Tuesday, May 30, 2023

TrinaTracker, a leading smart solar tracker solution provider under Trina Solar Co., Ltd. (SHA: 688599), recently signed an agreement with Dongfang Electric International Corporation ("DEC International") to provide 510MW solar trackers for solar projects in Uzbekistan. The contract signing ceremony was held on the first day of the 16th International Photovoltaic Power Generation and Smart Energy Conference & Exhibition (SNEC PV Power Expo) held in Shanghai from May 24-26, 2023. According to the contract, TrinaTracker will supply Vanguard 1P solar trackers to the Jizzakh and Samarkand solar power plants in Uzbekistan. Once connected to the grid, the two projects will generate 1.1 terawatt-hours (TWh) of renewable electricity annually, cutting an annual average of around 110,000 metric tons of CO2 emissions. Both are key projects in support of the government's agenda to transition to a green economy in the country. This is the second project TrinaTracker has landed as the exclusive supplier for solar plants in Uzbekistan in support of the country's solar power development target of 4GW by 2026 and 5GW by 2030. The country aims to develop high quality solar power plants in a bid to maximize the benefits of solar energy in the energy system. TrinaTracker previously provided 2618 sets of solar trackers for the 100 MW Nur Navoi Solar Project, the country's first solar power plant, which was inaugurated in August 2021. Meanwhile, TrinaTracker's selection once again as the sole tracker supplier reflects the excellent product performance of previous projects, as well as wider local market acceptance, building on the Company's strong foundation for further development in Uzbekistan. "Trina Solar has 25 years' experience in the solar industry and has consistently held the position of a top tier company. This gives confidence to project owners and developers from both product and branding perspectives," said Wang Ai, vice president of DEC International. "TrinaTracker has already had a successful experience in Uzbekistan, and their 'product+service' lifecycle solution has proven to be good, so we're confident the construction of the Jizzakh and Samarkand projects in collaboration with TrinaTracker will also be successful." Photo - https://mma.prnewswire.com/media/2087896/image_5027490_52411717.jpg

 


รายงานโดยไชน่า เดลี (China Daily)

บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวเมื่อวันเสาร์ (27 พ.ค.) ว่า จีนได้พัฒนาการสื่อสารระหว่างประเทศผ่านแนวทางปฏิบัติและการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งช่วยเผยแพร่และส่งเสริมแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความทันสมัยของจีนไปทั่วโลก

ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้ให้ความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวในงานปาฐกถาเกี่ยวกับการสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Talks of Sci-tech Communication) ซึ่งเป็นชุดงานที่จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยการสื่อสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนานาชาติ (Research Institute of International Sci-tech Communication) อันเป็นสถาบันที่ก่อตั้งโดยสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน (China Association for Science and Technology) และไชน่า เดลี เมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว งานดังกล่าวเป็นแหล่งรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทั้งในและต่างประเทศ

คุณกัว หัวตง (Guo Huadong) ประธานคณะกรรมการสภาวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศของจีน (Chinese Committee of the International Science Council) และนักวิชาการจากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) กล่าวว่า โลกกำลังส่งเสริมวิทยาศาสตร์แบบเปิด (open science) อย่างจริงจัง และการสื่อสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็กำลังมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกคนจึงควรเป็นนักสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย

คุณกัวกล่าวว่า การเรียนรู้ที่จะใช้พลังของบิ๊กดาต้าเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือประเด็นสำคัญของทุกภูมิภาคที่มีส่วนร่วมในโครงการริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) รวมถึงเป็นประเด็นสำคัญของทั้งโลก โดยจีนได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก และในปี 2564 ก็ได้ตั้งศูนย์วิจัยนานาชาติด้านบิ๊กดาต้าเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (International Research Center of Big Data for Sustainable Development Goals) เพื่อใช้ประโยชน์จากพลังของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

ทางศูนย์ฯ ได้ส่งข้อมูล 7 ชุดเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ไปให้สหประชาชาติเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยทุกประเทศทั่วโลกสามารถเข้าดูรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวได้

"ผมคิดว่าข้อมูลคือภาษากลางของมนุษยชาติ และเป็นรูปแบบการเผยแพร่ความรู้ด้วย ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องปล่อยให้ข้อมูลผลิดอกออกผล และเปลี่ยนดอกผลนั้นเป็นสารสนเทศและความรู้ด้วยเช่นกัน" คุณกัวกล่าว

คุณหลิว โช่วชุ่น (Liu Shouxun) รองประธานมหาวิทยาลัยการสื่อสารแห่งประเทศจีน (Communication University of China) กล่าวว่า สิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อส่งเสริมความทันสมัยของจีนผ่านการสื่อสารระหว่างประเทศ คือต้องเล่าเรื่องของจีนให้ดี

"เรื่องราวของจีนมีหลายเวอร์ชั่น ความแข็งแกร่งของชาติตะวันตกที่พัฒนาแล้วทำให้มุมมองของพวกเขาที่มีต่อจีนครอบงำเวทีระหว่างประเทศมายาวนาน โดยอ้างสิทธิ์ที่จะนิยามเรื่องเล่าของจีนในแง่ของความคิดเห็นสาธารณะระหว่างประเทศ การแข่งกันระหว่างเรื่องเล่าของจีนเวอร์ชั่นนี้กับเวอร์ชั่นของจีนเองนั้นเป็นปัญหาแรกที่ต้องแก้ไขผ่านการพัฒนาการสื่อสารระหว่างประเทศ เราต้องการแนวคิดเพิ่มเติมแบบเดียวกับการทำจีนให้ทันสมัย ซึ่งไม่เพียงแต่เผยแพร่ออกไปเท่านั้น แต่ยังต้องให้โลกเข้าใจด้วย" คุณหลิวกล่าว

คุณหลิวกล่าวว่า การสื่อสารระหว่างประเทศของจีนไม่ควรถูกจำกัดอยู่แค่ระเบียบพื้นฐานของการสื่อข่าวในขั้นแรกเท่านั้น แต่ควรยึดหลักปรัชญา, สังคมวิทยา, การเมือง, วรรณคดี และศาสตร์แขนงอื่น ๆ ด้วย

คุณหลิวกล่าวว่า กำลังการผลิตความรู้ที่เข้มแข็งจะช่วยให้นักสื่อสารของจีนสามารถสรุปรวบยอดและอธิบายแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับจีนได้ชัดเจน อาทิ ความทันสมัยของจีนและความหมายแฝงของแนวคิดดังกล่าว จากนั้นจึงครองสิทธิ์ในการพูดถึงและกำหนดภาพลักษณ์ของจีนในการสื่อสารระหว่างประเทศอีกทอดหนึ่ง

คุณหู เจิ้งหรง (Hu Zhengrong) ผู้อำนวยการสถาบันวารสารศาสตร์และการสื่อสาร (Institute of Journalism and Communication) แห่งสถาบันสังคมศาสตร์จีน (Chinese Academy of Social Sciences) กล่าวว่า เรื่องราววิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวของจีน และมีส่วนสำคัญในการแสดงให้โลกเห็นภาพลักษณ์ของประเทศที่น่าเชื่อถือ น่าชื่นชม และน่าเคารพยำเกรง

คุณหูกล่าวว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร ต่างก็ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยส่งเสริมการสื่อสารในด้านต่าง ๆ เช่น การผลิต, การเผยแพร่ และการบริโภค ขณะที่การสื่อสารก็ช่วยเพิ่มความสามารถและยกระดับการแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน

คุณหูปิดท้ายว่า เบื้องหลังเรื่องราวของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือการแสวงหาและค่านิยมของมนุษยชาติที่มีร่วมกัน และค่านิยมที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนก็เป็นสากลและดึงดูดผู้อ่านจากทั่วโลก

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2087298/image_1.jpg
คำบรรยายภาพ - เฟิง หย่งปิน (FENG YONGBIN)/ไชน่า เดลี - แขกผู้มีเกียรติเปิดงานชุดปาฐกถาเกี่ยวกับการสื่อสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมื่อวันเสาร์ ณ กรุงปักกิ่ง

No comments:

Post a Comment