ทางการจีนและฝรั่งเศสได้เปิดฉากงานสัปดาห์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอุตสาหกรรมจีน-ฝรั่งเศส ที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ-เทคโนโลยีปักกิ่ง (Beijing Economic-Technological Development Area หรือ BDA) หรือที่รู้จักกันว่าปักกิ่ง อี-ทาวน์ (Beijing E-town) โดยเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
คุณฌอง-ปิแอร์ รัฟฟาแรง (Jean-Pierre Raffarin) ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการจีนประจำรัฐบาลฝรั่งเศส ได้ส่งข้อความแสดงความยินดีถึงผู้จัดงานผ่านทางวิดีโอ โดยยกให้งานนี้มีบทบาทสำคัญในความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างฝรั่งเศสกับจีน ซึ่งเขากล่าวว่าปี 2567 เป็นปีสำคัญ และมิตรภาพฝรั่งเศส-จีนก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมธรรมาภิบาลระดับโลก ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงควรทำงานร่วมกัน เพื่อกระชับความร่วมมือโดยเคารพซึ่งกันและกันและริเริ่มสิ่งต่าง ๆ ด้วยกัน
คุณจาง เฉียง (Zhang Qiang) เลขาธิการคณะทำงานประจำเขตพัฒนาเศรษฐกิจ-เทคโนโลยีปักกิ่ง เปิดเผยว่า ปักกิ่ง อี-ทาวน์ ได้บรรลุเป้าหมายสำคัญมากมายในมิตรภาพระหว่างจีนกับฝรั่งเศส ปักกิ่ง อี-ทาวน์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยได้ให้การต้อนรับบริษัทร่วมทุนจีน-ฝรั่งเศสแห่งแรกอย่างบริษัท ปักกิ่ง จงไฉ ปรินติง จำกัด (Beijing Zhongcai Printing Co., Ltd. หรือ BZP) เมื่อปี 2536 ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูรับเงินทุนและบริษัทจากฝรั่งเศสเข้ามาในปักกิ่ง อี-ทาวน์ แห่งนี้ นอกจากนี้ ในปี 2538 ยังมีการกำหนดกฎระเบียบเอาไว้กำกับดูแลเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีปักกิ่ง พร้อมสานความสัมพันธ์กับบริษัทด้านการดูแลสุขภาพของฝรั่งเศสอย่างซาโนฟี่ (Sanofi) ด้วย ต่อมาในปี 2540 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ได้เข้ามาก่อตั้งโรงงานแห่งแรกในปักกิ่งที่ปักกิ่ง อี-ทาวน์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกในบรรดาโรงงานทั้งหมดของบริษัทฯ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทฝรั่งเศสหลายแห่ง เช่น ไฮเทค แก๊สเซส ปักกิ่ง (Hi-tech Gases (Beijing) Co., Ltd.), แอร์ ลิควิด (Air Liquide), แบร์นาร์ คอนโทรลส์ (Bernard Controls), ซีเดล (Sidel) และโฟเรอเซีย (Faurecia) ต่างพากันขยายการดำเนินงานไปยังปักกิ่ง อี-ทาวน์ ตามกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก ปักกิ่ง อี-ทาวน์ เป็นพื้นที่ที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจชั้นยอดเติบโตได้ โดยนำองค์กรกว่า 90,000 แห่งจาก 62 ประเทศและภูมิภาคมารวมไว้ในที่แห่งนี้ บริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนจากต่างประเทศล้วนเห็นและมีส่วนขับเคลื่อนความก้าวหน้าของปักกิ่ง อี-ทาวน์ ซึ่งบริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนจากฝรั่งเศสก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ด้วย
ในงานเปิดตัวงานสัปดาห์ฯ บริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนจากฝรั่งเศส 9 แห่ง ซึ่งรวมถึงชไนเดอร์ อิเล็คทริค และซาโนฟี่ ได้ขึ้นคว้ารางวัลพันธมิตรผู้พัฒนาปักกิ่ง อี-ทาวน์ (Beijing E-town Development Partner) ขณะที่ผู้บริหาร 16 รายขององค์กรทุนต่างประเทศที่ดำเนินงานในปักกิ่ง อี-ทาวน์ ก็ได้รับรางวัลผู้มีถิ่นพำนักกิตติมศักดิ์ (Honorary Resident) ด้วยเช่นกัน รวมถึงคุณฌอง-ปิแอร์ ชมิตต์ (Jean-Pierre Schmitt) รองประธานฝ่ายขายของโฟเรอเซีย, คุณแอนดรูว์ แฮปเปอร์ (Andrew Happer) ประธานเอชบีพีโอ เอเชีย (HBPO Asia) และคุณดีพัวร์เตอร์ นิโคลัส (Depoorter Nicolas) รองประธานฝ่ายวิศวกรรมของบ๊อช เร็กซ์รอธ ไชน่า (Bosch Rexroth China) โดยคุณแอนดรูว์ แฮปเปอร์ ให้ความเห็นว่า "รางวัลพันธมิตรผู้พัฒนาและผู้มีถิ่นพำนักกิตติมศักดิ์สะท้อนให้เห็นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งในนี้จริง ๆ โดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เอชบีพีโอบรรลุผลสำเร็จดีเกินคาด เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ในปักกิ่ง อี-ทาวน์ เติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเราได้รับประโยชน์มากมายจากความก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงในปักกิ่ง อี-ทาวน์"
งานสัปดาห์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอุตสาหกรรมจีน-ฝรั่งเศสมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมพาสื่อมวลชนจีนและฝรั่งเศสร่วมสัมผัสความเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม (Discover the Town of Innovation) ในปักกิ่ง อี-ทาวน์ ไปจนถึงนิทรรศการจิตรกรรมเยาวชนจีนและฝรั่งเศสในธีม "เมืองน่าอยู่" (Livable Town) กิจกรรมเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและความเข้าใจร่วมกันระหว่างจีนและฝรั่งเศส โดยอาศัยศักยภาพและโอกาสอันมากมายมหาศาลจากความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในภาคอุตสาหกรรม พร้อมส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความร่วมมืออย่างมีคุณภาพ และปลดล็อกโอกาสใหม่ ๆ ในการยกระดับความร่วมมือ
นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อ 32 ปีที่แล้ว ปักกิ่ง อี-ทาวน์ ได้เปิดรับโครงการต่าง ๆ รวมแล้วถึง 157 โครงการจากบริษัทที่ติดอันดับฟอร์จูน 500 (Fortune 500) มากถึง 102 แห่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทที่ต่างชาติลงทุนทั้งสิ้น 1,273 แห่ง และในปี 2567 ปักกิ่ง อี-ทาวน์ จะยังคงใช้ระบบนโยบาย "2+X" เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ ให้บริการที่มีความก้าวล้ำเพื่อสนับสนุนการพัฒนาตลาดและความพยายามในการสรรหาบุคลากรขององค์กรทุนต่างประเทศ และส่งเสริมรูปแบบการบริการที่รวดเร็ว คล่องตัว และเหมาะสมที่สุด
ที่มา: ปักกิ่ง อี-ทาวน์
คุณฌอง-ปิแอร์ รัฟฟาแรง (Jean-Pierre Raffarin) ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการจีนประจำรัฐบาลฝรั่งเศส ได้ส่งข้อความแสดงความยินดีถึงผู้จัดงานผ่านทางวิดีโอ โดยยกให้งานนี้มีบทบาทสำคัญในความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างฝรั่งเศสกับจีน ซึ่งเขากล่าวว่าปี 2567 เป็นปีสำคัญ และมิตรภาพฝรั่งเศส-จีนก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมธรรมาภิบาลระดับโลก ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงควรทำงานร่วมกัน เพื่อกระชับความร่วมมือโดยเคารพซึ่งกันและกันและริเริ่มสิ่งต่าง ๆ ด้วยกัน
คุณจาง เฉียง (Zhang Qiang) เลขาธิการคณะทำงานประจำเขตพัฒนาเศรษฐกิจ-เทคโนโลยีปักกิ่ง เปิดเผยว่า ปักกิ่ง อี-ทาวน์ ได้บรรลุเป้าหมายสำคัญมากมายในมิตรภาพระหว่างจีนกับฝรั่งเศส ปักกิ่ง อี-ทาวน์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยได้ให้การต้อนรับบริษัทร่วมทุนจีน-ฝรั่งเศสแห่งแรกอย่างบริษัท ปักกิ่ง จงไฉ ปรินติง จำกัด (Beijing Zhongcai Printing Co., Ltd. หรือ BZP) เมื่อปี 2536 ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูรับเงินทุนและบริษัทจากฝรั่งเศสเข้ามาในปักกิ่ง อี-ทาวน์ แห่งนี้ นอกจากนี้ ในปี 2538 ยังมีการกำหนดกฎระเบียบเอาไว้กำกับดูแลเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีปักกิ่ง พร้อมสานความสัมพันธ์กับบริษัทด้านการดูแลสุขภาพของฝรั่งเศสอย่างซาโนฟี่ (Sanofi) ด้วย ต่อมาในปี 2540 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ได้เข้ามาก่อตั้งโรงงานแห่งแรกในปักกิ่งที่ปักกิ่ง อี-ทาวน์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกในบรรดาโรงงานทั้งหมดของบริษัทฯ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทฝรั่งเศสหลายแห่ง เช่น ไฮเทค แก๊สเซส ปักกิ่ง (Hi-tech Gases (Beijing) Co., Ltd.), แอร์ ลิควิด (Air Liquide), แบร์นาร์ คอนโทรลส์ (Bernard Controls), ซีเดล (Sidel) และโฟเรอเซีย (Faurecia) ต่างพากันขยายการดำเนินงานไปยังปักกิ่ง อี-ทาวน์ ตามกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก ปักกิ่ง อี-ทาวน์ เป็นพื้นที่ที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจชั้นยอดเติบโตได้ โดยนำองค์กรกว่า 90,000 แห่งจาก 62 ประเทศและภูมิภาคมารวมไว้ในที่แห่งนี้ บริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนจากต่างประเทศล้วนเห็นและมีส่วนขับเคลื่อนความก้าวหน้าของปักกิ่ง อี-ทาวน์ ซึ่งบริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนจากฝรั่งเศสก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ด้วย
ในงานเปิดตัวงานสัปดาห์ฯ บริษัทที่ได้รับทุนสนับสนุนจากฝรั่งเศส 9 แห่ง ซึ่งรวมถึงชไนเดอร์ อิเล็คทริค และซาโนฟี่ ได้ขึ้นคว้ารางวัลพันธมิตรผู้พัฒนาปักกิ่ง อี-ทาวน์ (Beijing E-town Development Partner) ขณะที่ผู้บริหาร 16 รายขององค์กรทุนต่างประเทศที่ดำเนินงานในปักกิ่ง อี-ทาวน์ ก็ได้รับรางวัลผู้มีถิ่นพำนักกิตติมศักดิ์ (Honorary Resident) ด้วยเช่นกัน รวมถึงคุณฌอง-ปิแอร์ ชมิตต์ (Jean-Pierre Schmitt) รองประธานฝ่ายขายของโฟเรอเซีย, คุณแอนดรูว์ แฮปเปอร์ (Andrew Happer) ประธานเอชบีพีโอ เอเชีย (HBPO Asia) และคุณดีพัวร์เตอร์ นิโคลัส (Depoorter Nicolas) รองประธานฝ่ายวิศวกรรมของบ๊อช เร็กซ์รอธ ไชน่า (Bosch Rexroth China) โดยคุณแอนดรูว์ แฮปเปอร์ ให้ความเห็นว่า "รางวัลพันธมิตรผู้พัฒนาและผู้มีถิ่นพำนักกิตติมศักดิ์สะท้อนให้เห็นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งในนี้จริง ๆ โดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เอชบีพีโอบรรลุผลสำเร็จดีเกินคาด เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ในปักกิ่ง อี-ทาวน์ เติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเราได้รับประโยชน์มากมายจากความก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงในปักกิ่ง อี-ทาวน์"
งานสัปดาห์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอุตสาหกรรมจีน-ฝรั่งเศสมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมพาสื่อมวลชนจีนและฝรั่งเศสร่วมสัมผัสความเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม (Discover the Town of Innovation) ในปักกิ่ง อี-ทาวน์ ไปจนถึงนิทรรศการจิตรกรรมเยาวชนจีนและฝรั่งเศสในธีม "เมืองน่าอยู่" (Livable Town) กิจกรรมเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและความเข้าใจร่วมกันระหว่างจีนและฝรั่งเศส โดยอาศัยศักยภาพและโอกาสอันมากมายมหาศาลจากความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในภาคอุตสาหกรรม พร้อมส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความร่วมมืออย่างมีคุณภาพ และปลดล็อกโอกาสใหม่ ๆ ในการยกระดับความร่วมมือ
นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อ 32 ปีที่แล้ว ปักกิ่ง อี-ทาวน์ ได้เปิดรับโครงการต่าง ๆ รวมแล้วถึง 157 โครงการจากบริษัทที่ติดอันดับฟอร์จูน 500 (Fortune 500) มากถึง 102 แห่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทที่ต่างชาติลงทุนทั้งสิ้น 1,273 แห่ง และในปี 2567 ปักกิ่ง อี-ทาวน์ จะยังคงใช้ระบบนโยบาย "2+X" เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ ให้บริการที่มีความก้าวล้ำเพื่อสนับสนุนการพัฒนาตลาดและความพยายามในการสรรหาบุคลากรขององค์กรทุนต่างประเทศ และส่งเสริมรูปแบบการบริการที่รวดเร็ว คล่องตัว และเหมาะสมที่สุด
ที่มา: ปักกิ่ง อี-ทาวน์
No comments:
Post a Comment