Tuesday, March 30, 2021

หัวเว่ย เปิดตัวโซลูชัน CloudCampus 3.0 ใหม่ล่าสุด เร่งผลักดันองค์กรสู่ยุคคลาวด์

ในการประชุม Huawei Industrial Digital Transformation Conference 2021 หัวเว่ยได้ประกาศก้าวสำคัญสู่การสร้างเครือข่ายแคมปัส ด้วยการเปิดตัวโซลูชัน CloudCampus 3.0 และหลากหลายผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรม โดยโซลูชันแห่งอนาคตนี้ช่วยให้องค์กรทุกขนาดสามารถสร้างเครือข่ายแคมปัสแบบไร้สาย นำเครือข่ายแบบสาขาไปไว้บนคลาวด์ บริหารจัดการเครือข่าย LAN และ WAN บนคลาวด์ รวมถึงดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) แบบอัจฉริยะ โซลูชันที่อุดมด้วยฟีเจอร์มากมายนี้จะช่วยให้องค์กรทั่วโลกสามารถคว้าโอกาสใหม่ ๆ จากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในยุคคลาวด์

ผลกระทบของโรคโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล และคลื่นนวัตกรรมใหม่ก็กำลังถาโถมเข้ามา โดยล้วนมีเป้าหมายเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ทั้งนี้ Global Industry Vision (GIV) 2025 ของหัวเว่ยทำนายไว้ว่า ภายในปี 2025 จะมีอุปกรณ์ส่วนบุคคลอัจฉริยะมากถึง 4 หมื่นล้านเครื่อง และมีการเชื่อมต่อ 1 แสนล้านครั้งทั่วโลก ซึ่งอุปกรณ์มากมายเช่นนี้จะมีข้อมูลมหาศาล และคุณค่าของข้อมูลก็จะมีความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เคย 

องค์กรต่าง ๆ จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีคลาวด์เป็นศูนย์กลาง และย้ายการใช้งานไปบนคลาวด์มากขึ้น ขณะเดียวกัน การประมวลผลข้อมูลจะย้ายจากเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรไปยังคลาวด์ ทั้งนี้ Huawei GIV 2025 คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 กว่า 85% ของบริการองค์กรจะอยู่บนคลาวด์ ดังนั้น เครือข่ายซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมอุปกรณ์กับคลาวด์ จะเปลี่ยนจากการเชื่อมต่อในพื้นที่ไปเป็นการเชื่อมต่อระหว่างกันทั่วโลก โดยมีทั้งการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายแบบสาขาและระหว่างคลาวด์ 

ดร.หลี่ ซิง ประธาน Campus Network Domain ฝ่าย Data Communication Product Line ของหัวเว่ย กล่าวว่า "คลาวด์นำอัจฉริยภาพมาสู่องค์กร ดังนั้นเครือข่ายแคมปัสองค์กรจึงต้องไล่ตามให้ทัน ซึ่งในบริบทนี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชัน CloudCampus 3.0 เพื่อสร้างเครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะไร้สายเต็มรูปแบบสำหรับยุคคลาวด์"  

"โซลูชันนี้เชื่อมทุกสิ่งเข้าด้วยกันและปลดปล่อยคุณค่าของข้อมูล นอกจากนั้นยังเชื่อมสถานที่ทำงานและการผลิตเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างแรงบันดาลใจในการคิดค้นนวัตกรรมข้ามภาคส่วน และด้วยอัจฉริยภาพเหล่านี้ โซลูชันดังกล่าวจึงช่วยสร้างเครือข่ายกลางที่จำเป็นสำหรับการมีปฏิสัมพันธ์แบบอัจฉริยะ" เขากล่าวเสริม

ไฮไลต์ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมที่ทำให้โซลูชัน CloudCampus 3.0 ของหัวเว่ยโดดเด่นกว่าคู่แข่ง

- เพื่อช่วยองค์กรสร้างเครือข่าย Wi-Fi 6 ไร้สายเต็มรูปแบบ ไร้จุดบอด และโรมมิงไม่มีสะดุด หัวเว่ยได้เพิ่ม 7 ผลิตภัณฑ์ใหม่ในตระกูล AirEngine Wi-Fi 6 โดยเฉพาะ AP (อุปกรณ์กระจายสัญญาณ) แบบติดผนังรุ่นใหม่ ซึ่งมอบสัญญาณไร้สายที่ดีขึ้นในห้องพักโรงแรมและห้องเรียน รวมถึง AP แบบ Triple Radio ประสิทธิภาพสูง รับประกันสัญญาณไม่มีสะดุดเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีคนหนาแน่น เช่น ห้องเรียนและสนามกีฬา นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเปิดตัว Access Switch แบบ multi-GE ซีรีส์ CloudEngine S รวม 5 แบบ ซึ่งทั้งหมดมี 90 W PoE++ ต่อพอร์ต และรองรับพอร์ตที่ใช้ซอฟต์แวร์ โดยมีใบอนุญาตให้สิทธิ์การใช้งาน (RTU) เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับใช้กับสภาพการณ์ต่าง ๆ

- หัวเว่ยเปิดตัว NetEngine AR8140 เกตเวย์กำหนดเส้นทางอัจฉริยะด้วย SD-WAN เพื่อช่วยองค์กรสร้าง WAN รุ่นใหม่ที่สามารถเข้าถึงคลาวด์ด้วยความเร็วสูง โดยมอบ SD-WAN ประสิทธิภาพสูงถึง 20 Gbit/s และผสานเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพ WAN ที่หลากหลาย คุณสมบัติเหล่านี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการสร้าง WAN อัจฉริยะประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเปิดตัว AR1000V เกตเวย์เสมือนจริงแบบ SD-WAN ประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้บนคลาวด์สาธารณะและคลาวด์ส่วนตัวได้อย่างยืดหยุ่น ปัจจุบัน AR1000V รองรับตั้งแต่ 1 จุด ถึง 5 ระบบคลาวด์สาธารณะ ซึ่งกรุยทางสำหรับมัลติคลาวด์แบบออนดีมานด์และการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายแบบสาขา

- หัวเว่ยอัปเกรด iMaster NCE-Campus ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการจัดการ ควบคุม และวิเคราะห์แบบครบวงจร เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมบริการที่รวดเร็วและคล่องตัวบนคลาวด์ โดย iMaster NCE-Campus ที่ผ่านการอัปเกรดและสร้างบนคลาวด์นี้ สามารถตั้งค่าและบริหารจัดการอย่างอัตโนมัติบน WLAN, LAN และ WAN โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แพลตฟอร์มนี้มีฟังก์ชันการตรวจสอบอัจฉริยะ ซึ่งช่วยลดเวลาในการตรวจสอบด้วยคนจากหลายชั่วโมงเหลือเพียงไม่กี่นาทีก่อนที่จะให้บริการ และช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากการตั้งค่าด้วยคน

- หัวเว่ยบูรณาการนวัตกรรมเพิ่มเติมในระบบ O&M อัจฉริยะ iMaster NCE-CampusInsight เพื่อรับมือกับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของเครือข่าย O&M ซึ่งเกินขีดความสามารถของมนุษย์อันเนื่องจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นของเครือข่ายแคมปัส ปริมาณเทอร์มินอล และขอบข่ายบริการ ปัจจุบัน iMaster NCE-CampusInsight รองรับข้อมูลเชิงลึกและรับประกันประสบการณ์การใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้อัลกอริทึมอัจฉริยะในการตรวจคุณภาพการใช้งานหลัก ๆ ในองค์กรกว่าพันรายการแบบเรียลไทม์ และค้นหาข้อบกพร่องภายในไม่กี่นาที ผู้ใช้จึงสามารถสัมผัสประสบการณ์ออฟฟิศคุณภาพสูงและการดำเนินงานด้วยระบบดิจิทัล

นอกเหนือจากการเปิดตัวโซลูชัน CloudCampus 3.0 ซึ่งเป็นทางเลือกในอุดมคติสำหรับเครือข่ายแคมปัสองค์กรแล้ว หัวเว่ยยังเปิดตัวหลากหลายผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับอุตสาหกรรม เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของเครือข่ายแคมปัสอุตสาหกรรม

ยกตัวอย่างเช่น ในภาคส่วนอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม หัวเว่ยได้เปิดตัว Wi-Fi 6 CPE ระดับอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยให้อุปกรณ์การผลิตทำงานแบบไร้สาย เพื่อประสิทธิภาพการผลิตที่ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น

ในภาคการขนส่งทางรางนั้น หัวเว่ยได้เปิดตัว Wi-Fi 6 AP สำหรับติดตั้งบนยานพาหนะ ซึ่งมีความเสถียรและเชื่อถือได้ในการส่งสัญญาณระดับหลายร้อย Mbps แม้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงถึง 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง จึงรับประกันการส่งสัญญาณที่ไม่สะดุดในระบบข้อมูลผู้โดยสาร (PIS) 

ในภาคส่วนพลังงาน หัวเว่ยเปิดตัวเกตเวย์ IoT ประมวลผล 5G edge เป็นรายแรกของอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยส่งสัญญาณ 5G ความเร็วสูงและเชื่อถือได้ สำหรับตรวจสอบการจ่ายไฟ เหมืองถ่านหิน บ่อน้ำมันและก๊าซ และสภาพการณ์อื่น ๆ

ในส่วนของเมืองอัจฉริยะนั้น หัวเว่ยได้เปิดตัว SmartX ซึ่งเป็นจุดส่งสัญญาณวิดีโอแบบครบวงจรที่รองรับกระแสไฟฟ้าหลัก พลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงแบตเตอรีลิเธียม (ให้พลังงานสำรองที่อุณหภูมิ -20 ถึง +45 องศาเซลเซียส) ซึ่งช่วยให้บริการต่าง ๆ ในเมืองมีความต่อเนื่องไม่สะดุดแม้ในสภาพอากาศเลวร้าย เช่น ฝนตกและหิมะตก

"องค์กรต่าง ๆ กำลังมองหาแพลตฟอร์มเครือข่ายที่ทันสมัย ซึ่งช่วยเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัลอย่างราบรื่น โดยข้อมูลการสำรวจ IDC WLAN Maturity Index เมื่อไม่นานมานี้พบว่า มีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 24% ที่ระบุว่า "พึงพอใจมาก" กับเครือข่ายไร้สายที่มีอยู่ ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญของการปรับปรุงเครือข่ายให้ทันสมัยขึ้นก็คือ การบริหารจัดการ LAN, WLAN และ WAN แบบรวมศูนย์ รวมถึงเครื่องมืออัตโนมัติที่ยกระดับด้วยอัลกอริทึมอัจฉริยะ และโครงสร้างพื้นฐานประสิทธิภาพสูง เช่น Wi-Fi 6 และ Ethernet Switching ระดับหลายกิกะบิต" Rohit Mehra รองประธานฝ่าย Network Infrastructure ของ IDC กล่าว "แพลตฟอร์ม Campus 3.0 ของหัวเว่ยมีคุณสมบัติที่กล่าวถึงทั้งหมด จึงเป็นแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งสำหรับการขับเคลื่อนเครือข่ายแคมปัสองค์กรและธุรกิจดิจิทัลในอนาคต"

ท่ามกลางการมาถึงของยุคคลาวด์ โซลูชัน CloudCampus 3.0 และผลิตภัณฑ์มากมายของหัวเว่ย จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถสร้างเครือข่ายแคมปัสที่พร้อมสำหรับอนาคต โดยเป็นเครือข่ายไร้สายเต็มรูปแบบ เชื่อมต่อทั่วโลก บริหารจัดการบนคลาวด์ รวมทั้งดำเนินงานและบำรุงรักษาแบบอัจฉริยะ ปัจจุบัน โซลูชัน CloudCampus ของหัวเว่ยมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายโดยลูกค้าอุตสาหกรรมในกว่า 100 ประเทศและดินแดน เพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ

หัวเว่ยจัดการประชุม Industrial Digital Transformation Conference 2021 ระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/en/events/industry-digital-transformation/2021


หมายเหตุ: NetEngine AR8000 และ NetEngine AR1000V ของหัวเว่ย จะวางจำหน่ายทั่วโลกในเดือนพฤษภาคม 2021

No comments:

Post a Comment