พัฒนาและสาธิตการใช้งานเทคโนโลยี VR เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ด้วยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจุนเทนโด
ผู้เสียชีวิตราว 15% ในไทยมีสาเหตุจากโรคติดเชื้อ
จอลลี่ กู๊ด อิงค์ (Jolly Good Inc.) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตชูโอ กรุงโตเกียว และนำโดยเค็นซูเกะ โจจิ (Kensuke Joji) ผู้เป็นซีอีโอ และในที่นี้จะเรียกว่า "จอลลี่ กู๊ด" ร่วมกับมหาวิทยาลัยจุนเทนโด (Juntendo University) ในเขตบุงเกียว กรุงโตเกียว โดยมีฮาจิเมะ อาราอิ (Hajime Arai) เป็นอธิการบดี จะเริ่มโครงการสาธิตเพื่อนำเสนอเทคโนโลยี VR เพื่อการศึกษาทางการแพทย์ ด้วยจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการแพทย์ผ่านการใช้ VR ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีนายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ เป็นอธิการบดี โดยในที่นี้จะเรียกว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" และตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย นับเป็นครั้งแรกที่เทคโนโลยี VR ทางการแพทย์ของญี่ปุ่นถูกมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนำไปใช้
ในโครงการนี้ จอลลี่ กู๊ด จะจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตสื่อการสอน VR และอุปกรณ์ประสบการณ์ VR ต่าง ๆ ให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้ผลิตสื่อการสอน VR ได้ด้วยตนเอง สำหรับการให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคติดเชื้อที่มหาวิทยาลัยมหิดล เทคโนโลยีดังกล่าวจะเปิดตัวใน 4 แผนก ได้แก่ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาพยาบาลศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์จำลองการศึกษาที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ สื่อการเรียนการสอน VR จะใช้ในชั้นเรียนสาธิตที่มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ หลังจากนั้นจะนำไปใช้ในการศึกษาทางการแพทย์โดยใช้ VR ที่โรงพยาบาลในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
โครงการดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากโครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีไอทีของมหาวิทยาลัยจุนเทนโด สำหรับโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์ชุมชนในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(*) ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนโดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW)
(*ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวได้ที่ https://kyokuhp.ncgm.go.jp/activity/open/r4pdf/10_Juntendo_University.pdf)
ผู้เสียชีวิตราว 15% ในไทยมีสาเหตุจากโรคติดเชื้อ ทำให้จำเป็นต้องให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคติดเชื้อในการปฏิบัติทางการแพทย์ในประเทศไทย
ผลการสำรวจของสถาบันวัดและประเมินผลด้านสุขภาพเผยว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อสูงที่สุดในบรรดาประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบการรักษาพยาบาลสำหรับโรคติดเชื้อนั้นล้าหลัง
ในประเทศไทยนั้น 0.9 ใน 1,000 คนเป็นหมอ ซึ่งบ่งชี้ว่าประเทศไทยขาดแคลนแพทย์เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ แพทย์ในไทยยังต้องทำงานใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชนเป็นเวลา 3 ปีหลังเรียนจบ แต่ไม่ได้รับการฝึกอบรมหรือการศึกษาที่เพียงพอสำหรับโรคติดต่อ และจำเป็นต้องมีระบบเพื่อพัฒนาบุคลากรที่ตอบสนองต่อโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้ รวมถึงโรคโควิด-19 และให้การรักษาพยาบาลในชุมชน
วิสัยทัศน์ระยะกลางและระยะยาวในการเปิดตัวและสาธิตโปรเจกต์
ในปีแรก โปรแกรม VR ทางการแพทย์จะดำเนินการจนเสร็จสิ้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนในปีต่อ ๆ มา โครงการดังกล่าวจะมุ่งเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในระยะเริ่มต้น และปรับปรุงคุณภาพการรักษาพยาบาล รวมถึงการรับมือกับวิกฤตสุขภาพด้านเวชศาสตร์ชุมชน ให้การศึกษาโดยใช้ VR แก่นักศึกษาแพทย์ ผู้อยู่อาศัย และแพทย์ในแวดวงเวชศาสตร์ชุมชนตามแนวชายแดนไทย
ปีที่ 1: สร้างสภาพแวดล้อมการผลิตสื่อการสอน VR ด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการหลักสูตรการศึกษาจนเสร็จสิ้น และเริ่มดำเนินการที่มหาวิทยาลัย
ปีที่ 2: จัดหาสื่อการเรียนการสอน VR ให้กับโรงพยาบาลในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล และนำสื่อไปใช้ในการดำเนินงานทั่วประเทศไทย
ปีที่ 3 ขึ้นไป: จัดหาสื่อการสอน VR ให้กับเวียดนามและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ
<รองศาสตราจารย์ ดร.องอาจ มหิทธิกร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล>
เรามีความคาดหวังอย่างมากในการใช้ VR ให้ความรู้ทางการแพทย์ โดยหลังจากที่ไทยเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 เราประสบปัญหาในการสอนโรคติดเชื้อให้กับนักศึกษาและบุคลากรทางการแพทย์ เราแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้การศึกษาทางการแพทย์คุณภาพสูง และตอนนี้นักการศึกษาในประเทศไทยมีความกังวลเกี่ยวกับ VR มากขึ้น ในโครงการนี้ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มีแผนจะสร้างเนื้อหา VR คุณภาพสูงในสาขาเวชศาสตร์เขตร้อน
<รองศาสตราจารย์ฮิโรทาเกะ โมริ (Hirotake Mori) สาขาวิชาอายุรศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยจุนเทนโด และศาสตราจารย์อาคันตุกะ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล>
เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโควิด-19 มหาวิทยาลัยจุนเทนโดได้เดินหน้าพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์สำหรับโรคติดเชื้อ เมื่อชั้นเรียนแบบตัวต่อตัวและการเรียนการสอนข้างเตียงถูกจำกัด การศึกษาทางการแพทย์โดยใช้ VR นั้นสมจริงมาก โดยให้ประสบการณ์ที่คล้ายกับการรักษาพยาบาลจริง สามารถใช้เพื่อการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลและการแพทย์ชุมชน ความร่วมมือกับจอลลี่ กู๊ด ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลจะเริ่มดำเนินการศึกษาทางการแพทย์โดยใช้ VR เราหวังว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการจัดหาการศึกษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อก้าวข้ามพรมแดนของประเทศไปสู่โลกในอนาคต
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดล ( https://mahidol.ac.th/ )
มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยระดับชาติชั้นนำของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดที่เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนครอบคลุม 17 คณะ โรงเรียนอาชีวศึกษา 6 แห่ง และสถาบันวิจัย 8 แห่ง ดำเนินการวิจัยและให้คำแนะนำทางเทคนิคอย่างแข็งขัน ซึ่งไม่เพียงแค่เกี่ยวกับการแพทย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสุขภาพของมนุษย์ด้วย แนวทางเชิงรุกในฐานะสถาบันวิจัยเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยจุนเทนโด ( https://en.juntendo.ac.jp/ )
มหาวิทยาลัยจุนเทนโด (Juntendo University) เป็นมหาวิทยาลัยสุขภาพครบวงจรและบัณฑิตวิทยาลัย โดยมี 6 สาขาวิชา 3 แผนกวิจัย และโรงพยาบาลในเครือ 6 แห่ง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับสากล ผ่านเสาหลัก 3 ประการ ได้แก่ การศึกษา การวิจัย การดูแลทางการแพทย์และเวชปฏิบัติ มหาวิทยาลัยจุนเทนโดนำโซลูชัน VR ของจอลลี่ กู๊ด มาใช้ในปี 2564 และมีการใช้ VR ในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการให้ความรู้แก่นักศึกษา
เกี่ยวกับจอลลี่ กู๊ด อิงค์ ( https://jollygood.co.jp/en )
จอลลี่ กู๊ด (Jolly Good) เป็นบริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาโซลูชัน VR และบริการด้านการดูแลสุขภาพที่มีความแม่นยำสูงโดยใช้ AI เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้ในแวดวง VR จอลลี่ กู๊ด ร่วมมือกับสถาบันวิจัยและบริษัทต่าง ๆ เพื่อให้บริการที่สนับสนุนวิวัฒนาการของการรักษาพยาบาลและแรงจูงใจในชีวิตของผู้คน โดยเร่งการเจริญเติบโตของมนุษย์และการกลับคืนสู่สังคมผ่านการศึกษาทางการแพทย์ การสนับสนุนผู้พิการ และการรักษาความเจ็บป่วยทางจิตโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น VR และปัญญาประดิษฐ์
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1923613/Mahidol_University_Top_University_Thailand_Has_Officially_Adopted_Jolly_Good_s.jpg
No comments:
Post a Comment