คณะกรรมการบริหารจัดการเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา ปักกิ่ง อี-ทาวน์ (Beijing E-Town) ได้จัดการประชุมส่งเสริมนวัตกรรมเมืองเอไอ (AI Town Innovation Conference) ขึ้นที่อุทยานอุตสาหกรรมแห่งชาติว่าด้วยการประยุกต์ใช้และคิดค้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้มีการเปิดเผยแผนการพัฒนาของปักกิ่ง อี-ทาวน์ เพื่อปั้นตนเองให้เป็นเมืองเอไอ
การประชุมดังกล่าวจัดโดยคณะกรรมการบริหารจัดการเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีปักกิ่ง และได้มีการเผยแพร่สถานการณ์และผลลัพธ์จากการนำเอไอไปใช้ในอี-ทาวน์ รวม 10 รายการ พร้อมเปิดตัวแพลตฟอร์มบริการโมเดลขนาดใหญ่ด้านกิจการรัฐบาลอี้จื๋อ นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวสถาบันสถานการณ์การประยุกต์ใช้เอไอปักกิ่ง (BAIASI) และแพลตฟอร์มเร่งอุตสาหกรรมเอไอของปักกิ่ง (BAINIAP) ด้วย
ปักกิ่ง อี-ทาวน์ มุ่งสร้างตัวเองให้เป็นเมืองเอไอ โดยผลักดันการบูรณาการเทคโนโลยีเอไอเข้ากับการพัฒนาอี-ทาวน์อย่างล้ำลึก พร้อมยกระดับและเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม ทางเมืองได้พยายามนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในสถานการณ์จริง สร้างแพลตฟอร์มทดสอบวิศวกรรมเอไอระดับเมือง และสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนากับความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้สำรวจกลไกในการนำเอไอไปยกระดับการผลิตและวิถีชีวิต บุกเบิกการทดลองในอุตสาหกรรมพิเศษ ตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูง และส่วนงานที่ใช้แรงงานในลักษณะซ้ำ ๆ ตลอดจนกระตุ้นการบ่มเพาะ การประยุกต์ใช้ และการเสริมพลังของเทคโนโลยีเอไอทั่วทั้งเขตนี้
ปักกิ่ง อี-ทาวน์ รับหน้าที่เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาเมืองหลวงอย่างมีคุณภาพ เป็นเสาหลักประจำเศรษฐกิจของเมืองหลวง และสถานที่ชั้นนำสำหรับภาคเทคโนโลยีระดับไฮเอนด์ที่มีความซับซ้อนและล้ำสมัย โดยมีหน่วยธุรกิจเกือบ 100,000 แห่ง และดึงดูดโครงการต่าง ๆ ได้ถึง 157 โครงการที่ลงทุนโดยบริษัทระดับ 500 อันดับแรกของโลกรวม 102 แห่ง ครอบคลุมสถานการณ์อุตสาหกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชีวเวชภัณฑ์ การผลิตรถยนต์ พื้นที่เชิงพาณิชย์ และการผลิตอัจฉริยะ ปักกิ่ง อี-ทาวน์ รวบรวมข้อมูลคุณภาพสูงที่หลากหลายในสาขาต่าง ๆ ทำให้มีข้อได้เปรียบที่โดดเด่นในการประยุกต์ใช้เอไอ ทำหน้าที่เป็นสนามทดสอบที่ดีที่สุดสำหรับโมเดลเอไอขนาดใหญ่และโมเดลอุตสาหกรรมต่าง ๆ
อี-ทาวน์ ได้คัดเลือกสถานการณ์การประยุกต์ใช้เอไอชุดแรกรวม 10 สาขาด้วยกัน ได้แก่ การแพทย์และการดูแลสุขภาพ การขนส่งและการเดินทาง ห้องโดยสารรถยนต์ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ การค้าปลีกแบบใหม่ บริการภาครัฐ การออกแบบอุตสาหกรรม การวิจัยและพัฒนายา การอนุรักษ์พลังงานและการลดคาร์บอน ตลอดจนข่าวและสื่อ ซึ่งได้มีการนำสถานการณ์เอไอบวกกับการแพทย์และการดูแลสุขภาพมาใช้ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมเอไอทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ทางอี-ทาวน์ ได้ร่วมมือกับสถาบันทรงอิทธิพล เพื่อสร้างเขตข้อมูลสุขภาพคุณภาพสูงเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรค โดยสถาบันสาธารณสุขทั่วทั้งเขตนี้ได้พลิกโฉมเป็นไซต์นำร่องทางการแพทย์อัจฉริยะ เพื่อสนับสนุนองค์กรโมเดลขนาดใหญ่ในการคัดกรองโซลูชันคุณภาพในด้านการคัดแยกอัจฉริยะ การวินิจฉัยและรักษาเสริม และแพทย์ดิจิทัล
ตัวแทนจากคณะกรรมการบริหารจัดการเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีปักกิ่ง ได้ออกประกาศเชิญชวนว่า "เรายินดีต้อนรับหน่วยงานด้านนวัตกรรมที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องชิปเอไอ โมเดลพื้นฐานขนาดใหญ่ แนวทางนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม และการกำกับดูแลข้อมูล เพื่อช่วยพัฒนาแบบอย่างในการนำเอไอไปใช้ในปักกิ่ง อี-ทาวน์" และยินดีเปิดรับความร่วมมือจากองค์กรทั่วโลกในช่วงเปิดตัว โดยหวังว่าสถานการณ์การประยุกต์ใช้ 10 อันดับนี้จะก่อให้เกิดโซลูชันอี-ทาวน์ที่ทั้งล้ำหน้าและนำไปทำซ้ำได้ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองเอไอแห่งนี้
ส่วนการเปิดตัว BAIASI และ BAINIAP ได้เข้ามาช่วยเร่งการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมเอไอและการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสำคัญ เขตการพัฒนาแห่งนี้ยังจะให้การสนับสนุนอย่างรอบด้านแก่องค์กรและบุคลากรด้านเอไอ จัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน กองทุนอุตสาหกรรม และกองทุนพิเศษมูลค่า 1 หมื่นล้านหยวน และสร้างแพลตฟอร์มการลงทุนครอบคลุมทั้งห่วงโซ่สำหรับธุรกิจตลอดวงจรการเติบโต
อี้จื๋อ (Yizhi) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริการโมเดลขนาดใหญ่ด้านกิจการภาครัฐแห่งแรกของเมืองนี้ ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว แพลตฟอร์มนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลแบบใหม่ของปักกิ่ง อี-ทาวน์ ที่ใช้สถาปัตยกรรมล้ำสมัย ประกอบด้วยหนึ่งพอร์ทัลหลัก ศูนย์สามแห่ง และกลไกสามส่วน โดยมีฟังก์ชันการจัดการแบบหลายโมเดล การดำเนินการฐานความรู้ การทำงานร่วมกันของระบบต่าง ๆ การกำกับดูแลแบบครบวงจร การปรับแต่งฟังก์ชันอย่างยืดหยุ่น และการปรับแต่งให้สอดรับกับท้องถิ่น อี้จื๋อได้ช่วยสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ของอี-ทาวน์ ในการนำเทคโนโลยีโมเดลขนาดใหญ่ไปใช้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยขณะนี้ได้นำไปใช้งานจริงแล้วใน 8 สถานการณ์ย่อยด้วยกัน
ที่มา: คณะกรรมการบริหารจัดการเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีปักกิ่ง
No comments:
Post a Comment