การเพาะพันธุ์โคเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักเพื่อบรรเทาความยากจนในอำเภอซินเฉิงของเขตปกครองตนเองกว่างซี โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อำเภอซินเฉิงได้เพิ่มความพยายามในการดำเนินกลยุทธ์ "เสริมความมั่นคงทางการเกษตร" พร้อมสนับสนุนและรวบรวมผู้คนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ซึ่งความพยายามนี้ได้รวมอยู่ในความสำเร็จในการบรรเทาความยากจน กระตุ้นการฟื้นฟูชนบท และผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจอำเภอซินเฉิงอย่างมีคุณภาพ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มูลค่าการผลิตมวลรวมในอำเภอซินเฉิงขยายตัวขึ้น 3.3% เมื่อเทียบรายปี ส่วนมูลค่ากสิกรรม สัตวบาล และการประมงขยายตัวขึ้น 5.3% เมื่อเทียบรายปี
ปฏิบัติการตามสภาพพื้นที่และยกระดับพลิกโฉมอุตสาหกรรม
อำเภอซินเฉิงตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาติดกับเขตหินแห้งแล้ง มีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่ย่ำแย่และไม่เหมาะสมกับการเป็นฐานที่ตั้งอุตสาหกรรม โดยคุณเว่ย เหมิง (Wei Meng) เลขาธิการคณะกรรมการอำเภอซินเฉิง เปิดเผยว่า อำเภอซินเฉิงให้ความสำคัญกับการขยายห่วงโซ่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ เสริมแกร่งอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาโคเป็นหลัก และเพิ่มคุณค่าให้กับอุตสาหกรรมโคเพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูชนบท
ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา อำเภอซินเฉิงพยายามใช้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมที่โดดเด่น โดยได้ประยุกต์ใช้แบบแผนการพัฒนาซึ่งนำโดยวิสาหกิจ สหกรณ์ ฐานการผลิตและครัวเรือนเกษตรกรชั้นนำ และนำมารวมกันภายใต้โครงการ "เมืองโคแห่งแดนใต้ของจีน" (Cattle City in Southern China) ซึ่งเป็นโครงการสำหรับห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมดที่มีมูลค่าการลงทุนรวม 1.428 พันล้านหยวน นอกจากนี้ ยังสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบซึ่งประกอบด้วยโรงฆ่าสัตว์ ศูนย์การตลาด การขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ และฐานฟาร์ม 5 แห่ง โดยมีเมืองซื่อเหลียนเป็นแกนกลางของภูมิภาค ครอบคลุมทั่วทั้งเมืองและหมู่บ้านโดยรอบ ก่อนจะยกระดับก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม
เพิ่มรายรับและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยผลผลิตที่สูงขึ้น
อำเภอซินเฉิงได้เปิดรับแนวทางใหม่ ๆ ในการสร้างรายได้ ทั้งการแปลงที่ดิน ปลูกหญ้า เลี้ยงโคในทุกครัวเรือนของเกษตรกร และการเลี้ยงโคอ้วนแบบรวมศูนย์ผ่านระบบสหกรณ์ ซึ่งช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้คนดีขึ้น
นอกจากนี้ สหกรณ์และครัวเรือนเกษตรกรสามารถหาเงินทุนได้ในรูปแบบการกู้เงินเพื่อการเพาะพันธุ์โค ซึ่งประกอบด้วย การค้ำประกันวิสาหกิจ บริษัทตราสารหนี้ ธนาคาร และสหกรณ์หรือครัวเรือนต่าง ๆ ขณะที่วิสาหกิจจะเป็นผู้จัดหาบริการด้านเทคโนโลยี การตลาด และการฝึกอบรมให้ สหกรณ์ทุกแห่งสามารถเลี้ยงและขายโคอ้วนได้ 300-800 ตัวต่อปี และรับเงินปันผลขั้นต่ำมากกว่า 3,000 หยวน นอกจากนี้ ครัวเรือนเกษตรกรทุกแห่งสามารถเลี้ยงโคได้ 5-20 ตัว แต่ละตัวทำเงินได้มากกว่า 6,000 หยวน ในขณะที่ครัวเรือนใดที่ไม่มีพื้นที่เพาะพันธุ์โค สามารถเช่าที่ดินเพื่อปลูกหญ้า เพาะเลี้ยง และเก็บเกี่ยว หรือช่วยฐานการผลิตและสหกรณ์ต่าง ๆ เลี้ยงโคได้ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 2,500-3,000 หยวน
ด้วยโครงการ "เมืองโคแห่งแดนใต้ของจีน" อำเภอซินเฉิงคาดว่าจะมีโคเนื้อได้มากกว่า 100,000 ตัว นอกจากนี้ ครัวเรือนมากกว่า 10,000 แห่งจะเพาะพันธุ์โค ในขณะที่เกษตรกรกว่า 7,000 คนจะลงทุนในการปลูกหญ้า ซึ่งจะทำให้แต่ละครัวเรือนมีรายได้ต่อปีมากกว่า 30,000 หยวน และสหกรณ์แต่ละแห่งจะมีรายรับมากกว่า 900,000 หยวน
เชื่อมโยงผลประโยชน์ร่วมกัน ผลักดันชนบทเฟื่องฟู
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ อำเภอซินเฉิงได้สร้างกลไกการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่มและฟาร์มครัวเรือนแต่ละฟาร์มผ่านการลองผิดลองถูกมากมาย ทำให้เศรษฐกิจปศุสัตว์ในเมืองและหมู่บ้านใกล้เคียงเฟื่องฟู ขณะเดียวกัน รูปแบบการแจกจ่ายโดยมีดอกเบี้ยขั้นต่ำและการปันผลได้ถูกนำมาใช้ ดังนั้น จึงรับประกันได้ว่า ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันจะถูกแจกจ่ายไปถึงมือทุกคนในหมู่บ้านอย่างแน่นอน
มากไปกว่านั้น นโยบายพิเศษด้านความร่วมมือระหว่างเขตกว่างซีกับมณฑลกวางตุ้ง นโยบายช่วยเหลือแบบเจาะจงและข้อได้เปรียบต่าง ๆ เปิดโอกาสให้อำเภอซินเฉิงสร้างระบบช่วยเหลือแบบกลุ่ม และขยับขยายการลงทุนในการช่วยเหลือดังกล่าว ซึ่งพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมในชนบทด้วยโครงการ "เมืองโคแห่งแดนใต้ของจีน" และโครงการห่วงโซ่อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบอื่น ๆ โดยในปี 2564 รายรับโดยรวมในชนบทของอำเภอซินเฉิงพุ่งไปแตะที่ 23.2031 ล้านหยวน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 7% ในปีนี้เมื่อเทียบเป็นรายปี
ทั้งนี้ แผนขั้นต่อไปของอำเภอซินเฉิงคือการพยายามสร้างพื้นที่ธุรกิจในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบให้กับโครงการ "เมืองโคแห่งแดนใต้ของจีน" และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปยังกวางตุ้ง ยูนนาน กุ้ยโจว เสฉวน ฉงชิ่ง หูหนาน ไปจนถึงมณฑลและภูมิภาคอื่น ๆ ใกล้เคียง ทำให้อำเภอแห่งนี้มีชื่อเสียงมากขึ้นไปยังภูมิภาคอื่น ๆ
ที่มา: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ อำเภอซินเฉิง
ลิงก์ภาพประกอบข่าว:
ลิงก์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=434816
คำบรรยายภาพ: โคกำลังกินหญ้าอย่างสบายใจในฐานเพาะพันธุ์สัตว์เหลียนเจียง โดยเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุตสาหกรรมตามโครงการ "เมืองโคแห่งแดนใต้ของจีน" เพื่อบรรเทาความยากจน
No comments:
Post a Comment