Favipiravir เป็นยาต้านไวรัสชนิดออกฤทธิ์กว้างที่ยับยั้ง RNA-dependent RNA polymeras ของไวรัส RNA และมีประสิทธิภาพต้านไวรัส RNA หลากหลายชนิด เช่น อีโบลา ไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 นอกจากนี้ ยังไม่พบอาการไม่พึงประสงค์จาการใช้ยาดังกล่าวนับตั้งแต่ที่ออกสู่ตลาด ยา Favipiravir ไม่เหมือนกับยาต้านไวรัสแบบดั้งเดิม เนื่องจากสามารถป้องกันไวรัสโดยตรงจากการแบ่งตัวในเซลล์ ด้วยกลไกของการออกฤทธิ์ที่คล้ายกับ Remdesivir
ยาต้านไวรัส Favipiravir เดิมทีถูกพัฒนาขึ้นโดย Toyama Chemical Co., Ltd. และได้รับการอนุมัติให้เป็นคลังเวชภัณฑ์เชิงยุทธศาสตร์ในญี่ปุ่น ต่อมาในปี 2559 บริษัท Zhejiang Hisun Pharmaceutical Co., Ltd. (HISUN) ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรของยา Favipiravir ซึ่งบริษัทก็ได้ร่วมมือกับ CMAM เพื่อพัฒนาและเปิดตัวเม็ดยา Favipiravir ออกสู่ตลาดจีนในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ข้อมูลจากการทดลองยา Favipiravir ทางคลินิก ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เผยแพร่ในงานแถลงข่าวเรื่องโควิด-19 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ระบุว่า ยา Favipiravir มีประสิทธิภาพทางคลินิกที่ดี และถูกรวมเข้าไว้ในรายการวัตถุ Major Anti-pandemic Materials โดยสภารัฐกิจ (หรือคณะรัฐมนตรี) ของจีน และรัฐบาลจีนได้รวมคลังยา Favipiravir ให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อความสะดวกในการจัดสรร ขณะเดียวกัน มีการใช้ยาตัวนี้ในกว่า 30 ประเทศและให้ผลลัพธ์ที่ดี สำหรับเม็ดยา Favipiravir ทั้งหมดในประเทศจีนนั้น ผลิตโดย HISUN ซึ่งเพิ่งได้รับการยกย่องเป็น "โรงงานสรรพาวุธ" ในการตอบสนองต่อวิกฤตโควิด-19
ข้อมูลจากการทดลองทางคลินิกแบบหลายศูนย์ทั่วโลก แสดงให้เห็นว่า ยา Favipiravir สามารถกำจัดไวรัสได้อย่างรวดเร็ว และบรรเทาอาการปอดอักเสบของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการดื้อยาสูงและมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเล็กน้อย
ผลการทดลองจากการใช้ยา Favipiravir เทียบกับยา Kaletra ของโรงพยาบาล Shenzhen No.3 People's Hospital พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา Favipiravir ฟื้นตัวจากอาการไข้ภายใน 2 วัน ซึ่งคิดเป็น 72.41% เมื่อเทียบกับ 26.30% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา Kaletra ระยะเวลาที่ผลการตรวจกรดนิวคลีอิกของเชื้อไวรัสโควิด-19 เปลี่ยนเป็นลบ อยู่ที่ 4 วันในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา Favipiravir เมื่อเทียบกับ 11 วันในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา Kaletra ด้านภาพเอกซ์เรย์ปอดแสดงอัตราการฟื้นตัวที่ 91.43% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยา Favipiravir เมื่อเทียบกับ 62.22% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยา Kaletra ส่วนอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Favipiravir อยู่ที่ 11.43% เมื่อเทียบกับ 55.56% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยา Kaletra
การทดลองทางคลินิกของโรงพยาบาลจงหนานแห่งมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ซึ่งใช้ยา Arbidol สำหรับกลุ่มควบคุม พบว่า ผู้ป่วยทั่วไปที่ได้รับการรักษาด้วยยา Favipiravir มีอัตราการฟื้นตัวทางคลินิกสูงขึ้นเมื่อสิ้นสุดการรักษา (71.43%) เทียบกับ 55.86% ในกลุ่มควบคุม อัตราการรักษาด้วยออกซิเจนเสริมหรือการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อ อยู่ที่ 8.16% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยา Favipiravir และ 17.12% ในกลุ่ม Arbidol นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ได้รับยา Favipiravir มีอาการไอดีขึ้นภายใน 4.57 วัน ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าผู้ป่วยที่ใช้ยา Arbidol อยู่ 1.41 วัน
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1198294/Favipiravir_Tablets.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1198295/China_supporting_Turkey.jpg
ติดต่อ : Ms. Li Huimin
อีเมล : hisun-haisheng@hisunpharm.com
เว็บไซต์ : http://www.hisunpharm.com/en/
ยูทูบ: https://youtu.be/xnO2gmBUVP4
เฟซบุ๊ก: http://www.facebook.com/huimin.li.315080
ทวิตเตอร์: @HuiminLi12
โทร: +86-13718025966+
No comments:
Post a Comment