Thursday, December 16, 2021

เกษตรกรรายย่อยรวมพลังส่งเสริมความยั่งยืนและรุ่งโรจน์

 การผนวกเกษตรกรรายย่อยเข้าสู่แผนการด้านความยั่งยืนจากบนลงล่างและล่างขึ้นบน หมายถึงการใช้นโยบายที่มีการขยายขอบเขตและการลงทุนที่ปรับให้เหมาะกับพลังขับเคลื่อนขนาดย่อมและขนาดกลาง โดยนโยบายใหม่ของสหภาพยุโรป (EU) ทำให้ไม่อาจละเลยบทบาทสำคัญที่เกษตรการรายย่อยมีต่อการผลิตอาหาร การผลักพวกเขาออกจากกระบวนการกำหนดนโยบายของ EU เท่ากับเป็นการสร้างความยากจน ความตึงเครียดทางสังคมโดยไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกใด ๆ ในแง่ของความยั่งยืน การเจรจาคือกุญแจสำคัญ ความยั่งยืนล้วนเป็นเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจและการร่วมมือกันระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภค

ข้อความนี้ถ่ายทอดโดยเหล่าเกษตรกรรายย่อยที่ดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทานน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตทั่วโลก โดยพวกเขาได้รวมตัวกันที่การประชุม "เกษตรกรรายย่อย: ผู้ขับเคลื่อนความรุ่งโรจน์และความยั่งยืน" (Small-Holders: Drivers of Prosperity and Sustainability) ซึ่ง Competere เป็นผู้ให้การสนับสนุน

Gert van der Bijl ที่ปรึกษาด้านนโยบายสหภาพยุโรประดับอาวุโสของบริษัท Solidaridad เปิดเผยว่า "เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดการผลิตแบบยั่งยืนโดยปราศจากเกษตรกรรายย่อยและการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของพวกเขา เหมือนกับที่ไม่อาจยุติการตัดไม้ทำลายป่าได้โดยไม่มอบเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรรายย่อย"

สำหรับNelsy Vega และ Teresa Pena เกษตรการรายย่อยจากโคลอมเบียแล้ว การผลิตน้ำมันปาล์มเปรียบได้ดั่งชีวิต ความหวัง และการพัฒนาโอกาส สำหรับทั้งคู่และลูก ๆ ทั้งสองเรียกร้องมิให้ EU บั่นทอนการผลิตอย่างยั่งยืน ขณะที่ Djono Burhan จากสมาคมเกษตรกรน้ำมันปาล์มรายย่อยอินโดนีเซียระบุว่า "เกษตรกรรายย่อยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจจากการเพาะปลูกน้ำมันปาล์ม ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาชุมชนทั้งชุมชน แม้ห่วงโซ่อุปทานระยะไกลบั่นทอนรายได้ของเหล่าเกษตรกร"

การเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตแบบยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพนำมาซึ่งความท้าทาย โดยการฝึกฝนถือเป็นปัจจัยสำคัญ Maria Goldameir Mektania เกษตรกรรายย่อยอีกรายหนึ่งได้เน้นย้ำว่า "เกษตรกรต้องได้รับการฝึกฝนที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้วิธีการผลิตแบบยั่งยืนและเหมาะสมกับระบบนิเวศ และหากนโยบายและราคาสินค้าโภคภัณฑ์เปลี่ยนแปลงไปไม่หยุด เกษตรกรรายย่อยจะกลายเป็นผู้ที่ได้รับผลเสียมากที่สุด"

Adzmi Hassan จากสมาคมเกษตรกรรายย่อยแห่งชาติมาเลเซีย (NASH) ระบุว่า ความท้าทายสำคัญในการใช้มาตรฐานแบบยั่งยืนนั้นมาจากแรงจูงใจด้านรายได้ ขณะที่ Juan Alberto Lemus Silva จากสมาคม Agroindustria Palmera San Rom?n ของกัวเตมาลาซึ่งให้ความสำคัญต่อนโยบายของ EU ระบุว่า นโยบายเหล่านี้ "อาจเข้ามาขัดขวางมากกว่าสร้างแรงจูงใจด้านการผลิตในกัวเตมาลา ด้วยการเพิ่มราคาและสร้างความซับซ้อนให้กับข้อกำหนดการส่งออกและกฎระเบียบต่าง ๆ"

Pietro Paganini ประธานบริษัท Competereได้สรุปการหารือครั้งนี้ว่า "เสียงจากผู้ที่ทำงานในห่วงโซ่อุปทานน้ำมันปาล์มแบบยั่งยืน ทำให้เรามองเห็นมากกว่าแค่การส่งเสริมการลดการผลิตและการดำเนินการแบบผิวเผินต่อเรื่องดังกล่าว เรากำลังพูดถึงห่วงโซ่การผลิตระดับโลกที่มีพันธกิจในการส่งเสริมโครงการอันยั่งยืนมาอย่างยาวนานพร้อม ๆ ไปกับการสร้างความโปร่งใสและมุ่งเน้นด้านนวัตกรรม"

No comments:

Post a Comment