การประชุม Mobile World Congress (MWC) Barcelona 2020 ได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรั สโควิด-19 อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ดังกล่าว หัวเว่ยจึงได้จัดการประชุมระดั บโลก Industrial Digital Transformation Conference ผ่านการถ่ายทอดสดทางออนไลน์ โดยได้เชิญแขกผู้มีเกียรติจากทั่ วโลกซึ่งรวมถึง สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และอิตาลีเข้าร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "Hi, Intelligent World" เพื่อเผย 5 แนวโน้มหลักที่จะนำไปสู่การสร้ างโลกอัจฉริยะในช่วงเวลา 10 ปีจากนี้ รวมทั้งนำเสนอการสร้างรากฐานที่ พัฒนาต่อยอดขึ้นจากการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศรูปแบบใหม่ ซึ่งรากฐานดังกล่าวจะสนับสนุ นการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมือง การผลิต พลังงาน การเงิน การขนส่ง และอีกมากมาย โดยได้รับเกียรติ จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มบริษัทท่าอากาศยานเซินเจิ้ น และลูกค้ารายอื่น ๆ ของหัวเว่ย มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึ กและประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่ านสู่ดิจิทัล
ในอนาคต การไหลของสารสนเทศโดยเทคโนโลยี ICT รูปแบบใหม่ ๆ เช่น 5G, AI และ IoT จะช่วยให้เราสร้างรากฐานซึ่งเป็ นจุดกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง กล่าวคือ โลกในปี 2030 จะเป็นโลกอัจฉริยะ และ ณ จุดเริ่มต้นของทศวรรษใหม่นี้ หัวเว่ยเชื่อว่าโลกอัจฉริยะ 2030 จะประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ ได้แก่:
1. ในระดับรัฐบาล รัฐบาลดิจิทัลที่มีประชาชนเป็ นศูนย์กลาง จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ตอบรับกั บชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนมากยิ่งขึ้น
2. ในระดับเศรษฐกิจ หุ่นยนต์อัจฉริยะจะเป็นส่วนที่ สำคัญอย่างยิ่งของกำลั งแรงงานในอนาคต
3. ในระดับสังคม เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยให้ การกระจายการศึกษา บริการสุขภาพ และทรัพยากรสาธารณะอื่น ๆ เป็นไปอย่างเสมอภาคและเหมาะสม เพื่อบรรลุเป้าหมายความเท่าเที ยมทางดิจิทัล
4. จากมุมมองทางวัฒนธรรม ประชาชนจะเป็นอิสระจากการใช้ แรงงานหนักและงานที่ซ้ำซากน่ าเบื่อหน่าย และจะหันไปให้ความสำคัญกับสิ่ งที่มีคุณค่าทางจิตใจมากกว่าคุ ณค่าทางวัตถุ
5. จากมุมมองทางสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ หลากหลายจะช่วยให้ เราตรวจสอบและควบคุมการปล่อยก๊ าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะเป็นการช่วยปกป้องคุ้ มครองโลก
หม่า เยว่ รองประธานกลุ่มธุรกิจเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย
หม่า เยว่ รองประธานกลุ่มธุรกิจเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย แสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ว่า "ในช่วงทศวรรษหน้า เราจะได้เห็นการพัฒนา ICT รูปแบบใหม่อย่างรวดเร็ว หัวเว่ยเชื่อว่าการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศใหม่จะสร้ างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรั บโลกอัจฉริยะในปี 2030 การสร้างเครือข่ายความเร็วสู งระดับ ultra-broadband โดยใช้ 5G, Wi-Fi 6 และการสื่อสารควอนตัม จะเป็นสะพานเชื่ อมโลกกายภาพและโลกดิจิทัลเข้าด้ วยกัน ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานสำหรั บโลกอัจฉริยะ"
นายหม่ากล่าวต่อไปว่า " ระบบประมวลผลแบบใหม่ จะนำเสนอโซลูชันแบบฟูลสแตกสำหรั บทุกสถานการณ์ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ชิปในระดับ bottom-layer chips ตลอดจนถึงอัลกอริทึมในระดับ upper-layer อีกทั้งครอบคลุมตั้งแต่ผู้บริ โภคไปจนถึงธุรกิจ ซึ่งถือเป็นแกนหลักของการเปลี่ ยนผ่านสู่โลกอัจฉริยะ ส่วนแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ ผสมผสานและแบ่งปันกันนั้น จะมีประสิทธิภาพสูงและเปิดกว้าง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถมุ่งเน้ นไปที่ความได้เปรียบหรือจุดแข็ งของตนเอง รวมไปถึงนวัตกรรมการบริการ แพลตฟอร์มแบบใหม่จึงนับว่ามี บทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุ ตสาหกรรมต่าง ๆ ขณะที่ระบบนิเวศใหม่นั้น พัฒนาขึ้นโดยอิงจากกลยุทธ์ สถาปัตยกรรม นโยบาย และการดำเนินงาน (Strategy, Architecture, Policy, and Operations (SAPO)) ขององค์กรธุรกิจเป็นหลัก เพื่อนำเสนอความเชี่ยวชาญรอบด้ านที่รวมและบูรณาการทักษะต่าง ๆ เข้าด้วยกันในเชิงลึก พร้อมนำไปสู่การส่งมอบโซลูชันธุ รกิจที่ครอบคลุมและมีลูกค้าเป็ นศูนย์กลาง"
โลกอัจฉริยะ 2030 สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็ นต้องปฏิรูปอุตสาหกรรมให้เป็นดิ จิทัลในทุกแง่มุม หัวเว่ยสั่งสมประสบการณ์อย่ างกว้างขวางในการช่วยให้รั ฐบาลและภาคอุตสาหกรรม อาทิ การขนส่ง การเงิน และพลังงานไฟฟ้า ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่ านสู่ดิจิทัลทั้งปัจจุบั นและอนาคต ผ่านทางการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศรูปแบบใหม่ ปัจจุบัน เมืองต่าง ๆ มากกว่า 700 เมืองทั่วโลก และบริษัท 228 แห่งในทำเนียบ Fortune Global 500 ซึ่งรวมถึง 58 บริษัทใน Fortune Global 100 ต่างเลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิ ตรในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
ดร. อาลาดิน ดี ริลโล รองเลขาธิการอาเซียนด้ านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กล่าวว่า:
"เศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซี ยนทะยานขึ้นแตะ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้ งแรกในปี 2019 และคาดว่าจะเติบโตขึ้นเป็นกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 สำหรับรัฐบาล ธุรกิจ และสังคม การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลไม่ใช่ ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นแนวทางที่จำเป็นต่ อการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กั บเศรษฐกิจและธุรกิจ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการเปลี่ ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอาเซียนต่อไป ปัจจุบันจึงได้มีการผลักดั นแผนริเริ่มใหม่ ๆ เช่น การพัฒนาระบบนิเวศ 5G กรอบการทำงานเกี่ยวกับบริ การโรมมิ่งระหว่างประเทศ การผลิตอัจฉริยะ และเครือข่ายนวัตกรรมอาเซียน แต่การที่จะประสบความสำเร็จได้ นั้น เรายังต้องการการสนับสนุ นจากภาคเอกชนและผู้เล่ นในตลาดอย่าง หัวเว่ย เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เป็นมิ ตรต่อการพัฒนานวัตกรรม และรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ big idea และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล"
จาง หลี่เสวียน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายดิจิทัล กลุ่มบริษัทท่าอากาศยานเซินเจิ้ น (SAG) พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการที่ SAG พลิกโฉมสู่ดิจิทัลและสร้ างสนามบินอัจฉริยะ การพลิกโฉมสนามบินสู่ความเป็นดิ จิทัลเป็นโครงการที่ซับซ้อน แต่ด้วยวิสัยทัศน์ "One Airport, One Dream" ทาง SAG จึงคิดค้นแนวทางที่เป็ นระบบในการสร้างสนามบินดิจิทั ลเต็มรูปแบบพร้อมมอบประสบการณ์ การใช้บริการที่โดดเด่น กลุ่มบริษัทเลือกหัวเว่ยเป็นพั นธมิตรทางธุรกิจในการพลิกโฉมสู่ ความเป็นดิจิทัล ผ่านการใช้แพลตฟอร์ม Huawei Horizon Digital Platform ที่มีการทำงานร่วมกั นของคลาวด์และเครือข่าย
แพลตฟอร์มดังกล่าวผนวกรวมทรั พยากรด้าน ICT ทั้ง 6 รูปแบบ ได้แก่ IoT, big data, AI, video cloud, GIS และ ICP เพื่อสร้างระบบบริการที่ครอบคลุ ม 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ความปลอดภัย การควบคุมการปฏิบัติงาน บริการ และการจัดการ โดยการบูรณาการการดำเนินงานด้ านต่าง ๆ ของสนามบินแบบมุมมองเดียวได้สร้ างประโยชน์มากมาย เช่น เพิ่มความตรงต่อเวลาของเที่ยวบิ นเป็น 87% การจัดแถวอัจฉริยะเสร็จเรียบร้ อยภายในไม่กี่วินาที และการลดจำนวนผู้โดยสารรถรับส่ง 4 ล้านคนต่อปี ทั้งหมดนี้ทำให้สนามบินเซินเจิ้ นกลายเป็นองค์กรแรกของโลกที่ เผยแพร่กรณีศึกษาการใช้ งานบนแพลตฟอร์ม New Experience in Travel and Technologies (NEXTT) ขณะที่ในส่วนของมุมมองด้ านความปลอดภัยนั้น ระบบใหม่นี้จะมอบการควบคุมอั จฉริยะและแม่นยำมากขึ้นสำหรั บอาคารผู้โดยสาร ลานบิน พื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ขนถ่ายสินค้า อีกทั้งโซลูชั่นจดจำใบหน้ายั งปรับปรุงประสิทธิ ภาพการตรวจสอบความปลอดภัยเพิ่ มขึ้น 60% ลดความเสี่ยงกรณีที่บัตรประจำตั วประชาชนของผู้โดยสารสู ญหายจากการนำออกมาตรวจสอบ และตอบสนองความต้องการที่แตกต่ างกันของผู้โดยสารชั้นธุรกิจ
เฉิน คุนเต๋อ อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ ายสารสนเทศของธนาคารไชน่า เมอร์แชนท์ แบงก์ และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Chief Digital Transformation Officer ฝ่ายบริการทางการเงินระดับโลก กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหั วเว่ย กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงครั้ งใหญ่ในอุตสาหกรรมธนาคารของจี นว่า ในอนาคต "แอป" จะกลายเป็นระบบนิเวศทีผนวกรวมลู กค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กร และทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์ มเทคโนโลยีที่นำบริ การของธนาคารเข้าสู่โลกดิจิทัล แนวคิดเดิมของการพลิ กโฉมธนาคารสู่ความเป็นดิจิทัลนั้ น เป็นเรื่องของการเปลี่ยนผ่ านทางเทคโนโลยีเพื่อแทนที่ ระบบการใช้งานหลัก ๆ เท่านั้น อย่างไรก็ดี เขาเชื่อว่าการพลิกโฉมสู่ดิจิทั ลที่แท้จริงเป็นกระบวนการที่ ผนวกรวมทีมไอทีและทีมธุรกิจเข้ าด้วยกัน และการดำเนินการไปทีละขั้ นตอนอย่างรวดเร็ว การทำซ้ำวนไปวนมาอย่างรวดเร็ว และความว่องไวของเทคโนโลยี จะทำให้ธุรกิจเกิดความคล่องตัว
ในอนาคต 5G จะขับเคลื่อนการพัฒนาที่สำคั ญในแง่ของขีดความสามารถของแอป ซึ่งจะช่วยนำบริการของธนาคารเข้ าสู่โลกดิจิทัล ช่วยให้สาขาและผู้จัดการบัญชี สร้างความผูกพันกับลูกค้ารายย่ อยและลูกค้าองค์กรได้อย่างสม่ำ เสมอมากขึ้น เขายกตัวอย่างกรณีของไชน่า เมอร์แชนท์ แบงก์ ว่า ธนาคารได้สร้างแพลตฟอร์มมือถื อและคลาวด์ส่วนตัว และเปิดฟังก์ชั่นรับฝากหรื อโฮสต์ เพื่อจัดการกับอุปกรณ์และผู้ใช้ งาน ตลอดจนควบคุมความปลอดภัยของเครื อข่ายมือถือ นอกจากนี้ ยังสร้างแพลตฟอร์มบิ๊กดาต้าที่ มีสถาปัตยกรรมแยกออกจากกัน รวมทั้งนำ AI และแมชชีนเลิร์นนิงมาใช้กับทั้ งห่วงโซ่ธุรกิจ เพื่อยกระดับการควบคุมความเสี่ ยงด้านเครดิต นอกจากนี้ ยังใช้คลาวด์สำหรับการทำธุ รกรรมทางการเงิน และย้ายแอปพลิเคชันจากโฮสต์ไปสู่ คลาวด์ ซึ่งช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ ของลูกค้า และสนับสนุนนวัตกรรมการบริการที่ ต่อเนื่อง
หลิว เจียนหมิง ผู้อำนวยการคณะกรรมการผู้เชี่ ยวชาญด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์ สมาร์ทกริด (Smart Grid Technology and Equipment) ประจำศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาอุ ตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศ (MIIT) ของจีน เชื่อว่า ระบบพลั งงานในอนาคตจะหลอมรวมเทคโนโลยี ดิจิทัลเข้ากับพลังงานดั้งเดิ มได้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทั ลในภาคพลังงานไฟฟ้ายังคงขยายตั วอย่างต่อเนื่อง ระบบพลังงานในอนาคตจึงจะเปลี่ ยนแปลงไปสู่ "การเชื่อมต่อสากล การโต้ตอบอัจฉริยะ ความยืดหยุ่นสูง ตลอดจนการควบคุมและความปลอดภั ยที่มั่นคง"
ขณะเดียวกัน คุณหลิวยังเล่าถึงการดำเนิ นการในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทั ลของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้ าของจีนอีกหลายกรณี โดยในปี 2019 ทาง Qinhai Green Energy Cloud Network Control Platform and Big Data Center ได้สนับสนุนให้มณฑลชิงไห่ของจี นใช้พลังงานสะอาด 100% ติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน และเมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับบริ การขนส่งและการส่งไฟฟ้า เทคโนโลยี AI ยังได้ช่วยยกระดับประสิทธิ ภาพของการตรวจสอบ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถอัจฉริ ยะของการค้นหาอุปกรณ์ได้มากถึง 90% ปัจจุบัน ICT ได้เข้ามาสนับสนุนการดำเนิ นงานรายวันของโครงสร้างพื้ นฐานการชาร์จไฟสาธารณะ ซึ่งรองรับการให้บริการรถยนต์ ไฟฟ้ามากกว่า 500,000 คันในประเทศจีน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 6.18 ล้านคันภายในสิ้นปีนี้
ท่ามกลางการระบาดของไวรั สโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ดึงดู ดความสนใจจากทั่วโลก บริษัทสเตท กริด คอร์ปอเรชั่น ออฟ ไชน่า (SGCC) สาขามณฑลเจ้อเจียง มณฑลเจียงซู และมณฑลเสฉวน ได้วิเคราะห์ดัชนีการใช้พลั งงานไฟฟ้าของธุรกิจที่เริ่มกลั บมาเปิดดำเนินงาน โดยอาศัยบิ๊กดาต้าจากโครงข่ ายไฟฟ้า ซึ่งการวิเคราะห์ดัชนีดังกล่ าวช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรั ฐบาลท้องถิ่นเห็นถึ งภาพรวมของการกลับมาเปิดดำเนิ นการผลิตของภาคธุรกิจ
เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีส่ วนร่วมในการพัฒนายุคอัจฉริยะที่ น่าทึ่งนี้ กลยุทธ์ "Platform + AI + Ecosystem" ของกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย มุ่งเน้นความร่วมมือกับพันธมิ ตรในอีโคซิสเต็ม รัฐบาลและองค์กร เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรั บโลกอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่อ การประมวลผล แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศรูปแบบใหม่ ตลอดจนเพื่อนำทางสู่ยุคอัจฉริ ยะที่สดใส
รับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกั บงานประชุม Huawei Industrial Digital Transformation Conference ได้ที่: https://e.huawei.com/ topic/mwc2020/en/index.html? ic_medium=hwdc&ic_source=ebg_ EEBGHQ205001G&source=ebg_ banner&ic_content=mwc2020_cn
No comments:
Post a Comment