Thursday, June 30, 2022

ซีเจ โลจิสติคส์ ประกาศนำพาเลททำจากพลาสติกรีไซเคิลมาใช้ในศูนย์กระจายสินค้าที่อินโดนีเซีย ส่งเสริมนโยบาย ESG ทั่วโลก

 

  • นำพาเลทแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์มาใช้แทนพาเลทเดิมที่ศูนย์กระจายสินค้าในกรุงจาการ์ตา โดยทนทานและมีอายุการใช้งานนานกว่าพาเลทแบบเดิม
  • พาเลทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ผลิตขึ้นจากพลาสติกเหลือใช้จากการผลิตภาชนะสุญญากาศ โดยไม่พบปัญหาเรื่องความทนทานและสมรรถนะเมื่อนำมาใช้ที่ศูนย์โลจิสติกส์ในเกาหลีใต้
  • ลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ 67.3 กก. ต่อพาเลท เท่ากับว่าลดรวมกันได้ 26,880 กก. ต่อ 400 พาเลท เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 8,960 ต้น

ซีเจ โลจิสติคส์ (CJ Logistics) ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายนว่า ทางบริษัทได้ยกระดับนโยบายส่งเสริมสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ไปอีกขั้น ด้วยการนำพาเลทแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จำนวน 400 ชิ้น ซึ่งเป็นพาเลทที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล มาใช้ในศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย การนำพาเลทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มาใช้ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ ขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพของงานโลจิสติกส์ในพื้นที่ด้วย เพราะส่วนประกอบในนั้นทำให้ตัวพาเลททนทานกว่าพาเลทไม้ทั่วไปซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในอินโดนีเซีย

พาเลทคือแท่นราบพื้นผิวเรียบเพื่อใช้จัดเก็บ ขนส่ง และบรรทุกสินค้าตามศูนย์โลจิสติกส์ โดยทั่วไปแล้ว ศูนย์โลจิสติกส์ส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียใช้พาเลทไม้ อย่างไรก็ดี พาเลทไม้มักใช้ไม่นานเพราะมีอุณหภูมิและความชิ้นสูง สภาพอากาศแบบเขตร้อนทำให้พาเลทไม้ผุพังอย่างรวดเร็วและอาจเป็นตัวล่อแมลง ในการแก้ไขปัญหานี้ ซีเจ โลจิสติคส์มีแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ศูนย์กระจายสินค้าในกรุงจาการ์ตา โดยนำพาเลทพลาสติกความทนทานสูงจากพลาสติกรีไซเคิลที่ไม่ผุพังและไม่ล่อแมลงมาใช้ ซีเจ โลจิสติคส์ได้ร่วมงานกับสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนเกาหลี (KOTRA) เพื่อส่งพาเลทแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ให้ถึงอินโดนีเซียอย่างปลอดภัย

ซีเจ โลจิสติคส์ได้สร้างพาเลทแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นี้ขึ้น โดยผสมเศษพลาสติกที่ได้จากบริษัทผู้ผลิตของใช้ในครัวเรือนระดับโลกซึ่งเป็นลูกค้าของซีเจ โลจิสติคส์ อย่างล็อกแอนด์ล็อก (LocknLock) เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตพาเลทอย่างซังจิน เออาร์พี (Sangjin ARP) โดยล็อกแอนด์ล็อกได้มอบพลาสติกเหลือใช้ให้กับซีเจ โลจิสติคส์ มากถึง 12 ตันไปเลยฟรี ๆ ซึ่งเป็นพลาสติกที่เหลือจากการผลิตของใช้ในบ้าน เช่น ภาชนะสุญญากาศ จากนั้นทางบริษัทได้นำพลาสติกเหล่านี้มาใช้เป็นวัตถุดิบ และผลิตพาเลทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้นมา 400 ชิ้น นับเป็นความร่วมมือที่ให้ประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งซีเจ โลจิสติคส์ ล็อกแอนด์ล็อก และซังจิน เออาร์พี

พาเลทแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์แต่ละตัวลดการปล่อยคาร์บอนได้ 67.3 กก. เท่ากับว่าพาเลท 400 ชิ้นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันได้ประมาณ 26,880 กก. เทียบเท่ากับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต้องใช้ต้นสนถึง 8,960 ต้นในการดูดซับ

พาเลทแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ยังช่วยลดคาร์บอนในมิติอื่น ๆ ตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ด้วย โดยเมื่อพาเลทแบบทั่วไปได้รับความเสียหายแล้ว พาเลทเหล่านี้มักถูกทิ้งจนกลายเป็นขยะ อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีพาเลทแบบโมดูลาร์ของซังจิน เออาร์พี (รอจดสิทธิบัตรในระดับนานาชาติ) ช่วยฟื้นฟูพาเลทที่เสียหายได้และรีไซเคิลส่วนที่พังได้ ซึ่งคาดว่าเทคโนโลยีนี้จะลดต้นทุนและการปล่อยคาร์บอนลงได้อีก

แม้พาเลทแบบใหม่นี้ผลิตขึ้นจากพลาสติกรีไซเคิล แต่ซีเจ โลจิสติคส์ยืนยันได้ว่า สมรรถนะและความแข็งแกร่งของพาเลทแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เทียบชั้นได้กับพาเลทที่ใช้กันเป็นมาตรฐาน และรองรับสินค้าบรรทุกได้ถึง 1 เมตริกตัน ผลลัพธ์เหล่านี้มาจากข้อมูลที่รวบรวมมาตลอดปีแรกที่นำพาเลทดังกล่าวมาใช้ที่ศูนย์โลจิสติกส์ของซีเจ โลจิสติคส์ ในเกาหลีใต้ นอกจากนี้ พาเลทแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ใช้ต้นทุนในการผลิตใกล้เคียงกับพาเลทพลาสติกมาตรฐานทั่วไป ซีเจ โลจิสติคส์จึงมีแผนที่จะหาพลาสติกเหลือใช้คุณภาพสูงมาใช้ผลิตพาเลทใหม่นี้เพื่อนำไปใช้ที่ศูนย์ดำเนินงานแห่งอื่น ๆ ทั่วโลก

"การนำพาเลทแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์มาใช้ ทำให้เราลดการปล่อยคาร์บอนไปพร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ศูนย์โลจิสติกส์ของเราในอินโดนีเซียได้" คุณจิน มก คิม (Jin Mok Kim) ประธานซีเจ โลจิสติคส์ อินโดนีเซีย กล่าว และเสริมว่า "เรากำลังมีแผนนำพาเลทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ไปใช้ที่ศูนย์ดำเนินงานแห่งอื่น ๆ ของเราทั่วโลก และปฏิบัติตามโมเดลธุรกิจโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นไปอีก"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซีเจ โลจิสติคส์ ได้ที่ https://www.cjlogistics.com/en/main

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1848790/image.jpg
คำบรรยายภาพ - ซีเจ โลจิสติคส์ นำพาเลทแบบคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล มาใช้ในศูนย์กระจายสินค้าในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

No comments:

Post a Comment