Friday, July 25, 2025

ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ มอบอุปกรณ์สาธิต SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) ให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ให้นักศึกษา

 


ดร.ประดิษฐพงษ์ สุขสิริถาวรกุล Director & Vice President บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ส่งมอบอุปกรณ์สาธิต SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) ตามมาตรฐาน IEC 61850 ให้กับ รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการสนับสนุนการศึกษา การวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ

ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากร ถือเป็นรากฐานสำคัญของระบบพลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต และยังมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับวิศวกรในอนาคต ผ่านการศึกษาและการพัฒนาทักษะสหวิทยาการที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน การสนับสนุนและการส่งมอบระบบ SCADA ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษานี้ ช่วยเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์จริงในการจัดการระบบพลังงานที่ซับซ้อน การดำเนินงานนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในการสร้างห้องปฏิบัติการ ‘มีชีวิต’ ที่นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีเพื่อนำมาปรับใช้ในสถานการณ์จริง

SCADA เป็นระบบควบคุมและเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ในสถานีไฟฟ้าย่อย เพื่อให้สามารถมอนิเตอร์และควบคุมระบบไฟฟ้าได้จากศูนย์ควบคุมและอุปกรณ์จากระยะไกลได้

บทบาทของ SCADA ในสถานีไฟฟ้าย่อย

 1. เฝ้าระวังและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า

  • ตรวจสอบสถานะเบรกเกอร์, หม้อแปลง, รีเลย์ ฯลฯ
  • สั่งเปิด-ปิดอุปกรณ์จากศูนย์ควบคุมกลาง

 2. เก็บข้อมูลการทำงานของระบบ (Data Acquisition)

  • เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแส กำลังไฟฟ้า ค่าผิดปกติ

 3. วิเคราะห์และแจ้งเตือนเหตุขัดข้อง (Alarm & Event)

  • แจ้งเตือนเมื่ออุปกรณ์มีปัญหา หรือเกิดเหตุขัดข้อง
  • เก็บ Log เพื่อตรวจสอบย้อนหลัง

 4. ควบคุมการทำงานอัตโนมัติร่วมกับรีเลย์ป้องกัน (Protection & Automation)

  • ใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ IEDs เพื่อควบคุมแบบ real-time

ประโยชน์ของการใช้ SCADA ร่วมกับ IEC 61850

 1. การสื่อสารที่เป็นระบบเดียวกัน (Unified Communication)

  • ใช้ภาษาและโปรโตคอลเดียวกันในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น IEDs, HMI, RTU เป็นต้น

 2. เพิ่มความเร็วในการควบคุมและวิเคราะห์ข้อมูล

  • ลดเวลาในการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ไปยังศูนย์ควบคุม

 3. ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

  • ลดการใช้สายสัญญาณแบบเดิม
  • เพิ่มความสะดวกในการปรับเปลี่ยนระบบในอนาคต

 4. รองรับการทำงานแบบอัตโนมัติและ Smart Grid

  • รองรับการควบคุมแบบ real-time และระบบอัจฉริยะ

Thursday, July 24, 2025

AI Culture: Modern Organizational Culture in the Age of Artificial Intelligence

 


In an era where technology is rapidly changing, organizations must continuously adapt to the emerging challenges and opportunities. One of the significant changes is Artificial Intelligence (AI), which plays a vital role in driving various industries, whether manufacturing, services, finance, healthcare, as well as public and private sectors. However, leveraging AI to its fullest potential is not solely about technology. It also requires an organizational culture that is ready to support and advance alongside AI operations. Today, OPEN-TEC (Tech Knowledge Sharing Platform), powered by TCC TECHNOLOGY GROUP, will take you to explore the “AI culture”, which becomes the foundation of modern organizations.

What is AI Culture?

AI Culture, or an organization culture that aligns with AI, refers to the integration of AI into an organization’s concepts, work processes, and values in a balanced and ethical manner. The goal is to enable humans and AI to work together seamlessly, which enhance efficiency, fostering innovation, and expanding the organization’s capabilities. According to the Human Technology Institute (HTI – UTS), organizations with an AI culture understand both the strengths and limitations of AI. They create an environment that promotes diverse learning methods, including training, experimentation, and continuous adaptation.1 These elements are crucial for driving organizations forward in the digital age.

The Role of Leadership in Driving AI Culture

Creating a sustainable AI culture begins with “leaders” who have a clear vision and understanding of AI’s role. They must be capable of integrating technology with organizational strategy and ethical principles. A report by the World Economic Forum reveals that 74% of employees prefer learning through their leaders, highlighting the critical role leadership plays in building internal capabilities, especially as technological skills evolve rapidly.2 Therefore, investing in learning and development becomes a key tool for upskilling, motivating, and ensuring long-term organizational growth.

Promoting AI Literacy at All Levels

AI Literacy is no longer confined to IT departments. All units, including marketing, finance, HR, and executive leadership, must engage with AI knowledge and application relevant to their roles. A Microsoft report shows that employees who receive proper AI training are 1.9 times more likely to see its value, especially in decision-making and improving work performance.3 Therefore, organizations should start by providing foundational knowledge of how AI works, while embedding ethical considerations, transparency, and responsibility to enable employees to use technology confidently. When learning becomes a part of the organizational culture, change is no longer feared but embraced as a chance to elevate both individual and organizational capability.

AI Culture and Competitive Advantage

Having a sustainable AI culture is more than just a response to technological trends, it is a long-term strategy to build competitive advantage. Organizations that effectively use data and AI can adapt to market changes faster, make more accurate decisions, and innovate continuously. According to Deloitte, organizations that use data effectively are 48% more likely to achieve business goals within a year, while those lacking such an AI culture often struggle to adapt.4 AI Culture, deeply embedded within an organization’s structure and mindset, becomes a unique strength which is difficult to replicate because it is not about carelessly technology use, but a consistent set of behaviors and values at every level.

Lastly, in an era where data has become invaluable assets, transforming data into accurate decision making is the heart of success. Having an “AI culture” is the crucial mechanism that makes things happen sustainably, empowering organizations to move forward with AI as a shared purpose.

Reference

1. Carney, G., & Davis, N. (2024). People, skills and culture for effective AI governance (AI Governance Snapshot #4). Human Technology Institute, University of Technology Sydney (UTS).

2. World Economic Forum. (2025). AI and beyond: How every career can navigate the new tech landscapehttps://www.weforum.org/stories/2025/01/ai-and-beyond-how-every-career-can-navigate-the-new-tech-landscape/

3. Benzing, M. (2025). Research drop: Investing in training opportunities to close the AI skills gap. Microsoft.https://techcommunity.microsoft.com/blog/microsoftvivablog/research-drop-investing-in-training-opportunities-to-close-the-ai-skills-gap/4389566

4. Davenport, T. H., Smith, T., Guszcza, J., & Stiller, B. (2019). Analytics and AI‑driven enterprises thrive in the Age of With. Deloitte Insights. https://www.deloitte.com/us/en/insights/topics/analytics/insight-driven-organization.html

AI Culture: วัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ในโลกของปัญญาประดิษฐ์


ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความท้าทายและโอกาสที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ การเงิน การแพทย์ รวมไปถึงภาครัฐและภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม การนำ AI มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว หากจำเป็นต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้าใจและพร้อมทำงานร่วมกับ AI อย่างเป็นระบบและยั่งยืน วันนี้ OPEN-TEC (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP จะพาทุกท่านไปสำรวจ “AI Culture” ที่จะกลายเป็นรากฐานสำคัญขององค์กรยุคใหม่

AI Culture คืออะไร?

AI Culture หรือ วัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมอยู่ร่วมกับ AI หมายถึงการบูรณาการ AI เข้ากับแนวคิด กระบวนการทำงาน และค่านิยมขององค์กรอย่างสมดุลและมีจริยธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนและ AI สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เปิดโอกาสในการสร้างนวัตกรรม และขยายศักยภาพขององค์กรให้กว้างขึ้น ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถาบัน Human Technology Institute ระบุว่า องค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมอยู่ร่วมกับ AI จะมีความเข้าใจในศักยภาพและข้อจำกัดของ AI พร้อมสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการฝึกอบรม การทดลองใช้งาน และการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง1 ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในขับเคลื่อนองค์กรในยุคดิจิทัล

บทบาทของผู้นำในการผลักดัน AI Culture

การเสริมสร้าง AI Culture ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน เริ่มต้นจาก “ผู้นำ” ที่มีวิสัยทัศน์และเข้าใจบทบาทของ AI อย่างชัดเจน พร้อมสามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากลยุทธ์และแนวคิดด้านจริยธรรมขององค์กร จากรายงานของ World Economic Forum ชี้ให้เห็นว่า 74% ของบุคลากรต้องการเรียนรู้ผ่านผู้นำของตนเอง ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของบทบาทผู้นำในการเสริมสร้างศักยภาพคนในองค์กร2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ทักษะด้านเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การลงทุนด้านการเรียนรู้จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มพูนทักษะ เสริมสร้างแรงจูงใจ และการเติบโตขององค์กรในระยะยาว

การส่งเสริม AI Literacy ในทุกระดับ

AI Literacy หรือ การรู้เท่าทัน AI ไม่ได้จำกัดเฉพาะฝ่ายงานด้านเทคโนโลยีอีกต่อไป ทุกฝ่ายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการตลาด การเงิน ทรัพยากรบุคคล หรือผู้บริหารระดับสูง ต่างมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในบริบทของตนเอง ตามรายงานจาก Microsoft ชี้ให้เห็นว่าบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมด้าน AI อย่างเหมาะสม มีแนวโน้มที่จะมองเห็นคุณค่าของ AI มากกว่าคนทั่วไปถึง 1.9 เท่า โดยเฉพาะในด้านการตัดสินใจและการเพิ่มประสิทธิภาพงาน3 ดังนั้น องค์กรจึงควรเริ่มต้นจากการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของ AI พร้อมปลูกฝังแนวคิดด้านจริยธรรม ความโปร่งใส และความรับผิดชอบในการใช้งาน เพื่อให้บุคลากรมีความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพราะเมื่อการเรียนรู้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร การเปลี่ยนแปลงก็จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่คือโอกาสในการยกระดับความสามารถของคนและองค์กรไปพร้อมกัน

AI Culture ต่อความสามารถในการแข่งขัน

การมี AI Culture อย่างยั่งยืน ไม่ใช่เพียงการตอบสนองต่อกระแสเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นกลยุทธ์ระยะยาวในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน องค์กรที่มีวัฒนธรรมการใช้ช้อมูลและ AI อย่างมีระบบจะสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว ตัดสินใจได้แม่นยำขึ้น พร้อมทั้งสร้างสิ่งใหม่ๆได้อย่างต่อเนื่อง ตามข้อมูลของ Deloitte ยังระบุว่า องค์กรที่ใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมีโอกาสบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจสูงถึง 48% ภายในหนึ่งปี ในขณะที่องค์กรที่ขาดวัฒนธรรมดังกล่าวกลับเผชิญปัญหาด้านการปรับตัวทั้งนี้ AI Culture ที่ฝังลึกอยู่ในโครงสร้างและ ความคิดของผู้คนภายในองค์กรยังเป็นจุดแข็งที่ยากจะลอกเลียนแบบ เพราะไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลยีอย่างฉาบฉวย แต่เป็นแนวคิดและพฤติกรรมที่สอดคล้องกันในทุกระดับขององค์กร

สุดท้ายนี้ ในยุคที่ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์อันล้ำค่า การแปลงข้อมูลให้กลายเป็นการตัดสินใจที่แม่นยำ คือหัวใจของความสำเร็จ และ “AI Culture” คือกลไกสำคัญที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน และเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ก้าวเดินไปพร้อมกับ AI อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน

อ้างอิง

1. Carney, G., & Davis, N. (2024). People, skills and culture for effective AI governance (AI Governance Snapshot #4). Human Technology Institute, University of Technology Sydney (UTS).

2. World Economic Forum. (2025). AI and beyond: How every career can navigate the new tech landscapehttps://www.weforum.org/stories/2025/01/ai-and-beyond-how-every-career-can-navigate-the-new-tech-landscape/

3. Benzing, M. (2025). Research drop: Investing in training opportunities to close the AI skills gap. Microsoft.https://techcommunity.microsoft.com/blog/microsoftvivablog/research-drop-investing-in-training-opportunities-to-close-the-ai-skills-gap/4389566

4. Davenport, T. H., Smith, T., Guszcza, J., & Stiller, B. (2019). Analytics and AI‑driven enterprises thrive in the Age of With. Deloitte Insights. https://www.deloitte.com/us/en/insights/topics/analytics/insight-driven-organization.html

ฟอลคอนประกันภัย จับมือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สานต่อภารกิจยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 8

 


บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยคุณอำนาจ มาตรง ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายและกำกับดูแลองค์กร ร่วมกับคุณเจริญ จรรย์โกมล อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และคุณศราวุธ มูลโพธิ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พร้อมคณะจากทีม “พม.หนึ่งเดียว จังหวัดชัยภูมิ” ลงพื้นที่มอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โต๊ะเก้าอี้ และทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนจากครอบครัวยากจน พร้อมจัดเลี้ยงอาหารกลางวันใน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านโนนเห็ดไคล โรงเรียนบุปผาราม โรงเรียนสระห้วยยางอุปถัมภ์ โรงเรียนบ้านระหัด และโรงเรียนบ้านคอนสาร

กิจกรรมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 8 ที่ฟอลคอนฯ ดำเนินการร่วมกับกระทรวง พม. อย่างต่อเนื่อง ภายใต้นโยบาย ESG ด้านสังคมขององค์กร โดยมุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล สร้างโอกาสทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ และสนับสนุนการเติบโตของสังคมอย่างยั่งยืน

เกี่ยวกับบริษัทฟอลคอนประกันภัย

บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2550 เป็นบริษัทในกลุ่ม Fairfax Financial Holdings Limited (FFH) ผู้ให้บริการด้านการรับประกันภัย Property และCasualty รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่โตรอนโต ภายใต้ชื่อ “FFH”  มีสินทรัพย์ประมาณ 97,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3,300,000 ล้านบาท) และมีเงินทุนประมาณ 28,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 964,000 ล้านบาท) โดยบริษัทในกลุ่ม Fairfax ประกอบกิจการอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย  Fairfax ได้รับการจัดอันดับเครดิตเรตติ้งในระดับ A+ จาก S&P, Positive Outlook จาก S&P, Fitch และ AM Best อีกทั้งกลุ่ม Fairfax ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็น ใน 20 บริษัทประกันภัย Property & Casualty ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกลำดับที่ 393 ของ Fortune Global 500 ในปี 2024 อีกด้วย 

ฟอลคอนประกันภัยให้บริการรับประกันภัยกลุ่มลูกค้าธุรกิจองค์กรและกลุ่มลูกค้ารายย่อย ภายใต้การประกันภัยที่หลากหลาย อาทิ ประกันภัยรถยนต์  ประกันภัยทรัพย์สิน ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ ประกันภัยวิศวกรรม ประกันภัยทางทะเลและโลจิสติกส์ ประกันภัยเบ็ดเตล็ด เช่น ประกันภัยการก่อการร้าย ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด ประกันภัยความซื่อสัตย์ของลูกจ้าง ประกันภัยความรับผิดจากวิชาชีพ ประกันภัยโดรน ประกันสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

MAHLE goes full speed ahead with decarbonization

 

  • Technology diversity is and remains the strategic approach of MAHLE 
  • Addition of further sustainable drive system technologies to e-mobility accelerates climate protection 
  • MAHLE calls for the revision of CO2 legislation in Europe in the near future to take account of sustainable internal combustion engines and fuels 
  • MAHLE CEO Franz: “We need technology diversity in regulations – for climate protection, to strengthen the European automotive industry and to safeguard employment in Europe.”
  • At IAA Mobility, MAHLE is showcasing technologies for accelerating electrification and reducing CO2 emissions in road traffic
  • Efficiency improvements not only with respect to products but also business processes with a view to boosting competitive strength and resilience 

Technology diversity is and remains the strategic approach of MAHLE and the most promising way to reduce greenhouse gas emissions rapidly and effectively. In view of the sluggish ramp-up of e-mobility, MAHLE considers that it is necessary to offer other types of electrification such as hybrid vehicles or range extenders in addition to pure battery-electric vehicles and for politicians to make these options possible. At the MAHLE Tech Day in Stuttgart, CEO Arnd Franz called for the rapid revision of carbon dioxide legislation in Europe to take into account sustainable internal combustion engines and climate-neutral fuels.

“As a supplier, we need technology neutrality in legislation. So that we can make rapid progress with climate protection. So that the expertise and innovative strength of the European automotive industry can continue to flourish in Europe. So that jobs remain in Europe and Europe’s economy can recover its old strength.” In a volatile and extremely challenging business environment, the automotive supplier is focusing even more strongly on efficiency improvements – not only with respect to its products but also in its business processes with a view to further strengthening its competitiveness and resilience. At IAA Mobility in Munich, MAHLE is showcasing technologies for accelerating electrification and reducing COemissions in road traffic. IAA Mobility is being held from September 9 to 14, 2025, and the MAHLE stand is located in Hall A1.

Technology neutrality to reduce CO2 emissions and boost the economy

“We have a clear commitment to climate protection. And to e-mobility. We are ready,” Arnd Franz told an audience of international journalists on Wednesday. In addition to products for pure e-mobility, MAHLE is also focusing its efforts on hybrid vehicles and advanced range extenders to boost the ranges of electric vehicles and to make it easier for customers to change over from pure ICE vehicles. Especially China is currently recording strong growth in these electric drive systems. It is forecast that the share of electric vehicles with range extenders in worldwide production of electrified passenger cars and light commercial vehicles will grow by 15 percent per year up to 2030. MAHLE intends to share in this growth.

The MAHLE CEO also mentioned the high decarbonization potential of renewable fuels, which is not yet being fully tapped. “Any plan for rapid and effective climate protection in road traffic is incomplete without renewable fuels. In addition to hydrogen, especially in the transport sector, biofuels can make an effective contribution to individual mobility,” he emphasized. He added that this would allow more rapid progress, especially with respect to the vehicle fleet. The share of renewable fuels, i.e. biofuels and synthetic fuels, used in road traffic would need to rise to 30 percent by 2030 in order to reach the climate goals. “MAHLE technologies already allow the direct use of renewable fuels without any compromises.”

Franz said that Europe was facing a crucial decision for the future with respect to CO2 emissions regulations. “The revision of CO2 legislation in Europe must not be delayed. Internal combustion engines operated using climate-neutral fuels must be recognized as part of the solution.” In the present regulatory situation, he said that MAHLE as a company was forced to consider a stop of all investments for the expansion and replacement of capacities for sustainable internal combustion engines in Europe. If the EU was not prepared to change its position with regard to a ban on ICE vehicles, such an investment stop would be the logical consequence.

With its MAHLE 2030+ strategy, MAHLE, as a globally active automotive supplier, covers all types of powertrains which can make a key contribution to climate protection: electrification and sustainable internal combustion engines as well as thermal management to boost the efficiency and performance of the two technologies.

Efficiency drives the transformation

In a challenging business environment where trade relations face global uncertainties, MAHLE is increasingly committed to efficiency in connection with the current transition. This also applies to its processes, with a view to enhancing its competitiveness and becoming more crisis-proof.

An example of successful efficiency measures is the new company structure that MAHLE has recently implemented throughout the world from its own resources in only 200 days. This also included the repositioning of purchasing and the strengthening of regional responsibilities with a view to reacting more effectively to customers’ local requirements. The group’s internal cost effectiveness and profitability program “Back on Track 2025” continues to run at full speed. The plants are also working consistently on efficiency improvements. This approach includes initiatives to reduce energy consumption such as the shut-off management of production equipment or the installation of photovoltaic thermal systems.

MAHLE is also expanding the use of artificial intelligence (AI) within the company. The use of machine learning in selected areas optimizes both direct production and indirect processes. Furthermore, generative AI is being put to successful use in product development in order to save time and resources in the development of future-oriented innovations. The most recent development example is the bionic radial blower for air conditioning systems – inspired by a penguin’s flippers – which MAHLE will be showcasing at IAA Mobility.

MAHLE at IAA Mobility 2025

Under the motto of “Efficiency3”, MAHLE is presenting the latest developments in its three strategic areas at this year’s IAA Mobility in Munich: a range extender to boost the range of electric vehicles, a compact thermal management module with integrated heat pump to significantly extend the range of electric vehicles and ethanol-compatible engine components which will considerably reduce both the fuel consumption and the COemissions of internal combustion engines.

Dr. Marco Warth, Vice President Corporate Research and Advanced Engineering at MAHLE, said: “At MAHLE, we not only define efficiency as the optimum relationship between effort and results – we also breathe life into this principle with innovative solutions that conserve resources, save energy and boost the transition to sustainable mobility.” 

Range extender system ensures progress with battery-electric vehicles

Many car drivers have a positive attitude to e-mobility. However, it has become clear that they wish to combine the benefits of an electric car with the security offered by additional range. Electric vehicles with range extenders can therefore help to further accelerate the adoption of electric vehicles by relieving consumers’ range anxiety. Range extenders supply energy for the electric motor when the charge of the vehicle battery has been depleted. 

The new range extender from MAHLE, which is being showcased for the first time at IAA Mobility, will increase the market acceptance of battery-electric vehicles throughout the world and allow the cost-effective, resource-efficient “rightsizing” of batteries without customers having to accept long waits at battery charging stations on long trips.

The new system, with a rated continuous output of 85 kilowatts (kW), consists of an especially efficient high-voltage generator powered by a compact internal combustion engine. The heart of the 800 V generator is a permanently excited electric generator with a fully integrated cooling system. In addition to a high peak efficiency in excess of 97 percent, this design ensures a high continuous performance density (in excess of 50 kW per liter), minimizing material and space requirements as well as costs. One of the special features of the MAHLE design is the high-performance direct cooling of the rotor, which significantly reduces the need for heavy rare earth elements, among other benefits.

The boosted high-tech internal combustion engine used in the range extender features MAHLE jet ignition combustion technology, direct injection, turbocharging and Miller valve timing, i.e. the special control of the intake valves of an internal combustion engine to allow more efficient combustion and ensure lower pollutant emissions. In range extender operation, the engine offers a high efficiency of more than 42 percent and its noise level is inconspicuous.

“It is small, lightweight, easy to integrate and conserves resources – MAHLE’s range extender is a convincingly compact, efficient power pack for drive systems,” said Warth. The technology toolkit for range extender engines is also supplemented by specially developed engine components such as pistons and valves. In the WLTP (Worldwide Harmonized Light Vehicles Test Procedure), enormous ranges of up to 1,350 km can be achieved, depending on the vehicle and the battery size.

Thermal management module boosts efficiency and range

MAHLE has developed a new thermal management module that boosts the system efficiency of an electric vehicle and therefore also the range available with a battery charge. MAHLE is showcasing the product as a world premiere at IAA Mobility. As the central interface for the entire cooling and refrigerant cycle of the vehicle it ensures that each component of the drive and energy storage system is maintained at the right temperature at all times under all climate conditions at the same time as ensuring a comfortable climate in the passenger compartment. 

Especially heating the passenger compartment in the winter is a challenge with electric vehicles. As an electric drive system generates significantly less heat than an internal combustion engine, very little energy from this source is available for heating. The heat required for the passenger compartment must be generated in addition to the operation of the drive system. High efficiency is essential as the energy storage facility of the vehicle is the traction battery. Energy used for heating is not available for propulsion.

To ensure maximum range per battery charge even when heating is needed in the winter, MAHLE has integrated a high-efficiency heat pump in the thermal management module. The module combines air conditioning compressor, heat exchanger, refrigerant pumps, sensors and valves in a single unit. This reduces space requirements, development work and costs. In addition, the overall system is considerably more efficient, allowing the range to be boosted by up to 20 percent compared with a system using electric heaters.

“The advantage of MAHLE in our competitive environment is our comprehensive components and systems expertise developed through our in-house development and production activities. This way, we can offer holistic solutions which are perfectly harmonized with each other,” said Marco Warth.

The module is designed for R1234yf, the refrigerant currently used but can also be operated with the alternative future refrigerant R290 (propane) with minor modifications. “This provides automakers with security for the future when integrating the system in current vehicle platforms as extensive design modifications will not be needed to change the system over to the new refrigerant,” Warth explained. Thanks to the modular, compact system design, only three refrigerant pumps instead of four will be needed for the vehicle. The system is currently being developed, and series production will start within the next two years.

Bionic radial blower – form follows nature

At IAA Mobility, MAHLE is showcasing as a European premiere a ground-breaking radial blower for automotive air conditioning systems that boosts efficiency at the same time as significantly reducing noise levels. This product has been developed especially for vehicles with challenging installation space conditions and takes nature as its model. The aerodynamic shape of the blower blades is inspired by the flippers of a penguin, which glides nimbly and rapidly through the water.

Thanks to its innovative design, the bionic blower is four decibels (dB) or 60 percent quieter than a conventional component. At the same time, its efficiency is improved by about 15 percent as the motor requires less energy as a result of the optimized design. MAHLE is setting new standards with this innovative design. The bionic radial blower can be used in all types of passenger cars as well as light and heavy commercial vehicles.

The development process was considerably accelerated by the use of an in-house AI tool and the first prototypes were produced within a very short space of time. The engineers at MAHLE call this process, in which they guide the AI system and feed it with data and information, “superhuman engineering”. This process created more than 30 million virtual designs in a very short space of time.

Ethanol engine – MAHLE is ready for sustainable fuels

MAHLE underscores its technology diversity in the drive system sector with components for internal combustion engines that can be operated on renewable fuels. Life cycle analyses have shown that carbon dioxide emissions can be reduced by up to 70 percent in operation on pure ethanol (E100).

With a new system consisting of pistons, piston pins and rings, called a “power cell unit”, as well as valve sets, MAHLE has taken into consideration the special requirements for ethanol operation. The optimization of components within the overall system ensures minimum lubricating oil consumption with high resistance to wear, corrosion and thermal stress. The benefits are lower greenhouse gas emissions and the conservation of valuable resources. In addition, the power cell unit allows fuel savings of up to 1.5 percent. This convincingly demonstrates that there is still potential for improvement even after more than 100 years of engine development and that CO2 savings can be achieved.


About MAHLE

MAHLE is a leading international development partner and supplier to the automotive industry with customers in both passenger car and commercial vehicle sectors. Founded in 1920, the technology group is working on the climate-neutral mobility of tomorrow, with a focus on the strategic areas of electrification and thermal management as well as further technologies to reduce carbon emissions, such as fuel cells or highly efficient, clean combustion engines that also run on renewable fuels, such as hydrogen. Today, one in every two vehicles globally is equipped with MAHLE components. 

MAHLE generated sales of €11.7 billion in 2024. Employing just under 68,000 people at 135 production locations and 11 technology centers, the company is represented in 28 countries. (as at: 12/31/2024)

มาห์เลเดินหน้าเต็มสูบสู่เป้าหมายการลดคาร์บอน

 

  • ความหลากหลายด้านเทคโนโลยีเป็นกลยุทธ์ที่มาห์เลยึดถือมาโดยตลอด
  • การนำเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนที่ยั่งยืนมาใช้กับยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น จะช่วยเร่งผลักดันการปกป้องสภาพภูมิอากาศ
  • มาห์เลเรียกร้องให้มีการปรับปรุงกฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ในยุโรปโดยเร็ว เพื่อให้มีผลครอบคลุมกับเครื่องยนต์สันดาปภายในและเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน
  • อาร์นด์ ฟรานซ์ ซีอีโอของมาห์เล กล่าวว่า “เราต้องการให้ความหลากหลายทางเทคโนโลยีถูกบรรจุไว้ในกฎหมาย เพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ยุโรป และรักษาอัตราการจ้างงานในยุโรป”
  • IAA Mobility มาห์เลจะเข้าร่วมจัดแสดงเทคโนโลยีที่ช่วยเร่งการใช้ระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า และลดการปล่อย CO₂ ในการจราจรบนท้องถนน
  • มาห์เลไม่เพียงแต่ปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในการแข่งขันและเพิ่มความสามารถในการปรับตัว

ความหลากหลายทางเทคโนโลยีเป็นกลยุทธ์ที่มาห์เล (MAHLE) ยึดถือมาโดยตลอด และยังเป็นรูปแบบที่มีความหวังมากที่สุดว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า (e-mobility) ยังขยายตัวได้ช้า มาห์เลจึงขอเน้นย้ำว่า นอกจากรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ 100แล้ว วงการอุตสาหกรรมควรสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงระบบไฮบริดและระบบเปลี่ยนน้ำมันเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ (range extender) โดยอาร์นด์ ฟรานซ์ (Arnd Franz) ซีอีโอของมาห์เล ได้เรียกร้องที่งาน MAHLE Tech Day ณ เมืองชตุทท์การ์ท ขอให้ยุโรปแก้กฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยเร็ว เพื่อให้กฎหมายมีผลครอบคลุมกับเทคโนโลยีการเผาไหม้ที่ยั่งยืนและเชื้อเพลิงหมุนเวียนด้วย

ในฐานะซัพพลายเออร์ เราต้องการให้กฎหมายมีความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (technology neutrality) เพื่อที่เราจะได้เดินหน้าอย่างรวดเร็วในการปกป้องสภาพภูมิอากาศ เพื่อที่ความเชี่ยวชาญและจุดแข็งด้านนวัตกรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์ยุโรปจะยังคงเติบโตต่อไปในยุโรป รวมทั้งการรักษาอัตราการจ้างงานในยุโรป และช่วยให้เศรษฐกิจของยุโรปสามารถกลับมาเข้มแข็งได้ดังเดิม

โดยมาห์เลไม่เพียงมุ่งเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการดำเนินงานทั้งหมดด้วย เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างความยืดหยุ่น ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ผันผวนในปัจจุบัน

ความเป็นกลางทางเทคโนโลยี เพื่อลดการปล่อย CO₂ และกระตุ้นเศรษฐกิจ

“เรามีความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนในเรื่องการปกป้องสภาพภูมิอากาศ และพร้อมผลักดันระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า (e-mobility)” อาร์นด์ ฟรานซ์ ซีอีโอของมาห์เล กล่าวกับนักข่าวจากนานาประเทศ นอกจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแบตเตอรี่แล้ว มาห์เลยังลงทุนในระบบไฮบริดและระบบเปลี่ยนน้ำมันเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่เพื่อที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าใช้งานได้ในสถานการณ์จริงมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศต่าง ๆ เช่น จีน โดยคาดว่า รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ระบบเปลี่ยนน้ำมันเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่จะมีส่วนแบ่งในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 15% ต่อปีจนถึงปี 2573 และมาห์เลมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการเติบโตนี้

นอกจากนี้ ฟรานซ์ยังเน้นย้ำถึงศักยภาพของเชื้อเพลิงหมุนเวียน โดยกล่าวว่า “แผนการปกป้องสภาพภูมิอากาศในภาคการจราจรทางถนนอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจะสมบูรณ์ไปไม่ได้หากปราศจากเชื้อเพลิงหมุนเวียน ซึ่งนอกจากไฮโดรเจนที่ใช้ในภาคการขนส่งแล้ว เชื้อเพลิงชีวภาพสามารถสนับสนุนการเดินทางส่วนบุคคล (individual mobility) ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน” เขาเน้นย้ำ

ฟรานซ์กล่าวว่า การที่จะบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศนั้น รถยนต์ที่วิ่งบนท้องถนนจะต้องใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์ให้ได้ในสัดส่วนถึง 30% ภายในปี 2573 “เทคโนโลยีของมาห์เลสามารถรองรับการใช้เชื้อเพลิงหมุนเวียนได้โดยตรงอย่างไม่มีข้อจำกัด”

ซีอีโอมาห์เลยังเตือนด้วยว่า สหภาพยุโรป (EU) ได้เดินมาถึงช่วงเวลาที่จะต้องตัดสินใจแล้ว “การปรับปรุงกฎหมาย CO₂ ในยุโรปต้องไม่ล่าช้า เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ทำงานโดยใช้เชื้อเพลิงที่เป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศ จะต้องได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางแก้ปัญหา” หากไม่มีการสนับสนุนด้านกฎระเบียบ มาห์เลอาจจะระงับการลงทุนในกิจกรรมเกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ที่ยั่งยืนในยุโรป

มาห์เลชูกลยุทธ์ MAHLE 2030+ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ระบบส่งกำลังทุกประเภทที่มีส่วนช่วยปกป้องสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ยั่งยืน และการจัดการความร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด

ประสิทธิภาพขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

มาห์เลยังคงเดินหน้าปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยปรับใช้โครงสร้างองค์กรใหม่ทั่วโลกในระยะเวลา 200 วัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับแต่ละภูมิภาคและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อ และปัจจุบันกำลังดำเนินโครงการ “Back on Track 2025” ซึ่งรวมมาตรการประหยัดพลังงาน เช่น การปิดอุปกรณ์ และการใช้ระบบความร้อนจากเซลล์แสงอาทิตย์

นอกจากนี้ มาห์เลยังส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยนำแมชชีนเลิร์นนิงมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการผลิตและการดำเนินงานในสำนักงาน ขณะที่เจเนอเรทีฟ เอไอ ช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเห็นได้จากพัดลมหมุนเหวี่ยงแบบไบโอนิก (bionic radial blower) ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปีกของนกเพนกวิน ทั้งนี้สามารถพบกับผลิตภัณฑ์นี้ได้ที่งาน IAA Mobility

มาห์เลเข้าร่วมงาน IAA Mobility 2025

มาห์เลจะจัดแสดงนวัตกรรมในสามด้านหลัก ได้แก่ ระบบเปลี่ยนน้ำมันเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่เพื่อเพิ่มระยะทางขับขี่ของรถยนต์ไฟฟ้า โมดูลการจัดการความร้อนที่รวมฮีทปั๊มในตัว และชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่รองรับเชื้อเพลิงเอทานอลเพื่อลดการปล่อยมลพิษ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ “Efficiency” ที่มาห์เลยึดถือ

ดร. มาร์โก วาร์ธ (Dr. Marco Warth) รองประธานฝ่ายวิจัยองค์กรและวิศวกรรมขั้นสูงของมาห์เล กล่าวว่า “ที่มาห์เล คำว่าประสิทธิภาพไม่เพียงนิยามความสัมพันธ์ที่ยอดเยี่ยมระหว่างความพยายามกับผลลัพธ์เท่านั้น แต่เรายังทำให้หลักการนี้เป็นไปได้ด้วยโซลูชันนวัตกรรมที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากร ประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่การขับเคลื่อนที่ยั่งยืน”  

ระบบเปลี่ยนน้ำมันเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่

ความกังวลเรื่องระยะทางวิ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อยานยนต์ไฟฟ้า มาห์เลตระหนักถึงความกังวลนี้ จึงได้นำเสนอระบบเปลี่ยนน้ำมันเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่เพื่อให้พลังงานสำรองแก่รถยนต์ไฟฟ้าเมื่อแบตเตอรี่หมด ทำให้สามารถใช้แบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็กลงและลดต้นทุน ในขณะที่ให้ระยะทางวิ่งไกลขึ้น

ระบบ 800 V มาพร้อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงกว่า 97% และเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดกะทัดรัดและไฮเทค ที่ใช้เทคโนโลยี Jet Ignition เทอร์โบชาร์จเจอร์ ระบบหัวฉีดไดเรกต์อินเจกชัน และวาล์วควบคุมแบบ Miller cycle ผลลัพธ์ที่ได้คือ ประสิทธิภาพมากกว่า 42% และมีเสียงรบกวนน้อยที่สุด

“ระบบเปลี่ยนน้ำมันเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ของมาห์เลมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย และช่วยประหยัดทรัพยากร จึงเป็นชุดแบตเตอรี่พกพาที่กะทัดรัดและมีประสิทธิภาพเชื่อถือได้สำหรับระบบขับเคลื่อน” มาร์โก วาร์ธ รองประธานฝ่ายวิจัยองค์กรและวิศวกรรมขั้นสูง กล่าว ชิ้นส่วนยานยนต์ที่มาห์เลพัฒนาขึ้นเองนี้ช่วยให้ระบบขับเคลื่อนมีขนาดกะทัดรัด นอกจากนี้ในการทดสอบ WLTP รถยนต์ยังสามารถทำระยะทางได้สูงสุดถึง 1,350 กม.

โมดูลการจัดการความร้อนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและระยะทาง

โมดูลการจัดการความร้อนของมาห์เลประกอบด้วยปั๊มความร้อนประสิทธิภาพสูงที่ช่วยเพิ่มระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 20% การออกแบบที่ครบเครื่องและขนาดที่กะทัดรัดช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนของระบบ โมดูลนี้สามารถใช้สารทำความเย็นได้หลากหลาย และจะเริ่มเข้าสู่สายการผลิตได้ภายในสองปี

“ข้อได้เปรียบของมาห์เลในสภาพแวดล้อมการแข่งขันของเราคือ ความเชี่ยวชาญด้านชิ้นส่วนและระบบที่ครอบคลุม ซึ่งเราสั่งสมประสบการณ์เหล่านี้จากการพัฒนาและการผลิตภายในองค์กร ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถนำเสนอโซลูชันแบบองค์รวมที่ประสานการทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ” วาร์ธกล่าว

พัดลมหมุนเหวี่ยงแบบไบโอนิก – แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ

พัดลมหมุนเหวี่ยงรุ่นใหม่ของมาห์เลได้รับแรงบันดาลใจมาจากปีกของนกเพนกวิน และถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องมือ AI ภายในองค์กร พัดลมหมุนเหวี่ยงแบบไบโอนิกให้เสียงที่เงียบลง 60% และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 15% เมื่อเทียบกับพัดลมแบบดั้งเดิม เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดเล็กในรถยนต์ทุกประเภท

เครื่องยนต์เอทานอล – มาห์เลพร้อมแล้วสำหรับเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน

มาห์เลยังได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เซลล์พลังงานสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง โดยรถยนต์สามารถลดการปล่อย CO₂ ได้สูงสุดถึง 70% เมื่อใช้เอทานอล E100

พร้อมกันนี้ มาห์เลขอแนะนำชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่รองรับเอทานอล ซึ่งช่วยลดการปล่อย CO₂ ได้สูงสุดถึง 70% และประหยัดเชื้อเพลิงได้ 1.5% ดีไซน์ของชิ้นส่วนนี้ให้ความมั่นใจในเรื่องของความทนทานและกินน้ำมันน้อยภายใต้ความเค้นจำเพาะ (specific stress) ของเอทานอล

เกี่ยวกับมาห์เล

มาห์เล คือ หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาและซัพพลายเออร์ชั้นนำระดับนานาชาติสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีลูกค้าทั้งในภาคส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2463 และปัจจุบันกำลังพัฒนาการเดินทางแห่งอนาคตที่มีความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นไปที่ระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าและการจัดการความร้อน รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน เช่น เซลล์เชื้อเพลิง หรือเครื่องยนต์สันดาปภายในที่สะอาดและมีประสิทธิภาพสูงซึ่งใช้เชื้อเพลิงหมุนเวียนอย่างไฮโดรเจน เป็นต้น ทุกวันนี้รถยนต์หนึ่งในสองคันทั่วโลกต่างใช้ส่วนประกอบจากมาห์เล

ในปี 2567 มาห์เลทำยอดขายได้ 11,700 ล้านยูโร บริษัทมีพนักงานเกือบ 68,000 คนประจำอยู่ในฐานการผลิต 135 แห่งและศูนย์เทคโนโลยี 11 แห่ง โดยบริษัทมีการดำเนินงานใน 28 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567)