Wednesday, July 29, 2020

MegaFon เปิดตัวการสำรวจทางทะเลในโครงการ Arctic Connect

MegaFon ประกาศเริ่มต้นการสำรวจทางทะเลระยะที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Arctic Connect ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างสายเคเบิลใต้ทะเลเชื่อมระหว่างยุโรปกับเอเชีย

เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 บริษัท MegaFon และ Cinia ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานจากฟินแลนด์ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการจัดตั้งกลุ่มบริษัทระหว่างประเทศเพื่อสร้างสายเคเบิลใต้ทะเลข้ามมหาสมุทรอาร์กติกเป็นครั้งแรก

"โครงการ Arctic Connect ประกอบด้วยการสร้างสายใยแก้วนำแสงที่เชื่อมระหว่างสองทวีป ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ 85% ของประชากรโลกกระจุกตัวอยู่ แผนการของเราคือการให้บริการส่งสัญญาณข้อมูลที่ใช้เวลาสั้นที่สุดและมีค่าความหน่วงน้อยที่สุดอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยมีประสิทธิภาพเหนือกว่าสายสื่อสารทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสำรวจทางทะเลมีความจำเป็นเพื่อที่จะได้เลือกเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับการวางสายเคเบิล โดยในปี 2563 เราจะดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่ก้นทะเลเพื่อค้นหาเส้นทางที่ปลอดภัยในมหาสมุทรอาร์กติก จากนั้นในปี 2564 เราจะดำเนินการสำรวจในระยะที่ 2 ซึ่งจะประกอบด้วยการตรวจสอบอย่างละเอียดเกี่ยวกับตัวแปรทางวิศวกรรมสำหรับการวางสายเคเบิลใต้ทะเล ซึ่งรวมถึงการศึกษาหินก้นทะเล นอกจากนี้ จะมีการสำรวจแบบเดียวกันในส่วนอื่น ๆ ของสายเคเบิลที่อยู่นอกเขตน่านน้ำของรัสเซีย" Frederic Vanoosthuyze ที่ปรึกษาซีอีโอของ MegaFon เกี่ยวกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานเชิงกลยุทธ์ กล่าว

ในการดำเนินการสำรวจทางทะเลดังกล่าว MegaFon ได้ร่วมมือกับบริษัท Rosgeologiya ซึ่งจะใช้เรือสำรวจวิจัย Professor Logachev ครอบคลุมระยะทาง 6,500 กม. และมุ่งการสำรวจไปยังเส้นทางที่มีสภาพน้ำแข็งที่ท้าทายที่สุดในทะเลแบเร็นตส์ (Barents) ทะเลคารา (Kara) ทะเลแลปทิฟ (Laptev) ทะเลไซบีเรียตะวันออก (East Siberian) และทะเลชุคชี (Chukchi) การสำรวจจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ที่เมืองมูรมันสก์ (Murmansk) กินระยะเวลาสามเดือน

ปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลระหว่างทวีปนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยความต้องการใช้ข้อมูลจากบริการ OTT ผู้ให้บริการคอนเทนต์ ผู้ให้บริการการสื่อสารระหว่างประเทศ และลูกค้าองค์กรรายใหญ่ การเปิดตัวสายเคเบิลที่มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูล 200 Tbit/s จะช่วยตอบสนองความต้องการนี้ สายใยแก้วนำแสงเส้นนี้จะวางอยู่ที่ก้นมหาสมุทรอาร์กติก ตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกของรัสเซีย นอกจากนี้ จะมีการสร้างส่วนต่อขยายจากเส้นทางหลักเพื่อให้บริการเชื่อมต่อแก่ลูกค้าในอาร์ติกและภูมิภาคตะวันออกไกล



No comments:

Post a Comment