Wednesday, October 26, 2022

เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกว่างซี-อาเซียน มุ่งเน้นบูรณาการระหว่างอุตสาหกรรม-เมือง การพัฒนาคุณภาพสูง

      เมื่อไม่นานมานี้ โครงการแบตเตอรี่ฟู่ตี้ (Fudi) กว่างซี-อาเซียน ซึ่งมียอดลงทุนรวมประมาณ 8 พันล้านหยวน เปิดตัวแล้วอย่างเป็นทางการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกว่างซี-อาเซียน (Guangxi ASEAN Economic and Technological Development Zone) ซึ่งคาดว่าจะสร้างมูลค่าผลผลิตกว่า 1 หมื่นล้านหยวนต่อปี และสร้างงานประมาณ 9,000 ตำแหน่ง หลังจากขนาดการผลิตแตะระดับขีดความสามารถในการออกแบบ เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกว่างซี-อาเซียน ("เขตฯ") ตั้งอยู่ในภูมิภาคการพัฒนาที่สำคัญ ทางตอนเหนือของเมืองหนานหนิง โดยมีการคมนาคมที่สะดวกสบาย สภาพแวดล้อมที่สวยงาม ย่านอุตสาหกรรม ทรัพยากรมนุษย์จำนวนมาก ฯลฯ และกำลังเร่งพลิกโฉมจากอุทยานเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตแยกเดี่ยวสู่เขตพื้นที่ใหม่ของบูรณาการระหว่างอุตสาหกรรม-เมือง

จั้ว เว่ย (Zuo Wei) เลขาธิการคณะทำงานพรรคและผู้อำนวยการคณะกรรมการบริหารเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกว่างซี-อาเซียน กล่าวว่า เขตฯ จะถูกแบ่งออกเป็น "หนึ่งแถบและสี่แปลง" ตาม 3 อุตสาหกรรมชั้นนำ ได้แก่ แถบอุตสาหกรรมการผลิต, อุทยานการเรียนรู้หนานหนิง (ฝั่งตะวันตก), เขตสาธิตการเกษตรสมัยใหม่, เขตท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเขตธุรกิจรถไฟความเร็วสูงทางตอนเหนือ ภาคเกษตรกรรม (primary industry), ภาคอุตสาหกรรม (secondary industry) และภาคบริการ (tertiary industry) จะดำเนินการร่วมกัน โดยจะดำเนินงานด้านบูรณาการเมือง-อุตสาหกรรมต่อไป เพื่อกระตุ้นการพัฒนาเขตฯ ให้มีคุณภาพสูงอย่างแข็งขัน

นับตั้งแต่ต้นปี 2565 เขตฯ เริ่มเปิดตัวโครงการและธุรกิจกำไรงามที่สามารถแข่งขันได้เป็นแกนหลักในการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรม และมุ่งเน้นการดึงดูดการลงทุนรวมถึงบุคลากรผู้มีความสามารถจากทั่วโลก โดยในช่วงครึ่งปีแรก มี 9 โครงการอุตสาหกรรมที่เม็ดเงินการลงทุนรวมกว่า 50 ล้านหยวน, เริ่มดำเนินการแล้ว 18 โครงการ, 5 โครงการอยู่ในระหว่างการดำเนินการ, มีสำนักงานใหญ่ 22 แห่ง และบริษัทเทคโนโลยีใหม่ขั้นสูง 32 แห่ง และหน่วยงานทางการตลาดใหม่ 553 แห่งที่เพิ่มเข้ามาในเขตฯ

หลังจากพัฒนามานานหลายปี เขตฯ แห่งนี้เริ่มก่อตัวจนเป็น 3 รูปแบบอุตสาหกรรมชั้นนำ ได้แก่ อาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, วัสดุใหม่ และการผลิตอุปกรณ์ขั้นสูง โดยรวบรวมบริษัทที่ติดทำเนียบฟอร์จูน โกลบอล 500 และบริษัท 500 อันดับแรกของจีน เช่น บัดไวเซอร์ (Budweiser), ซีโอเอฟซีโอ กรุ๊ป (COFCO Group), ชวงฮุ่ย (Shuanghui), คาร์กิลล์ (Cargill), บีวายดี (BYD) และ เพิร์ล ริเวอร์ (Pearl River) เช่นเดียวกับบริษัทแบรนด์ดังของจีนอย่าง หลี่หนิง (Li-Ning) และโทลี่ เบรด (Toly Bread) ปัจจุบัน จากบริษัท 4,698 แห่งที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตฯ มีบริษัทอุตสาหกรรมมากกว่า 550 แห่ง ธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีขนาดเกิน 147 แห่ง และองค์กร 37 แห่งที่มีมูลค่าผลผลิตมากกว่า 100 ล้านหยวนในปี 2564 เมื่อนับจนถึงเดือนสิงหาคมปีนี้ มีบริษัทแปรรูปอาหารและบริษัทที่เกี่ยวข้อง 48 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าผลผลิต 5.091 พันล้านหยวน คิดเป็น 51.4% ของมูลค่าการผลิตรวมขององค์กรอุตสาหกรรมที่เกินขนาดที่กำหนด

ในการกระตุ้นพลังด้านนวัตกรรมขององค์กร เขตฯ จะส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้นในระยะยาวเพื่อเร่งการบรรจบกันขององค์ประกอบนวัตกรรมที่หลากหลายในธุรกิจ อีกทั้งเขตฯ จะเผยให้เห็นถึงห่วงโซ่นวัตกรรมที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมเพื่อเร่งบ่มเพาะแรงขับเคลื่อนใหม่สำหรับการพลิกโฉมและยกระดับเชิงอุตสาหกรรม ได้แก่ พึ่งพาบริษัทอาหารพิเศษเฉพาะทางกว่า 100 แห่งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเชิงบูรณาการของห่วงโซ่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารพิเศษเฉพาะทางและห่วงโซ่นวัตกรรม สร้าง 4 แพลตฟอร์ม R&D ระดับเทศบาลนครขึ้นไป การอนุมัติบริษัทไฮเทคด้านอาหาร 6 แห่ง บริษัทด้านโรงงานอัจฉริยะ 3 แห่งของกว่างซี และการประชุมเชิงปฏิบัติการดิจิทัล 1 แห่งของมณฑล ขณะเดียวกันก็ผลักดัน "ความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรม-วิทยาลัย-สถาบัน" หลังจากสร้างอุทยานการเรียนรู้หนานหนิง รวมถึงสำรวจนวัตกรรมท้องถิ่นและความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยผ่านการสร้าง "สตาร์ทอัพธุรกิจและถนนนวัตกรรม " ด้วยความหวังว่าจะสร้างนิเวศวิทยาที่ดีสำหรับการฝึกอบรมบุคลากรที่คำนึงถึงนวัตกรรมและสร้างกลุ่มบุคลากรผู้มีความสามารถ

ที่มา: คณะกรรมการบริหารเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกว่างซี-อาเซียน

No comments:

Post a Comment