองจากพื้นที่เพาะปลูก 2 หมู่ ให้เป็นพืชอาหารสัตว์ตามคำแนะนำของรัฐบาลท้องถิ่นและความร่วมมือจากภาคเกษตร และสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นผิดคาด เนื่องจากอาหารสัตว์ไม่ขึ้นรา ขณะที่ต้นทุนการเพาะปลูกก็ลดลงอย่างมาก ซึ่งทำให้นายหม่าเห็นโอกาสที่จะร่ำรวย
นายหม่ากล่าวว่า ข้าวโพดจากพื้นที่เพาะปลูก 1 หมู่ สามารถทำอาหารสัตว์ได้ 4 ตัน นายหม่าได้เปลี่ยนพืชให้เมล็ดทั้งหมดที่เหลืออีกในพื้นที่เพาะปลูก 4 หมู่ เป็นพืชอาหารสัตว์ในปีนี้ ซึ่งเพียงพอที่จะให้อาหารโค กระบือ จำนวน 10 ตัว และแกะ 100 ตัว นับว่าช่วยประหยัดเงินค่าอาหารสัตว์ได้มาก เนื่องจากนายหม่าไม่ต้องเสียเงินซื้ออาหารสัตว์อีกต่อไป
การลดรายจ่ายนี้ไม่ใช่ผลประโยชน์เพียงประการเดียวที่ได้จากการทดลองนี้เท่านั้น อาหารสัตว์ที่ผ่านการหมักยังช่วยขุน โค กระบือ และแกะอ้วนท้วนขึ้น และทำให้เนื้อมีคุณภาพดีขึ้น นายหม่าชี้ให้เห็นว่า อาหารสัตว์จากการหมักเป็นอาหารที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากอาหารสัตว์ดังกล่าวจะผลิตกรดแลคติกชนิดหนึ่งหลังจากการหมัก นอกเหนือจากจะได้รสชาติที่อร่อยแล้ว การหมักช่วยยังลดการเกิดโรคในลำไส้สำหรับโค กระบือ และแกะ อีกทั้งยังช่วยรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์โคกระบือให้ได้ตามที่ต้องการ
ด้านนายหม่า เหว่ยซง ชาวบ้านอีกรายที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ เลี้ยงแกะและวัวจำนวนกว่า 20 ตัว เขาเคยให้อาหารพวกมันด้วยหญ้าแห้งในฤดูหนาวเนื่องจากอาหารสัตว์มีราคาสูง จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า บรรดาสัตว์ของเขาเติบโตอย่างเชื่องช้า
ในปีนี้ หม่า เหว่ยซง ปฎิบัติตามคำขอร้องจากรัฐบาลเรื่องการทดลองและปลูกอาหารพืชสัตว์แทนเมล็ดพันธ์ทั้งพื้นที่เพาะปลูก 5 หมู่ ถุงหมักสีเขียวเรียงซ้อนกันเป็นแถวและเป็นระเบียบเรียบร้อยในทุ่งนา "ข้าวโพดหมักมีราคาอยู่ที่ 0.35 หยวนต่อกิโลกรัม และพื้นดิน 1 หมู่สามารถสร้างรายได้ 1,300 หยวน ซึ่งมากกว่าการขายข้าวโพดที่อาจจะขายได้ไม่ถึง 1,000 หยวน" นายหม่ากล่าว พร้อมตัดสินใจที่จะเก็บรักษาอาหารสัตว์ประเภทนี้ไว้สำหรับสัตว์เลี้ยงของตนเองแทนการขาย
"อาหารชนิดนี้มีส่วนทำให้เหล่าโคกระบือเติบโตเร็วขึ้นกว่าเดิม 1 เดือน ด้วยวิธีนี้ ที่ดินหนึ่งหมู่จึงสามารถสร้างรายได้กว่า 2,000 หยวน" หม่า เหว่ยซง ระบุถึงแผนของตนเอง
หลังจากทีได้ส่งเสริมแนวทางดังกล่าวมาตลอดเกือบ 2 ปี การทดลองเปลี่ยนการปลูกธัญพืชเป็นพืชอาหารสัตว์ก็เริ่มได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจากผู้คนท้องถิ่น เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของการหมัก การเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของหลินเซี่ยที่ขยายตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในแง่ของปริมาณ ตลอดจนกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ข้อมูลอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นว่า มณฑลหลินเซี่ยมีจำนวนโค กระบือ 450,000 ตัว และแกะ 3 ล้านตัวอยู่ในสต็อก
ที่มา : รัฐบาลประชาชนของจังหวัดปกครองตนเองหลินเซี่ย
AsiaNet76784
No comments:
Post a Comment