Friday, October 26, 2018

สภาประกันอาเซียนชวนบริษัทประกันช่วยภาครัฐสนับสนุนเงินทุนการพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียนอย่างยั่งยืน

          สภาประกันอาเซียน (AIC) ซึ่งเป็นองค์กรระดับภูมิภาคสำหรับธุรกิจประกันภัยในอาเซียน ได้ประกาศพันธกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อเชิญชวนให้บริษัทประกันระดับชั้นนำทุกบริษัทลงมือดำเนินการอย่างแท้จริง เพื่อเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของอินโดนีเซียในการประชุมประจำปี 2561 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) – กลุ่มธนาคารโลก (WBG) ที่เกาะบาหลี เมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา ในฐานะปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเชื่อมโยงระดับภูมิภาคในอาเซียน ปฏิญญาพันธะสัญญาฉบับนี้จึงเป็นการแสดงเจตนารมณ์ครั้งสำคัญสำหรับบริษัทประกันต่างๆ เนื่องจากหลังการออกปฏิญญาฉบับนี้ บริษัทประกันชั้นนำอย่าง WanaArtha Life, AIA, Allianz Life และ Taspen ได้ลงทุน 224 ล้านดอลลาร์ในบริษัท Jasa Marga ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด่วนของรัฐบาล ผ่านทาง PT. Mandiri Manajemen Investasi

          ก่อนถึงพิธีลงนามครั้งนี้ AIC ได้เข้าร่วมใน SDG Indonesia One ซึ่งริเริ่มขึ้นโดยกระทรวงการคลังอินโดนีเซียด้วยความร่วมมือกับ PT Sarana Multi Infrastruktur (SMI) ซึ่งเป็นบริษัทของรัฐบาล และในระหว่างการประชุมประจำปี 2018 ของ IMF-WBG ทาง AIC ยังทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงในงานสัมมนาเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในการหาเงินทุนสนับสนุน โดยได้ประกาศเจตนารมณ์เพื่อส่งเสริมให้บริษัทประกันลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น

          "ธุรกิจประกันชีวิตในอาเซียนบริหารจัดการสินทรัพย์มูลค่า 4.38 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อเบี้ยประกันปรับตัวเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี คาดว่า มูลค่าสินทรัพย์ดังกล่าวจะกระจายไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพียง 2% แต่ถ้าธุรกิจประกันชีวิตมีความมุ่งมั่นต่อการเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์ที่จะถูกจัดสรรไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินการดังกล่าวก็จะกลายเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญสำหรับช่องว่างของการระดมทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียน" คุณเอเวลินา เอฟ.พีทรูชกา เลขาธิการของ AIC กล่าว

          ประเทศในอาเซียนกำลังส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานในเชิงรุกอย่างมาก เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงในอาเซียน อย่างไรก็ดี การระดมทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีช่องว่างอย่างเห็นได้ชัด จากข้อมูลในปี 2559 ของ HSBC ระบุว่า มีการคาดการณ์ว่า อาเซียนจะมีช่องว่างด้านโครงสร้างพื้นฐานคิดเป็นมูลค่า 1.153 ล้านล้านดอลลาร์ มีเพียงสิงคโปร์ที่มีเงินส่วนเกินอยู่ 27 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อีกหลายประเทศ อาทิ มาเลเซียจะขาดแคลนเงินทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่ 42 ล้านดอลลาร์, ไทย 86 ล้านดอลลาร์, เวียดนาม 160 ล้านดอลลาร์, ฟิลิปปินส์ 171 ล้านดอลลาร์ และอินโดนีเซีย 721 ล้านดอลลาร์

          อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน กำลังต้องการเงินทุนกว่า 1.50 แสนล้านดอลลาร์ จาก 3.27 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2562 เพื่อนำมาช่วยพัฒนางานโยธาสาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐาน" นั่นเป็นเงินจำนวนมหาศาลที่รัฐบาลต้องจัดหามา พวกเขาจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญโดยตรงมากขึ้นกับการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ผ่านนักลงทุนสถาบันระยะยาว อาทิ ภาคประกันภัย" คุณเอเวลินา กล่าว

          ความพยายามดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า โครงการเงินทุนแบบผสม หรือการรวมเงินทุนของภาครัฐและเอกชนเพื่อเร่งส่งเม็ดเงินทุนจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐโดยง่ายขึ้นนั้น เป็นทางออกที่มีโอกาสที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานของอินโดนีเซียได้ "เราต้องจัดทำกฎระเบียบเพื่อช่วยส่งเสริมการให้สนับสนุนด้านเงินทุนแบบผสมสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน เพราะเงินทุนสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานของอินโดนีเซียที่มาจากรัฐบาลนั้น มีอยู่เพียง 25%" คุณเอเวลินา กล่าว

          AIC ได้เข้าร่วมงานประชุมนานาชาติหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง อาทิ Asia-Pacific Financial Forum (APFF) และ World Economic Forum (WEF) เพื่อสร้างอิทธิพลต่อภาคประกันทั่วภูมิภาคอาเซียน และหลังพิธีนี้ AIC จะจัดการประชุมสุดยอด ASEAN Insurance Summit 2018 ครั้งที่ 3 ที่ Sasana Kijang, ธนาคารกลางมาเลเซียในวันที่ 28 พ.ย.นี้

          เกี่ยวกับสภาประกันอาเซียน (AIC)

          AIC เป็นองค์กรภายใต้อาเซียนที่ให้ความสำคัญกับธุรกิจประกันเป็นหลัก และประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับประกัน โดยก่อตั้งขึ้นในรูปแบบของ PPP ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาคเอกชน และทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับผู้ควบคุมกฎระเบียบด้านประกันในอาเซียน และหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ AIC ก่อตั้งขึ้นในระหว่างการประชุมอาเซียนเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2521 ที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งสมาชิก AIC ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดในขณะนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาธุรกิจประกันภายในอาเซียน ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มบริษัทประกันในอาเซียน

          สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.aseaninsurance.org/
          สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชมสุดยอดASEAN Insurance Summit ครั้งที่ 3 ได้ที่ http://aseaninsurancesummit.com/



No comments:

Post a Comment