การประกวดครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้เชฟหนุ่มสาวอายุไม่เกิน 30 ปี ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในอคาเดมี และเริ่มต้นการเดินทางที่เปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจและความรู้ โดยลงทะเบียนร่วมแข่งขันได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565
ซาน เพลลีกรีโน ยัง เชฟ อคาเดมี (S.Pellegrino Young Chef Academy) มีความยินดีในการประกาศเปิดตัว "Seven Sages" หรือคณะกรรมการผู้ตัดสินการประกวดซาน เพลลีกรีโน ยัง เชฟ อคาเดมี รอบชิงชนะเลิศใหญ่ประจำปี 2565-2566 ซึ่งจะมีขึ้นที่มิลานภายในเดือนกันยายน 2566
อ่านข่าวประชาสัมพันธ์แบบมัลติมีเดียได้ที่ https://www.multivu.com/players/uk/9059851-s-pellegrino-young-chef-academy-presents-the-global-jury-for-competition/
ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคนั้น เชฟหนุ่มสาว 170 คนจากทั่วโลกจะมาประชันฝีมือกันในการประกวดทำอาหารแบบไลฟ์สดต่อหน้าคณะกรรมการในแต่ละพื้นที่จากประเทศที่ร่วมการแข่งขันใน 15 ภูมิภาค โดยผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคจะได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับที่ปรึกษาเพื่อให้เมนูของตนเองออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด และโชว์ทักษะการเตรียมอาหารจานเด็ดของตนต่อ Seven Sages
ด้วยความเชื่อที่ว่าความหลงใหล วัฒนธรรม ความคิดแปลกใหม่ และจรรยาบรรณเบื้องหลังอาหารแต่ละจานจะเข้ามาสร้างความแตกต่างให้กับเชฟในอนาคต เชฟมือทองทั้ง 7 ซึ่งล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงในระดับโลกจะรับหน้าที่หลอมรวมความรู้ความเข้าใจเพื่อเลือกและสวมมงกุฎให้กับผู้ชนะเลิศ โดยคณะกรรมการผู้ตัดสินรางวัลจะยกย่องพรสวรรค์ในการผลักดันขีดจำกัดเดิม ๆ ของการทำอาหาร และสร้างแรงบันดาลใจให้เชฟรุ่นใหม่ด้วยวิสัยทัศน์และข้อคิดเห็นต่าง ๆ
เชฟระดับโลกที่ร่วมเป็นกรรมการตัดสินรางวัลครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. อีเนโก แอตซา ( Eneko Atxa) เชฟชาวบาสก์ซึ่งคว้ารางวัลมิชลิน 5 ดาวจากภัตตาคารอาซูร์เมนดี (Azurmendi) และอีเนโก (ENEKO) เชฟผู้นี้มุ่งมั่นนำเสนอผลงานที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว และความยั่งยืน จนคว้ารางวัลด้านความยั่งยืนมาแล้วมากมาย โดยพื้นเพทางวัฒนธรรม สายสัมพันธ์กับดินแดนและพืชผล รวมถึงแนวทางการทำอาหารแบบฉบับชาวบาสก์ ได้กลายเป็นรากฐานเบื้องหลังผลงานสร้างสรรค์ของเขาจนถึงวันนี้ เชฟอีเนโกได้กล่าวถึงการที่เขาได้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาว่า "เชฟหนุ่มสาวของเราได้มีโอกาสเริ่มและเรียนรู้ไปกับเราตั้งแต่อายุยังน้อย การให้ความรู้แก่พวกเขาเกี่ยวกับแนวทางและธรรมเนียมการทำอาหารอันเก่าแก่แบบฉบับชาวบาสก์จึงมีความสำคัญมาก พร้อมแนะนำเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น คำแนะนำที่ผมขอให้แก่คนรุ่นใหม่คือให้ทำงานหนักเข้าไว้ ด้วยความกระตือรือร้น ความมานะอุตสาหะ สำนึกรักแผ่นดิน และทำความเข้าใจว่าอาหารที่ทำจะสะท้อนตัวตนของเชฟ รวมถึงดินแดนและวัฒนธรรมของเชฟด้วย"
2. ริคคาร์โด คามานีนี ( Riccardo Camanini) ) เป็นหนึ่งในเชฟที่เข้าใจวิธีนำเสนออาหารอิตาเลียนแบบใหม่ได้ดีที่สุด ซึ่งเหนือชั้นทั้งในแง่ของเทคนิค ความงดงาม แก่นสาร และวิสัยทัศน์ เชฟผู้นี้ได้รับรางวัลดาวมิชลินมาตั้งแต่ปี 2557 เพียง 8 เดือนหลังเปิดร้านอาหารลิโด้ 84 (Lido 84) ในเมืองการ์โดเน ริเวียรา ประเทศอิตาลี โดยมีประสบการณ์การทำอาหารที่ช่ำชองจากคำสอนของเชฟจูอัลติเอโร่ มาร์เชซี (Gualtiero Marchesi) จากนั้นก็ได้ฝึกปรือทักษะเคียงข้างเชฟแรมง บล็อง (Raimond Blanc) ที่ภัตตาคารระดับมิชลิน 2 ดาวอย่างเลอ มานัวร์ โอ กัต เซซง (Le Manoir aux Quat Saison) และเคียงข้างเชฟอลัง ดูคาส (Alain Ducasse) และฌอง หลุยส์ (Jean Louis) ที่ภัตตาคารลา กรองด์ กัสกาด (La Grande Cascade) ในกรุงปารีส โดยเขาได้กล่าวถึงเชฟรุ่นใหม่ว่า "ความคิดสร้างสรรค์ไม่มีอะไรมากไปกว่าการสั่งสมข้อมูลผ่านประสบการณ์ที่เรารับเข้ามาตลอดทั้งชีวิตและตีความข้อมูลเหล่านั้นออกมา โดยปิรันเดลโล่เคยกล่าวไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ก็เหมือนขนมปังแผ่นหนึ่ง เพราะเป็นอาหารที่ทาแยมลงไปได้ ความคิดสร้างสรรค์และผลลัพธ์บางอย่างจึงนับเป็นผลลัพธ์จากการเดินทางอันยาวนานของผู้ชำนาญที่หล่อหลอมตามกาลเวลา ความสม่ำเสมอ และความมานะอุตสาหะ"
3. เฮเลน ดาร์โรซ ( Helene Darroze) ) เป็นเชฟรุ่นที่สี่ซึ่งมีประสบการณ์การทำอาหารอยู่ในสายเลือด ปัจจุบันเชฟเฮเลนทำหน้าที่อยู่ในภัตตาคารระดับมิชลินสามดาวแห่งหนึ่งในโรงแรมเดอะ คอนน็อต (The Connaught) ในกรุงลอนดอน ภัตตาคารระดับมิชลินสองดาวอย่าง "มาร์ซาน" (Marsan) ในกรุงปารีส และภัตตาคารระดับมิชลินหนึ่งดาวอย่าง "เฮเลน ดาร์โรซ เอ วิลลา ลา กอสต์" (Helene Darroze ? Villa La Coste) ที่พรอว็องส์ ประเทศฝรั่งเศส นอกเหนือจากจะคว้าดาวมิชลินมาครองได้แล้ว เชฟเฮเลนยังได้รับรางวัลเวิฟ คลีโคต์ (Veuve Clicquot Prize) ในฐานะเชฟหญิงยอดเยี่ยมประจำปี 2558 จากเวทีสุดยอด 50 ร้านอาหารยอดเยี่ยมของโลก หรือ The World's 50 Best Restaurants ด้วย ทั้งยังรับหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินรางวัลในรายการทีวีชื่อดังของฝรั่งเศสอย่าง "ท็อปเชฟ" (Top Chef) มาตั้งแต่ปี 2558 เชฟเฮเลนเป็นเชฟที่เปี่ยมไปด้วยพรสวรรค์ในด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสะท้อนตัวตนโดยใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นจุดเริ่มต้น และมีความจริงแท้เป็นเส้นสายโยงใย จนออกมาเป็นอาหารและเมนูที่เปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวาและความรู้สึก แต่ยังคงเผยคุณลักษณะของส่วนผสมหลักได้อย่างพิถีพิถันและน่าชื่นชม "เชื่อในตัวเอง เชื่อในความฝัน ใช้ชีวิตอย่างที่ใฝ่หา ไม่มีอะไรหยุดคุณได้"
4. วิคกี้ เหลา (Vicky Lau) เชฟวิคกี้เลือกเดินตามเส้นทางที่ไม่ค่อยมีใครวาดเอาไว้ โดยได้เลิกทำงานโฆษณา และหันมาใช้ความคิดสร้างสรรค์กับอาชีพทำอาหารแทน เชฟวิคกี้ได้เริ่มอาชีพเชฟด้วยการเป็นลูกมือฝึกหัดที่ร้านเซปาจ (Cepage) ก่อนที่จะแยกออกมาเดินตามทางของตนเอง และเปิดร้านเทท ไดนิง รูม (TATE Dining Room) เมื่อปี 2555 โดยเมื่อปีที่ผ่านมานั้น เธอได้สร้างชื่อจากการเป็นเชฟหญิงคนแรกในเอเชียที่ได้รับรางวัลมิชลินสองดาวจากร้านอาหารของเธอเองในฮ่องกงในคู่มือมิชลิน ไกด์ ฉบับฮ่องกง-มาเก๊า ประจำปี 2564 เชฟวิคกี้ได้กล่าวถึงเชฟรุ่นใหม่ว่า "ในฐานะเชฟคนหนึ่ง การเตรียมอาหารที่ทั้งอร่อยและงดงามเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราก็แสวงหาความหมายใหม่ ๆ ในชีวิตด้วย ความสำเร็จไม่ได้เป็นเรื่องของคุณคนเดียว แต่ยังเป็นเรื่องของการตอบแทนสังคมด้วย นั่นคือสิ่งที่เราทุกคนควรมุ่งหมายไว้"
5. เปีย ลีออน (P?a Le?n) ติดอันดับ1 ใน 3ในการจัดอันดับ 50 ร้านอาหารยอดเยี่ยมของลาตินอเมริกา 3 ปีซ้อน ทั้งยังได้รับคะแนนโหวตให้เป็นหนึ่งใน 10 ร้านอาหารยอดเยี่ยมของโลกมา 5 ปีติดต่อกัน เชฟเปียเป็นเจ้าของภัตตาคารเซ็นทรัล (Central) ร่วมกับเวอร์จิลิโอ มาร์ติเนส (Virgilio Mart?nez) ผู้เป็นสามี และดูแลครัวของภัตตาคารแห่งนี้มานานนับทศวรรษ ก่อนที่จะตัดสินใจเดินตามทางของตนเองด้วยการเปิดร้านกอยเย่ (Kjolle) ซึ่งตั้งชื่อตามไม้ดอกในท้องถิ่นซึ่งเติบโตในพื้นที่สูงสุดขีด และติดอันดับที่ 21 ในการจัดอันดับสุดยอด 50 ร้านอาหารยอดเยี่ยมของลาตินอเมริกาประจำปี 2562 ทั้งยังเป็นร้านอาหารหน้าใหม่ที่ทำอันดับได้ดีที่สุดด้วย เชฟเปียได้กล่าวถึงเชฟรุ่นใหม่ว่า "บางครั้งจะทำอะไรก็ยากไปหมด แต่ถ้าคุณมีความตั้งใจและรู้ตัวดีว่าต้องการอะไรแล้ว สิ่งต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นตามเวลาและช่วงเวลาที่เหมาะสม สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับดิฉันคือผู้คนที่อยู่เคียงข้างเมื่อคุณเดินตามภารกิจและเป้าหมายของคุณเอง"
6. จูเลียน โรเยอร์ ( Julien Royer) เป็นเชฟและเจ้าของภัตตาคารฝรั่งเศสสมัยใหม่ระดับมิชลินสามดาวอย่างโอเด็ตต์ (Odette) ที่หอศิลป์สิงคโปร์ โอเด็ตต์ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือกับเดอะ โล แอนด์ บีโฮลด์ กรุ๊ป (The Lo & Behold Group) นำเสนอเมนูอาหารที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามความเคารพที่เชฟจูเลียนมีต่อฤดูกาล สภาพอากาศ และงานฝีมือจากผู้สร้างสรรค์ผลงานบูติกทั่วโลก เชฟจูเลียนตั้งชื่อร้านว่าโอเด็ตต์เพื่อระลึกถึงคุณยายของเชฟจูเลียนเอง ซึ่งคุณยายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลกับเขามากทั้งในเรื่องชีวิตและการทำงานในครัว โดยเขาได้กล่าวถึงเชฟรุ่นใหม่ว่า "ผู้คนที่คุณพบเจอมาตลอดทางมีบทบาทสำคัญกับการเติบโตของคุณ อย่าหยุดเรียนรู้จากเพื่อน ๆ หุ้นส่วน ซัพพลายเออร์ ผู้ร่วมงาน และผู้สร้างสรรค์ผลงานรายอื่น ๆ การเปิดมุมมองที่มีต่อโลกและเปิดรับมุมมองใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาเป็นเรื่องสำคัญ และเชฟจะยิ่งใหญ่ได้ก็ต้องอาศัยทีมที่ยอดเยี่ยมซึ่งคอยสนับสนุนและเชื่อในตัวของเชฟเอง โดยทำงานร่วมกันอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเพื่อสร้างประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้แขกของเรา"
7. แนนซี ซิลเวอร์ตัน ( Nancy Silverton) เป็นเชฟ ช่างทำขนม และผู้เขียนชาวอเมริกัน ซึ่งคว้ารางวัลเชฟยอดเยี่ยม (Outstanding Chef Award) จากมูลนิธิเจมส์ เบียร์ด (James Beard Foundation) มาได้เมื่อปี 2557 จากบทบาทในการทำให้ขนมปังซาวโดวจ์และขนมปังทำด้วยมือ (artisan bread) เป็นที่นิยมในสหรัฐ เชฟแนนซีเป็นเจ้าของร่วมของร้านอาหารระดับมิชลินอย่างออสเตอเรีย มอซซา (Osteria Mozza) เช่นเดียวกับร้านพิซเซอเรีย มอซซา (Pizzeria Mozza), มอซซา2โก (Mozza2Go), ชิ สปัคกา (chi SPACCA), ปิซเซตต์ (Pizzette) และเดอะ แบริช (The Barish) ในลอสแอนเจลิส เชฟแนนซีได้ให้ข้อแนะนำแก่เชฟรุ่นใหม่ว่า "ดิฉันรู้ว่าตัวเองต้องการอะไรตั้งแต่แรก ๆ และยังจำวันนั้นได้ดี วันนั้นดิฉันกำลังทำเมนูง่าย ๆ อย่างเลนทิลโลฟ หรือผักนึ่งและชีสเยิ้ม โดยอ่านสูตรแล้วก็ทำ ในมือมีมีดเชฟ คู่มือทำอาหารเปิดอ้าอยู่ แล้วดิฉันก็คิดได้เลยว่า 'ฉันต้องการทำสิ่งนี้' และตั้งแต่นั้น ดิฉันก็ไม่เคยหันเหไปเดินทางอื่น การเป็นเชฟต้องทำงานหนักมากจริง ๆ เส้นทางอาชีพนี้จะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อใจรักเท่านั้น"
การแข่งขันซาน เพลลีกรีโน ยัง เชฟ อคาเดมี จะเปิดโอกาสที่หาจากที่ไหนไม่ได้ให้กับเชฟรุ่นใหม่ในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในซาน เพลลีกรีโน ยัง เชฟ อคาเดมี ซึ่งเป็นชุมชนที่เปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจ ให้เชฟได้มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่ทรงอิทธิพลและมีชื่อเสียงมากเป็นอันดับต้น ๆ ในโลกการทำอาหาร และเข้าร่วมโครงการให้ความรู้ ให้คำปรึกษา และโอกาสในการเข้ามามีประสบการณ์ในสายงานนี้ เชฟหนุ่มสาวอายุไม่เกิน 30 ปีจะมีโอกาสลงทะเบียนเข้าร่วมในการแข่งขันซาน เพลลีกรีโน ยัง เชฟ อคาเดมี ประจำปี 2565-2566 ลงทะเบียนได้ที่ www.sanpellegrinoyoungchefacademy.com จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เพียงให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและหน้าที่การงานของตน พร้อมส่งสูตรอาหารจานเด็ดที่สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ของเชฟเจ้าของเมนู การตัดสินรอบแรกเหมือนการแข่งขันครั้งก่อน ๆ ผลงานที่ส่งเข้ามาจะถูกประเมินโดยโรงเรียนสอนทำอาหารอิตาเลียน (International School of Italian Culinary Arts หรือ ALMA) ซึ่งจะทำหน้าที่คัดเลือกเชฟรุ่นใหม่เพื่อลงแข่งในรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคตามที่ตั้งของเชฟแต่ละราย ซึ่งมีทั้งหมด 15 ภูมิภาคด้วยกัน การแข่งขันระดับภูมิภาคจะมีขึ้นทั่วโลกในครึ่งหลังของปี 2565
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซาน เพลลีกรีโน ยัง เชฟ อคาเดมี ได้ที่ www.sanpellegrinoyoungchefacademy.com
เกี่ยวกับซาน เพลลีกรีโน และอควา ปานน่า
ซาน เพลลีกรีโน (S.Pellegrino), อควา ปานน่า (Acqua Panna) และซาน เพลลีกรีโน อิตาเลียน สปาร์คลิง ดริงค์ส (Sanpellegrino Italian Sparkling Drinks) เป็นเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศของซาน เพลลีกรีโน เอส พี เอ (Sanpellegrino S.p.A.) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ผลิตภัณฑ์เหล่านี้วางจำหน่ายในกว่า 150 ประเทศ ผ่านสาขาและตัวแทนจำหน่าย 5 ทวีป โดยแสดงให้เห็นความเป็นเลิศด้านคุณภาพจากต้นกำเนิด และถ่ายทอดความเป็นอิตาเลียนออกไปทั่วโลกได้อย่างสมบูรณ์แบบ ในฐานะสัญลักษณ์แห่งความน่าอภิรมย์ สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ซาน เพลลีกรีโน เอส พี เอ ก่อตั้งขึ้นในปี 2442 และเป็นบริษัทภาคอุตสาหกรรมเครื่องดื่มระดับชั้นนำของอิตาลี ที่ครอบคลุมทั้งน้ำแร่ เครื่องดื่มเรียกน้ำย่อยที่ไร้แอลกอฮอล์ เครื่องดื่ม และชาเย็น ในฐานะผู้ผลิตน้ำแร่รายใหญ่ของอิตาลีนั้น บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับโลกใบนี้ และทำงานอย่างมีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นเพื่อให้แน่ใจว่าทรัพยากรนี้จะมีอนาคตที่ยั่งยืน
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1840622/S_Pellegrino_Seven_Sages.jpg
No comments:
Post a Comment