"วันน้ำโลก (The World Water Day) ในวันที่ 22 มี.ค.นี้ เป็นโอกาสที่จะทำให้สถาบันการเงินต่างๆได้เปิดตัวเครื่องมือใหม่ๆเพื่อนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานข้ามพรมแดน และยังทำให้คณะผู้วางแผนของกองทัพได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์น้ำเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายได้" นายซันดีพ วาสเลการ์ ประธาน Strategic Foresight Group ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการนักวิจัยระหว่างประเทศที่เมืองมุมไบ กล่าว
Strategic Foresight Group ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการระดับสูงด้านน้ำและสันติภาพทั่วโลก ซึ่งมี 15 ประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยมีนายดานิโล เติร์ก อดีตประธานาธิบดีสโลวีเนีย เป็นประธานคณะกรรมการ ทางคณะกรรมการ ได้นำเสนอมาตรการต่างๆ เพื่อที่จะใช้ทรัพยากรน้ำในการลดความเสี่ยงจากสงคราม และสกัดกั้นการก่อการร้าย รวมทั้งสร้างเครื่องมือทางการเงินแบบพิเศษเพื่อโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับน้ำแบบข้ามพรมแดน และดึงผู้นำระดับสูงของรัฐบาลให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ
คณะกรรมการระดับสูงทั่วโลกแนะนำให้ใช้หลักการความยั่งยืนกับการบริหารจัดการน้ำแบบข้ามพรมแดน รวมทั้งเสนอให้มีแผนการลงทุนร่วมกัน และการระดมทุนแบบพิเศษที่ได้รับการยินยอมร่วมกันสำหรับโครงการความร่วมมือขององค์กรทางการเงินระดับพหุภาคี นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้แนะนำให้จัดตั้งกองทุน Blue Fund เพื่ออุดหนุนต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นดอกเบี้ย ค่าเบี้ยประกัน และค่าบริหารโครงสร้างพื้นฐานน้ำแบบร่วมมือกัน
แหล่งเงินทุนแบบดั้งเดิมที่สนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานระดับประเทศในแม่น้ำที่มีการใช้งานร่วมกันนั้น ซึ่งมักจะส่งผลให้เกิดข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านและยังทำให้ต้นทุนพุ่งสูงขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดอุปสรรคที่กีดขวางตลาด ดังนั้น คณะกรรมการจึงเสนอแนะเครื่องมือและการดำเนินการทางการเงินใหม่ๆ เพื่อรวมเงินทุนของภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกันและนำไปใช้กับโครงการความร่วมมือต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้า ระบบชลประทาน เส้นทางการสำรวจ และสวนระบบนิเวศ
ข้อเสนอแนะดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากผลวิจัยล่าสุดในรายงานอีกฉบับของ Strategic Foresight Group ดังนี้ The Water Cooperation Quotient ซึ่งทำหน้าที่ในการวัดคุณภาพของความสัมพันธ์ในแม่น้ำที่ได้มีการใช้งานร่วมกัน 286 สาย จาก 146 ประเทศ ผลสำรวจดังกล่าวพบว่า ความร่วมมือด้านน้ำอย่างแข็งขันระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำช่วยลดความเสี่ยงจากสงคราม โดยมีข้อมูลหลักฐานล่าสุดคือการทำข้อตกลงเรื่องเขื่อนโรกัน (Rogun Dam) ระหว่างทาจีกิสถาน และอุซเบกิสถานเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2561 ซึ่งทำให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อกันที่เกิดขึ้นมาร่วม 20 ปีนั้น ได้ยุติลง
The Water Cooperation Quotient ยังเป็นเครื่องมือให้ประเทศต่างๆที่ใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกันได้สร้างความเป็นพันธมิตรในรูปแบบที่เป็นขั้นตอน ในบรรดาแม่น้ำที่มีการใช้งานร่วมกัน 286 สายนั้น มีความร่วมมือด้านน้ำอย่างแข็งขันแล้วในแม่น้ำ 91 สาย ขณะที่มีแม่น้ำ 55 สายที่ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ หรือไม่ก็อยู่ในพื้นที่ห่างไกลในด้านกายภาพ อย่างไรก็ดี ยังมีโอกาสอย่างมากที่จะปรับปรุงความร่วมมือแบบข้ามพรมแดนในบริเวณแม่น้ำอีก 140 สายที่เหลือ ด้วยการริเริ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเทคนิคกัน ประเทศเหล่านี้จึงสามารถขยายความร่วมมืออย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อที่จะทำให้ผู้นำทางการเมืองสามารถเจรจาแลกเปลี่ยนกันในเรื่องน้ำและสินค้าสาธารณะได้ เช่น อิรักและตุรกีได้ทำข้อตกลงเพื่อสร้างเขื่อนมิตรภาพ 3 แห่งบนแม่น้ำไทกริสท่ามกลางข้อพิพาทที่รุนแรงในตะวันออกกลาง สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ก็เพราะการเจรจาโดยตรงระหว่างนายอัล อาบาดี นายกรัฐมนตรีอิรัก และนายเออร์โดกัน ประธานาธิบดีตุรกี
ความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำสามารถช่วยควบคุมการก่อการร้ายได้ด้วยเช่นกัน รายงานหลายฉบับระบุว่า ในเดือนพ.ค.ปีที่แล้ว กลุ่มพันธมิตรกองทัพสากลได้เข้ายึดเขื่อนทับคาในซีเรีย ซึ่งกลุ่มไอซิสได้ใช้เขื่อนดังกล่าวเป็นที่หลบซ่อนผู้นำของกลุ่ม และใช้เป็นคุกขังตัวประกันที่มีค่าตัวสูง แต่หลังจากที่สูญเสียทรัพย์สินที่สำคัญเชิงยุทธศาสตร์แห่งนี้ไป กลุ่มไอซิสก็ยินยอมรามือด้วยระยะเวลาเพียงสามเดือน ความร่วมมือระดับภูมิภาคยังทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะประกาศหยุดยิงในพื้นที่ที่ใช้แหล่งน้ำเป็นฐานเพื่อปกป้องเขื่อนและทรัพย์สินอื่นๆในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงและการก่อการร้าย แต่การออกมาตรการเหล่านี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะต้องผ่านมติที่จะประกาศให้น้ำเป็นทรัพย์สินแห่งมนุษยชาติที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เสียก่อน
นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติเพิ่งได้รับรายงานของ คณะกรรมการระดับสูง ด้านน้ำและทั่วโลก และ Water Cooperation Quotient โดยเลขาฯยูเอ็นได้ระบุว่า "น้ำสามารถเชื่อมโยงสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้"
No comments:
Post a Comment