เมืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอ่าวหยาโจวแห่งซานย่า
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศูนย์วิจัยหลังการเก็บเกี่ยวประยุกต์เขตร้อน (Tropical Applied Post-harvest Research Center) ในมณฑลไห่หนาน ประเทศจีน ได้เปิดตัวโครงการความร่วมมือกับสถาบันวิจัยพืชและอาหารแห่งนิวซีแลนด์ (New Zealand Institute for Plant and Food Research Limited) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมอบโซลูชันรักษาความสดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรเขตร้อนให้กับมณฑลไห่หนาน รวมถึงอุตสาหกรรมผักและผลไม้เขตร้อนระดับพรีเมียมทั่วโลก
นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 คณะผู้แทนจากมณฑลไห่หนานได้เดินทางเยือนประเทศนิวซีแลนด์หลายต่อหลายครั้งตามคำเชิญของสถาบันวิจัยพืชและอาหารแห่งนิวซีแลนด์ เพื่อร่วมมือกันในโครงการวิจัยหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรเขตร้อนอ่าวหยาโจว (Tropical Post-harvest Research Project-Yazhou Bay)
นอกจากนี้ การจัดตั้ง "ฐานความร่วมมือเมืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอ่าวหยาโจว-เทคโนโลยีรักษาความสดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรเขตร้อนของสถาบันวิจัยพืชและอาหารแห่งนิวซีแลนด์" ในเมืองซานย่า ยังถือเป็นหลักชัยสำคัญภายใต้ความร่วมมือทางการเกษตรระหว่างจีนกับนิวซีแลนด์อีกด้วย
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เมืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอ่าวหยาโจวแห่งซานย่าได้ให้ความสำคัญกับห่วงโซ่อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด โดยมีการพัฒนาระบบบูรณาการเพื่อสร้างแพลตฟอร์มทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ครอบคลุม เช่น ศูนย์นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์นานาชาติเมืองซานย่าและแพลตฟอร์ม CRO อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกในส่วนของการแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ การสร้างความร่วมมือ การลงทุน และการบ่มเพาะอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ พร้อมกับให้บริการด้านการทดสอบระดับโมเลกุล การตรวจจีโนไทป์ การทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ และบริการอีกมากมายสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่
จนถึงขณะนี้ เมืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอ่าวหยาโจวแห่งซานย่าสามารถดึงดูดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรสะสมราว 5.72 หมื่นล้านหยวน และดึงดูดบริษัทจดทะเบียน 9,310 แห่ง ทั้งยังบ่มเพาะบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงระดับชาติ 168 แห่ง รวมถึงสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยชั้นนำมากกว่า 30 แห่ง อาทิ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน สถาบันบัณฑิตเกษตรศาสตร์จีน มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง และมหาวิทยาลัยสมุทรศาสตร์แห่งประเทศจีน นอกจากนี้ บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวม 189 แห่ง เช่น ไชน่า ซี้ด กรุ๊ป (China Seed Group) ของจีน และเคดับเบิลยูเอส (KWS) ของเยอรมนี ก็ได้เข้ามาดำเนินงานในเมืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอ่าวหยาโจวแห่งซานย่าด้วยเช่นกัน
ในอนาคต เมืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอ่าวหยาโจวแห่งซานย่าจะเดินหน้ายกระดับจุดแข็งด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ นิเวศวิทยาทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายในการก้าวขึ้นเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงอิทธิพลในระดับนานาชาติสำหรับการแลกเปลี่ยนและการสร้างความร่วมมือในธุรกิจการเกษตร
ที่มา: เมืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอ่าวหยาโจวแห่งซานย่า
No comments:
Post a Comment