ในงานประชุม Land-sea Linkage Qingdao Summit 2021 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยดัชนีความสามารถทางการแข่งขันของศูนย์ชิปปิ้งระหว่างประเทศ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ (International Shipping Hubs Competitiveness Index -- Northeast Asia Report (2021)), ดัชนีสินค้าท่าเรือจัดทำโดยซินหัว-เอสพีจี (Xinhua-SPG Port Commodity Index (XH-SPG PCI)) และรายงานดัชนีความเชื่อมโยงด้านการค้าของประเทศสมาชิกในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) (2021) โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การให้ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงสินค้าประเภทเทกองที่ขนส่งผ่านท่าเรือในรูปแบบดัชนี และการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือ ข้อมูลสินค้าประเภทเทกองและการค้า จะช่วยเสริมความสามารถทางการแข่งขันระหว่างท่าเรือต่าง ๆ ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยเร่งการพลิกโฉมและยกระดับในด้านการค้า ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการสร้างเสถียรภาพด้านราคาและอุปทานสินค้าเทกองให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อเป็น "แนวทาง" ในการพัฒนาต่อไปในอุตสาหกรรม
"ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันของศูนย์ชิปปิ้งระหว่างประเทศ" จัดทำโดยฝ่ายบริการข้อมูลเศรษฐกิจของจีน (China Economic Information Service) โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กร Baltic Exchange ในอังกฤษ นับเป็นอีกหนึ่งดัชนีการวัดผลเกี่ยวกับท่าเรือและการขนส่งสินค้าทางเรือที่เผยแพร่ในระดับโลก โดยต่อยอดจากดัชนีการพัฒนาศูนย์ชิปปิ้งระหว่างประเทศซินหัว-บอลติก (Xinhua-Baltic International Shipping Center Development Index) ซึ่งในระยะแรกนั้นจะมุ่งเน้นไปที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีท่าเรือ 17 แห่งในจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และรัสเซียที่ได้รับเลือกมาเป็นตัวอย่างด้วย ข้อมูลจากคะแนนที่ครอบคลุมแบ่งตัวอย่างท่าเรือออกเป็นสี่ระดับ ซึ่งท่าเรือชิงเต่า ท่าเรือปูซาน และท่าเรือเทียนจิน ได้รับการจัดอันดับในกลุ่มแรก พิจารณาจากการเชื่อมโยงกับเครือข่ายชั้นนำ ระดับการดำเนินงาน และระบบพื้นฐาน ท่าเรือทั้งสามเป็นศูนย์ชิปปิ้งระหว่างประเทศประจำภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
ดัชนี XH-SPG PCI ได้รับการพัฒนาและจัดทำโดยบริษัท Shandong Port Group โดยร่วมมือกับฝ่ายบริการข้อมูลเศรษฐกิจของจีน และนับเป็นก้าวสำคัญสำหรับท่าเรือในการสร้างความเป็นไปได้ที่จะนำดัชนีมาใช้ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเพิ่มความสามารถของการจัดสรรทรัพยากรทั่วโลก ทั้งนี้ ในการจัดทำดัชนีดังกล่าว มีการพิจารณาจากสินค้าสามประเภท (สินแร่เหล็ก, ถ่านโค้ก และน้ำมันดิบ) ซึ่งมีการขนส่งในปริมาณมากและได้รับความสนใจในตลาดสูงในท่าเรือซานตง นอกจากนี้ ยังมีการคัดเลือกสินค้าประเภทเหล็กสองรายการ (เหล็กแท่งและเหล็กแผ่นรีดร้อน) ที่มีการค้าขายอย่างคึกคักในท่าเรือดังกล่าวด้วย โดยพิจารณาจากความได้เปรียบด้านความหลากหลายของสินค้าที่ท่าเรือซานตง เป้าหมายของการจัดทำดัชนีดังกล่าวจึงเป็นการสะท้อนถึงแนวโน้มตลาดสินค้าเทกองของท่าเรือ และแสดงเกณฑ์ชี้วัดด้านคุณค่า ตลอดจนเพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงกิจกรรมการค้าของท่าเรือที่มีประสิทธิภาพ ตามแผนการนั้น ในอนาคตจะค่อย ๆ มีการเพิ่มสินค้าที่รวมอยู่ในดัชนี และจะขยายดัชนีให้ครอบคลุมท่าเรือชายฝั่งแห่งอื่น ๆ ด้วย โดยดัชนีดังกล่าวจะแสดงข้อมูลอ้างอิงด้านสถานะที่แม่นยำและครอบคลุมสำหรับตลาดสินค้าประเภทเทกอง ซึ่งผ่านการจัดทำขึ้นด้วยความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลดัชนีเพื่อเผยความเคลื่อนไหวในการค้าขายสินค้าประเภทเทกองในท่าเรือของซานตง
ส่วนในรายงานดัชนีความเชื่อมโยงด้านการค้าของประเทศสมาชิกในข้อตกลง RCEP (2021) ได้รวบรวมข้อมูลที่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของเครือข่ายการค้าระดับทวิภาคี ทั้งในแง่การแลกเปลี่ยนทางการค้า กระแสเงินทุน และสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ เพื่อแสดงถึงภาพรวมสถานะทางการค้าและการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของประเทศสมาชิก RCEP ตลอดจนสะท้อนถึงระดับการพัฒนาการทำงานร่วมกันในด้านการค้าของ RCEP โดยเมื่อปี 2563 ดัชนีระหว่างจีน-ญี่ปุ่น, จีน-อาเซียน, ญี่ปุ่น-อาเซียน, จีน-ออสเตรเลีย และจีน-เกาหลีใต้ติด 5 อันดับแรก ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่า ประเทศเหล่านี้ยังคงร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแลกเปลี่ยนทางการค้า กระแสเงินทุน และสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ รายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นว่าชาติสมาชิกหลักของ RCEP มีความพร้อมสูงในด้านโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรม รวมถึงความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนที่แนบแน่นทั้งในภาคการส่งออกและนำเข้า โดยมีแนวโน้มที่ส่งสัญญาณถึงการร่วมมือที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต
ที่มา: ฝ่ายบริการข้อมูลเศรษฐกิจของจีน (China Economic Information Service)
No comments:
Post a Comment