เมื่อไม่นานมานี้ แขกและพ่อค้าแม่ค้านับพันจากอุตสาหกรรมเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสทั่วประเทศจีน ได้มารวมตัวกันที่เมืองยวี่หลินของกว่างซี เพื่อร่วมมหกรรมเครื่องเทศ จีน-อาเซียน (China-ASEAN Expo Spices Exhibition) ประจำปี 2566 โดยมีนักลงทุนและผู้ซื้อจากประเทศต่าง ๆ กว่า 200 ราย เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย
สำนักงานประชาสัมพันธ์รัฐบาลเมืองยวี่หลินระบุว่า เมืองยวี่หลินนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสร้าง "ตัวบอกทิศ" และ "เครื่องวัด" คุณภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเทศของจีน จนได้กลายเป็นแนวทางใหม่ในการหาทาง "เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเลิศ" ของเมืองยวี่หลิน ขณะที่รายงานการดำเนินการดัชนีราคาเครื่องเทศ ซินหัว-ยวี่หลิน (Xinhua-Yulin Spice Price Indices Operation Report) ซึ่งบริการข้อมูลเศรษฐกิจจีนของสำนักข่าวซินหัว (Xinhua China Economic Information Service) จัดทำร่วมกับรัฐบาลประชาชนเทศบาลเมืองยวี่หลิน ก็ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในมหกรรมเครื่องเทศปีนี้ด้วย
ภูมิภาคกว่างซีเป็นผู้ผลิตเครื่องเทศรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของจีน ในขณะที่เมืองยวี่หลินได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองหลวงแห่งยาในภาคใต้" และ "เมืองหลวงของเครื่องเทศในภาคใต้" ทั้งยังเป็นผู้ปลูกและจัดจำหน่ายเครื่องเทศรายใหญ่ไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ทุกวันนี้มีเครื่องเทศที่พบได้ทั่วไปมากกว่า 200 ชนิดทั่วโลก ซึ่งกว่า 160 ชนิดในจำนวนนี้มีการซื้อขายในเมืองยวี่หลิน สถิติระบุว่ามีบริษัทประมาณ 800 แห่งที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องเทศในเมืองยวี่หลิน มีการจ้างงานกว่า 100,000 ตำแหน่งในห่วงโซ่อุตสาหกรรม และ 80% ของเครื่องเทศในจีนมีการซื้อขายที่นี่และจำหน่ายจากที่นี่
แหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนเครื่องเทศระดับเทียร์ 1 ที่ใหญ่ที่สุดของจีนอย่างตลาดซื้อขายแลกเลี่ยนเครื่องเทศนานาชาติยวี่หลิน (Yulin International Spice Exchange) นั้น มีผลิตภัณฑ์เครื่องเทศที่หลากหลายให้เลือกสรรอย่างน่าอัศจรรย์ โดยเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา ตลาดแห่งนี้มีการซื้อขายมากถึง 2.6 หมื่นล้านหยวน และคาดว่าตัวเลขในปีนี้จะสูงถึง 4 หมื่นล้านหยวน ในแต่ละวัน เครื่องเทศจากทั่วโลกจะมารวมกันที่นี่ จากนั้นขนส่งไปมณฑล ภูมิภาค และเขตเทศบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน และตลาดอีกหลายแห่งทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา คุณหลี่ ไห่ (Li Hai) ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท ยวี่หลิน ฟูต้า สไปซ์ เอ็กซ์เชนจ์ ดิจิทัล ไซแอนซ์ แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด (Yulin Fuda Spice Exchange Digital Science and Technology Co., Ltd.) กล่าวว่า "เครื่องเทศมากกว่า 50% ที่พบในเมืองยวี่หลินนำเข้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นจึงจำหน่ายไปยังตลาดรองทั่วประเทศผ่านตลาดยวี่หลิน"
การมีผลบังคับใช้ของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากแหล่งเดียวกันผ่านพิธีการศุลกากรได้ง่ายขึ้น ทั้งยังลดภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องเทศหลายประเภทด้วย ส่งเสริมการนำเข้าและส่งออกเครื่องเทศมากยิ่งขึ้น
หลังจากที่ได้เริ่มเฟสหนึ่งและเฟสสามของโครงการนี้ไปแล้ว ทางตลาดซื้อขายแลกเลี่ยนเครื่องเทศนานาชาติยวี่หลินก็เตรียมก้าวขึ้นเป็น "ด่านโลจิสติกส์เครื่องเทศนานาชาติยวี่หลิน" (Yulin International Spice Logistics Port) และเมืองยวี่หลินก็เตรียมเร่งสร้างศูนย์ค้าขายและศูนย์กระจายสินค้าเครื่องเทศระดับโลก
ที่มา: สำนักงานประชาสัมพันธ์รัฐบาลเมืองยวี่หลิน
ลิงก์ภาพประกอบข่าว:
ลิงก์: https://iop.asianetnews.net/view-attachment?attach-id=442912 คำบรรยายภาพ: พิธีเปิดตัวดัชนีราคาเครื่องเทศ ซินหัว-ยวี่หลิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน
สำนักงานประชาสัมพันธ์รัฐบาลเมืองยวี่หลินระบุว่า เมืองยวี่หลินนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสร้าง "ตัวบอกทิศ" และ "เครื่องวัด" คุณภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเทศของจีน จนได้กลายเป็นแนวทางใหม่ในการหาทาง "เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเลิศ" ของเมืองยวี่หลิน ขณะที่รายงานการดำเนินการดัชนีราคาเครื่องเทศ ซินหัว-ยวี่หลิน (Xinhua-Yulin Spice Price Indices Operation Report) ซึ่งบริการข้อมูลเศรษฐกิจจีนของสำนักข่าวซินหัว (Xinhua China Economic Information Service) จัดทำร่วมกับรัฐบาลประชาชนเทศบาลเมืองยวี่หลิน ก็ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในมหกรรมเครื่องเทศปีนี้ด้วย
ภูมิภาคกว่างซีเป็นผู้ผลิตเครื่องเทศรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของจีน ในขณะที่เมืองยวี่หลินได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองหลวงแห่งยาในภาคใต้" และ "เมืองหลวงของเครื่องเทศในภาคใต้" ทั้งยังเป็นผู้ปลูกและจัดจำหน่ายเครื่องเทศรายใหญ่ไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ทุกวันนี้มีเครื่องเทศที่พบได้ทั่วไปมากกว่า 200 ชนิดทั่วโลก ซึ่งกว่า 160 ชนิดในจำนวนนี้มีการซื้อขายในเมืองยวี่หลิน สถิติระบุว่ามีบริษัทประมาณ 800 แห่งที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องเทศในเมืองยวี่หลิน มีการจ้างงานกว่า 100,000 ตำแหน่งในห่วงโซ่อุตสาหกรรม และ 80% ของเครื่องเทศในจีนมีการซื้อขายที่นี่และจำหน่ายจากที่นี่
แหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนเครื่องเทศระดับเทียร์ 1 ที่ใหญ่ที่สุดของจีนอย่างตลาดซื้อขายแลกเลี่ยนเครื่องเทศนานาชาติยวี่หลิน (Yulin International Spice Exchange) นั้น มีผลิตภัณฑ์เครื่องเทศที่หลากหลายให้เลือกสรรอย่างน่าอัศจรรย์ โดยเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา ตลาดแห่งนี้มีการซื้อขายมากถึง 2.6 หมื่นล้านหยวน และคาดว่าตัวเลขในปีนี้จะสูงถึง 4 หมื่นล้านหยวน ในแต่ละวัน เครื่องเทศจากทั่วโลกจะมารวมกันที่นี่ จากนั้นขนส่งไปมณฑล ภูมิภาค และเขตเทศบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน และตลาดอีกหลายแห่งทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา คุณหลี่ ไห่ (Li Hai) ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท ยวี่หลิน ฟูต้า สไปซ์ เอ็กซ์เชนจ์ ดิจิทัล ไซแอนซ์ แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด (Yulin Fuda Spice Exchange Digital Science and Technology Co., Ltd.) กล่าวว่า "เครื่องเทศมากกว่า 50% ที่พบในเมืองยวี่หลินนำเข้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นจึงจำหน่ายไปยังตลาดรองทั่วประเทศผ่านตลาดยวี่หลิน"
การมีผลบังคับใช้ของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากแหล่งเดียวกันผ่านพิธีการศุลกากรได้ง่ายขึ้น ทั้งยังลดภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องเทศหลายประเภทด้วย ส่งเสริมการนำเข้าและส่งออกเครื่องเทศมากยิ่งขึ้น
หลังจากที่ได้เริ่มเฟสหนึ่งและเฟสสามของโครงการนี้ไปแล้ว ทางตลาดซื้อขายแลกเลี่ยนเครื่องเทศนานาชาติยวี่หลินก็เตรียมก้าวขึ้นเป็น "ด่านโลจิสติกส์เครื่องเทศนานาชาติยวี่หลิน" (Yulin International Spice Logistics Port) และเมืองยวี่หลินก็เตรียมเร่งสร้างศูนย์ค้าขายและศูนย์กระจายสินค้าเครื่องเทศระดับโลก
ที่มา: สำนักงานประชาสัมพันธ์รัฐบาลเมืองยวี่หลิน
ลิงก์ภาพประกอบข่าว:
ลิงก์: https://iop.asianetnews.net/view-attachment?attach-id=442912 คำบรรยายภาพ: พิธีเปิดตัวดัชนีราคาเครื่องเทศ ซินหัว-ยวี่หลิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน
No comments:
Post a Comment