โลกของเราในปัจจุบันกำลังประสบกับวิกฤตการณ์ใหญ่ 3 ประการ ประกอบด้วยการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ความรุนแรงของปัญหาเหล่านี้ทำให้ประชาคมโลกจำเป็นต้องเร่งหาวิธีการแก้ไขในทันที นำไปสู่การจัดการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติครั้งที่ 15 (COP15) ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2565 ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา โดยมีวาระการประชุมหลักคือกรอบความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกหลังปี 2563
คุณ Liu Chunxi ประธานบริหารของ Yili Group ได้ร่วมแบ่งปันความพยายามของบริษัทในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการประชุม ส่งผลให้ Yili เป็นองค์กรผลิตภัณฑ์นมเพียงแห่งเดียวที่มีรายชื่อรวมอยู่ในรายงานว่าด้วยการดำเนินงานภาคธุรกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศจีน (New Deal for People and Nature: Case Book on Business Actions in Biodiversity in China)
"โมเดล Yili" ว่าด้วยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ในฐานะบริษัทจีนแห่งแรกที่ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยธุรกิจและความหลากหลายทางชีวภาพ Yili ได้บุกเบิกรูปแบบการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ครอบคลุม โดยมีการเปิดเผยข้อมูล การจัดการ และประกาศสู่สาธารณะ บริษัทได้เผยแพร่รายงานประจำปีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยแบ่งปันประสบการณ์และผลลัพธ์ต่อสาธารณชน
คณะกรรมการการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของ Yili ได้ตรวจสอบองค์ประกอบทั้งหมดของกระบวนการผลิตและการดำเนินงาน เพื่อระบุคุณลักษณะที่สำคัญที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับความหลากหลายทางชีวภาพ บริษัทได้ระบุประเด็นสำคัญ 6 ประการสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในแนวทางตลอดวงจรชีวิต ได้แก่ การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัย การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลายของสายพันธุ์ การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การจัดการสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนการอนุรักษ์ระบบนิเวศ
นอกจากนี้ Yili ยังได้แบ่งปันความเชี่ยวชาญร่วมกับพันธมิตรต้นน้ำและปลายน้ำ เช่นการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบผสมผสานในเขตอาร์ ฮอร์ชิน แบนเนอร์ ของมองโกเลียชั้นใน ผลที่ตามมาก็คือ พืชที่ปกคลุมพื้นที่ทุ่งหญ้าหลักแห่งนี้ได้ขยายตัวจากเดิมที่น้อยกว่า 10% ในปี 2551 เป็นมากกว่า 95% พลิกโฉมดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นทะเลทรายให้กลายเป็นโอเอซิสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บ้านเกิดของเรา โลกที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ
ภายใต้โครงการ Yili Homeland Initiative ที่มุ่งปกป้องอนาคตของชีวิต Yili ได้ร่วมมือกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลและมูลนิธิจีนสีเขียวในการปกป้องทุ่งหญ้า การปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และการอนุรักษ์ที่อยู่อาศัยของช้างเอเชีย ภายใต้โครงการนี้ Yili ได้ปลูกต้นฮาโลไซลอนจำนวน 100,000 ต้นในทะเลทรายอลาชานของมองโกเลียใน บันทึกจำนวนนกน้ำ 50,123 ตัวในที่ราบลุ่มเซียงไห่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ราว 4,050 หมู่ (ประมาณ 270 เฮกตาร์) ในมณฑลจี๋หลินตะวันตก ฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของช้างเอเชียกว่า 50,000 ตารางเมตรในมณฑลยูนนาน และสนับสนุนการอนุรักษ์แนวปะการังในอุทยานแห่งชาติโคโมโดของอินโดนีเซีย
ในช่วงเดียวกับการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติครั้งที่ 15 รอบแรกในปี 2564 แบรนด์ Satine ของ Yili ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นลิมิเต็ดภายใต้ธีมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีการออกแบบเป็นรูปสัตว์ พืช ป่าไม้ มหาสมุทร พื้นที่ชุ่มน้ำ และทุ่งหญ้า เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
Yili ยังได้เผยแพร่รายงานการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบ NFT ฉบับแรกของจีนในระหว่างการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติครั้งที่ 15 รอบสอง นำเสนอการดำเนินการของบริษัทและผลลัพธ์ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพลงในเมตาเวิร์ส Yili ตั้งเป้าที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการปกป้องบ้านเกิดด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย
นักนิเวศวิทยาชื่อดัง ดร. Thomas Lovejoy ผู้ได้รับสมญานามว่าเป็น "บิดาแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ" เคยกล่าวไว้ว่า "ความหลากหลายทางชีวภาพของโลกถูกคุกคามอย่างหนัก และนี่คือโอกาสสุดท้ายของเราที่จะแก้ปัญหานี้ทั้งหมด" ความพยายามร่วมกันในระดับโลกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และ Yili ในฐานะบริษัทชั้นนำในธุรกิจผลิตภัณฑ์นมระดับโลก มีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับพันธมิตรทั่วโลก
ที่มา: Yili Group
ลิงก์ภาพประกอบข่าว:
ลิงก์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=436346
คำบรรยายภาพ: Yili เข้าร่วมการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติครั้งที่ 15 รอบสอง
ลิงก์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=436354
คำบรรยายภาพ: Yili ร่วมมือกับมูลนิธิจีนสีเขียวในโครงการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่ของช้างเอเชีย
No comments:
Post a Comment