ฮันโนเวอร์, เยอรมนี--25 เม.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ที่งาน HANNOVER MESSE 2018 หัวเว่ย (Huawei) นำเสนอโซลูชั่นสุดล้ำพ่วงด้วยแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศสำหรับการพลิกโฉมอุตสาหกรรมยุคดิจิทัล ในธีม "Leading New ICT, Connecting Bits & Gears" โดยหัวเว่ยและกลุ่มพันธมิตรในอุตสาหกรรม ร่วมใจนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีเชื่อมต่อ อันเป็นผลผลิตจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ยุคใหม่อย่าง Internet of Things (IoT), คลาวด์คอมพิวติ้ง, eLTE และ 5G พร้อมนำเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในยุคอุตสาหกรรมดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น Internet of Vehicles, Internet of Elevators and Escalators, โรงงานเชื่อมต่อ, ระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ และการคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักรเพื่อการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่ร่วมกับบรรดาพันธมิตรชั้นแนวหน้าของวงการ ทั้ง Groupe PSA, Telefonica, Munich Airport, Alliance of Industrial Internet (AII), Avnu Alliance และ Schneider Electric
งาน Hannover MESSE 2018 ครั้งนี้มีธีมหลักคือ "Integrated Industry - Connect & Collaborate" โดยการหลอมรวมเทคโนโลยีไอซีทีสมัยใหม่เข้ากับระบบการผลิตในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นั้น ได้นำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ในภาคการผลิตทั่วโลก ปัจจุบัน เทคนิคการผลิตตามสั่งปริมาณมาก การออกแบบจากความร่วมมือทั่วโลก โรงงานอัจฉริยะ การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ และเทคโนโลยีรถยนต์เชื่อมต่อนั้น กำลังเข้ามาพลิกโฉมห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมด พร้อมเติมเชื้อเพลิงขับเคลื่อนสิ่งใหม่ ๆ ทั้งในเรื่องกลวิธีการผลิต โครงสร้างอุตสาหกรรม โมเดลธุรกิจ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20180424/2113244-1
คำบรรยายภาพ – หัวเว่ย เปิดตัวนวัตกรรมโซลูชั่นและแนวปฏิบัติต้อนรับอุตสาหกรรมยุคดิจิทัลที่งาน HANNOVER MESSE 2018
นำทัพโชว์โซลูขั่นใหม่ ๆ เพื่อเร่งการยกระดับอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล
จาง หลิน ประธานของ Huawei West European Enterprise Business กล่าวว่า "เมื่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการผสมผสานอย่างล้ำลึกยิ่งขึ้น การปฏิรูปอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่าที่เคย โดยในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นไอซีทีชั้นแนวหน้า หัวเว่ยงัดศักยภาพของเทคโนโลยีล้ำสมัยออกมาได้อย่างเต็มที่ ทั้งเทคโนโลยี IoT, คลาวด์คอมพิวติ้ง, เทคโนโลยีไร้สายขั้นสูง (5G) และ Agile Networking นอกจากนี้ เรายังได้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม OpenLab ที่ทั้งเปิดกว้างและทันสมัย ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถผนึกกำลังกับพันธมิตรรายอื่น ๆ เพื่อเร่งการพลิกโฉมอุตสาหกรรมยุคดิจิทัล ให้มีประสิทธิภาพและชาญฉลาดยิ่งขึ้น"
ที่งาน HANNOVER MESSE 2018 หัวเว่ยได้นำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ ร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรหลายราย ไม่ว่าจะเป็น Groupe PSA, Schindler, Intel, Beckhoff, Harting, Software AG, SAP, Telefonica, Q-loud, KUKA, SDI และ T-Systems นวัตกรรมที่ว่านี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีเชื่อมต่อ โซลูชั่นใหม่ และแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศในการยกระดับการผลิตอัจฉริยะ โดยผลลัพธ์จากความสำเร็จในการร่วมมือที่นำเสนอครั้งนี้มีทั้ง DS 7 Crossback ยานยนต์แรกที่ใช้แพลตฟอร์ม Connected Vehicle Modular Platform (CVMP) ของ Groupe PSA พร้อมติดตั้งแพลตฟอร์ม OceanConnect IoT และบริการคลาวด์ของหัวเว่ย; ระบบทดสอบการผลิตอัจฉริยะ "Time-Sensitive Networking (TSN) + OPC Unified Architecture (OPC UA)" แบบ multi-scenario ที่พัฒนาขึ้นโดยหัวเว่ยร่วมกับอีกหลาย ๆ องค์กรชั้นแนวหน้าของอุตสาหกรรม; เทคโนโลยีโรงงานเชื่อมต่อและระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะที่นำเสนอโดยหัวเว่ย ร่วมกับ KUKA, Hikvision และอื่น ๆ ; การสาธิตการทำงานของระบบ Product Lifecycle Management Cloud บน Open Telekom Cloud ที่หัวเว่ยมีขึ้นร่วมกับ T-Systems; โซลูชั่น Connected Elevator นำเสนอโดยหัวเว่ยและผู้ผลิตลิฟต์และบันไดเลื่อนชั้นแนวหน้าของโลกอย่าง Schindler ตลอดจนโซลูชั่นบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ภาคอุตสาหกรรม นำเสนอโดยหัวเว่ยร่วมกับ Harting, Software AG และ SDI ซึ่งทั้งหมดนี้ หัวเว่ยได้นำเสนอการใช้งานในหลาย ๆ กรณี เพื่อโชว์ศักยภาพของเทคโนโลยีเชื่อมต่อที่ทางบริษัทได้พัฒนาขึ้น ทั้ง 5G, NB-IoT, EC-IoT, Cloud Programmable Logic Controller (PLC), eLTE, Cloud Campus และแพลตฟอร์ม IoT
ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับองค์กรชั้นแนวหน้าในอุตสาหกรรม
- หัวเว่ย จับมือ Groupe PSA เผยโฉมรถยนต์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคันแรกในยุโรป ที่บูธของหัวเว่ย ณ HANNOVER MESSE 2018
หัวเว่ย และ Groupe PSA ได้จัดแสดง DS 7 CROSSBACK รถยนต์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคันแรก ซึ่งเป็นผลงานความร่วมมือระหว่างสองบริษัทในการพัฒนารถยนต์ทุกคันของทางกลุ่มให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ตามที่ได้มีการประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 โดย Groupe PSA ได้สร้างแพลตฟอร์ม Connected Vehicle Modular Platform (CVMP) ของตัวเองขึ้นจากแพลตฟอร์ม OceanConnect IoT ของหัวเว่ย เพื่อใช้กับรถยนต์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเปิดตัวทั่วโลกโดยใช้บริการคลาวด์ที่ได้รับการสนับสนุนจากหัวเว่ย DS 7 CROSSBACK ที่เพิ่งเปิดตัวในเดือนนี้ที่ประเทศจีน นับเป็นรถยนต์คันแรกที่ใช้ประโยชน์จาก CVMP เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการใหม่ ๆ อาทิ ระบบนำทาง ระบบจดจำเสียงภาษาธรรมชาติ และระบบบริการเชื่อมต่อผ่านแผงหน้าปัดรถยนต์ อีกทั้งยังสามารถเรียกดูสถานะการบำรุงรักษา ประวัติการเดินทาง และรูปแบบการขับขี่ได้ผ่านทางสมาร์ทโฟนของลูกค้า
- หัวเว่ย และ Telefonica ประกาศเปิดตัว NB-IoT Smart Meter PoC มุ่งยกระดับสนามบินมิวนิกสู่ยุคดิจิทัล
หัวเว่ย ร่วมกับ Telefonica และผู้ให้บริการ IoT อย่าง Q-loud ได้ประกาศการทดสอบความเป็นไปได้ (POC) ด้านมิเตอร์อัจฉริยะที่ทำงานบน NarrowBand Internet of Things (NB-IoT) ในท่าอากาศยานมิวนิก โซลูชั่นที่ว่านี้ประกอบด้วยระบบกล้องที่ Q-loud ได้พัฒนาขึ้นอย่าง EnergyCam ซึ่งสามารถบันทึกค่ามิเตอร์จากโรลเลอร์มิเตอร์ทั่วไป วิเคราะห์ภาพ และจดจำค่าการวัดที่แสดงผลผ่านซอฟต์แวร์บูรณาการ พร้อมส่งข้อมูลดังกล่าวในรูปแบบดิจิทัลผ่าน NB-IoT ในเครือข่ายของ Telef?nica ไปยังแพลตฟอร์ม OceanConnect IoT ของหัวเว่ย โซลูชั่นนี้เปิดโอกาสให้ฝ่ายไอทีของทางสนามบิน สามารถเรียกดูข้อมูลมิเตอร์ได้อย่างรวดเร็วเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป
- หัวเว่ย เปิดตัวระบบทดสอบการผลิตอัจฉริยะ TSN+OPC UA ร่วมกับหลาย ๆ องค์กรและบริษัทชั้นนำของอุตสาหกรรม เพื่อนำทางสู่ยุคอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม
หัวเว่ย ได้เปิดตัวระบบทดสอบการผลิตอัจฉริยะ TSN+OPC UA ร่วมกับองค์กรระดับโลกหลายราย ไม่ว่าจะเป็น AII, Avnu Alliance, Edge Computing Consortium (ECC) และ Fraunhofer FOKUS เช่นเดียวกับบรรดาเวนเดอร์ชื่อดังระดับโลกอย่าง Schneider Electric, HollySys, National Instruments Corporation (NI), B&R Automation, TTTech และ Spirent Communications ระบบทดสอบที่ว่านี้ประกอบด้วยกรณีการเชื่อมต่อถึงกัน 6 รายการในภาคอุตสาหกรรม โดย TSN และ OPC UA เป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทั้งการซ่อมบำรุงเชิงพยากรณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีที่ว่านี้ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ดำเนินการผลิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการลดช่วงเวลาเครื่องไม่ทำงาน ขณะที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือ และลดต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO)
ทั้งนี้ หัวเว่ย ทำงานร่วมกับเหล่าพันธมิตรทั่วโลก เพื่อพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและชาญฉลาดยิ่งขึ้นแก่ลูกค้า ซึ่งเปิดโอกาสในการคิดค้นแนวทางดำเนินการและแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ รองรับอุตสาหกรรม 4.0 โซลูชั่นเหล่านี้ได้เข้ามาช่วยให้บริษัทผู้ผลิตทั้งหลายสามารถยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตได้กว่า 1,000 รายแล้วทั่วโลก
HANNOVER MESSE 2018 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23-27 เมษายนนี้ ที่ Hannover Exhibition Center ประเทศเยอรมนี บูธของหัวเว่ยอยู่ที่หมายเลข D18 ใน Hall 6 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของหัวเว่ยในงาน HANNOVER MESSE 2018 สามารถรับชมได้ที่ http://e.huawei.com/topic/hannovemesse2018-en/index.html
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20180424/2113244-1
คำบรรยายภาพ – หัวเว่ย เปิดตัวนวัตกรรมโซลูชั่นและแนวปฏิบัติต้อนรับอุตสาหกรรมยุคดิจิทัลที่งาน HANNOVER MESSE 2018
-กส-
No comments:
Post a Comment