Monday, November 23, 2015

สิงคโปร์รั้งตำแหน่งศูนย์กลางบุคลากรที่มีศักยภาพทางธุรกิจแห่งใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          ศูนย์ความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของโรงเรียนธุรกิจ IMD เปิดเผยรายงาน World Talent Report ประจำปีครั้งที่ 2

          สิงคโปร์แซงหน้ามาเลเซียขึ้นแท่นระบบเศรษฐกิจแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเครื่องมือที่ดีที่สุดในการพัฒนา ดึงดูด และรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ

          รายงาน World Talent Report [http://www.imd.org/wcc/news-talent-report/] ฉบับล่าสุดจาก IMD ซึ่งเป็นโรงเรียนธุรกิจระดับโลก [http://www.imd.org/] ยกให้สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 10 ของประเทศที่มีศักยภาพในการตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆของบริษัท

          ในทางตรงกันข้าม มาเลเซีย ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 5 เมื่อปีที่แล้ว ร่วงหลุดจาก 10 อันดับแรก ภายหลังจากที่ดัชนีชี้วัดด้านประสิทธิภาพหลายๆดัชนีปรับตัวลดลง

          รายงานดังกล่าวนำเสนอผลการประเมินประจำปีเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถของประเทศต่างๆ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้เป็นบุคลากรที่ทำงานในภาคธุรกิจที่ดำเนินงานภายในระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

          ศาสตราจารย์อาร์ทูโร บริส ผู้อำนวยการของศูนย์ความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (World Competitiveness Center) [http://www.imd.org/wcc/] ของ IMD ซึ่งได้ศึกษาในหัวข้อดังกล่าว กล่าวว่า "ปัจจัยที่สำคัญที่มีส่วนทำให้ประเทศต่างๆได้รับการจัดอันดับที่สูงก็คือความรวดเร็ว"

          "เรื่องดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศในการใช้และกำหนดนโยบายในการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในขณะเดียวกันจะทำให้ประเทศนั้นๆเป็นประเทศที่เรามองว่า 'มีความสามารถ-มีศักยภาพด้านการแข่งขัน'"

          "เห็นได้อย่างชัดเจนว่า มาเลเซียได้สูญเสียคุณสมบัติเรื่องความรวดเร็ว โดยอันดับที่ลดลงของมาเลเซียถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทันทีและมีนัยสำคัญ ไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้ว่า นี่เป็นแนวโน้มที่มาเลเซียจะต้องทำให้ดีเพื่อที่จะพลิกกลับคืนมา"

          มาเลเซียมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557 โดยอันดับทะยานขึ้นจากอันดับที่ 20 มาอยู่ที่อันดับที่ 5 ก่อนที่จะร่วงลงใน 'เกือบทุกดัชนีชี้วัดความสามารถ' ในช่วงปีที่ได้มีการศึกษาเมื่อปีที่แล้ว

          ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์ซึ่งอันดับปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 2 ในประเภททั่วไปในปี 2551 นั้น อันดับได้ปรับตัวลดลงไปอยู่ในระดับกลาง ในปี 2556 และ 2557 และฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่อันดับ 10 ในปี 2557

          ส่วนประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคลื่อนไหวในทิศทางที่แตกต่างกัน ในขณะที่ฮ่องกงเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 21 ในปีที่แล้ว มาอยู่ที่อันดับที่ 12 ในปีนี้ และอินโดนีเซียร่วงจากอันดับที่ 25 ไปอยู่ที่อันดับ 41

          ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจสำคัญๆหลายประเทศก็มีอันดับที่ไม่น่าพึงพอใจเท่าใดนัก โดยสหรัฐอยู่ที่อันดับที่ 14 ส่วนสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 21 ฝรั่งเศสอยู่ที่ 27 และจีนแผ่นดินใหญ่ปรับตัวลงมาอยู่ที่อันดับ 40

          สวิตเซอร์แลนด์ยังคงรั้งอันดับสูงสุดในปีนี้เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยเดนมาร์ก ลักเซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ เยอรมนี แคนาดา และเบลเยียม

          ผลการจัดอันดับเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันเป็นระยะเวลา 20 ปี ซึ่งรวมถึงผลการสำรวจความเห็นเชิงลึกจากผู้บริหารกว่า 4,000 ราย ใน 61 ประเทศที่ได้มีการศึกษา

          การศึกษาเน้นไปที่ประเภทที่สำคัญๆ 3 ประเภท อันได้แก่ การลงทุน/พัฒนา ความน่าสนใจ และความพร้อม ซึ่งได้รับมาจากปัจจัยในวงกว้าง ซึ่งรวมถึง การศึกษา การฝึกงาน การฝึกอบรมพนักงาน ภาวะสมองไหล ค่าครองชีพ แรงจูงใจของพนักงาน คุณภาพชีวิต ความเชี่ยวชาญด้านภาษา ค่าตอบแทน และอัตราภาษี

          ประเภทที่สำคัญๆดังกล่าวได้ถูกรวบรวมเข้าไว้ในการจัดอันดับโดยรวมประจำปี นอกจากนี้ การประเมินแต่ละประเทศในมิติต่างๆได้มีการประเมินมาเป็นระยะเวลากว่าทศวรรษ ในตัวอย่างดังกล่าวจากปี 2548 - 2558 เพื่อระบุถึงประเทศที่มีศักยภาพด้านการแข่งขันในด้านความสามารถสูงสุด

          เกี่ยวกับ IMD
          ศูนย์กลางความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของ IMD เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนธุรกิจ IMD และเป็นผู้เผยแพร่ World Competitiveness Yearbook ประจำปี World Competitiveness Yearbook ของ IMD ได้มีการเผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2532 และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นรายงานประจำปีชั้นนำในด้านศักยภาพการแข่งขันของประเทศต่างๆ

          ติดต่อ:

          แมทธิว มอร์เทลลาโร
          โทร: +41-21-618-0352
          อีเมล: matthew.mortellaro@imd.org

          สิงคโปร์

          จอน นีโอ
          โทร: +65-6327-0283
          อีเมล: jon.nio@mslgroup.com

          แหล่งข่าว: IMD International

         พีอาร์นิวส์ไวร์


No comments:

Post a Comment