Thursday, December 17, 2015

Asia Plantation Capital ขยายโครงการปลูกเชื้อต้นกฤษณาในมาเลเซีย





          ตลอดปี 2558 ทางบริษัท Asia Plantation Capital ผู้บริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกที่มีรางวัลการันตีคุณภาพ ได้รุกขยายโครงการปลูกเชื้อและเพาะปลูกต้นกฤษณาพันธุ์เอควิลาเรียในมาเลเซีย อันเป็นสถานที่ตั้งของโรงงานแปรรูปไม้กฤษณาและกลั่นน้ำมันกฤษณาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่บริษัทเป็นผู้ก่อตั้งเอง โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินงานเมื่อเดือนมีนาคม 2558 โดยทีมวิจัยและพัฒนาของ Asia Plantation Capital จากประเทศไทย ภายใต้คำแนะนำของคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสานต่อความสำเร็จในการปลูกต้นกฤษณาอย่างยั่งยืนทั่วพื้นที่เพาะปลูกของบริษัททั้งในไทยและศรีลังกา


          ทีมวิจัยและพัฒนาบรรลุผลสำเร็จในการปลูกต้นกฤษณาจนโตเต็มที่ในมาเลเซีย (ในรัฐยะโฮร์ และใกล้กับกรุงกัวลาลัมเปอร์) ทั้งในพื้นที่เพาะปลูกที่บริษัทเป็นเจ้าของเองและร่วมทุนกับผู้อื่น สืบเนื่องจากการปลูกเชื้อต้นกฤษณาพันธุ์เอควิลาเรีย (สายพันธุ์: มาลัคเซนซิส ไซเนนซิส และสับอินทิกร้า) ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในรอบแรก การปลูกเชื้อรอบสองจึงเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2558 โดยพันธุ์ไม้ สภาพภูมิอากาศ ดิน ระดับความสูง และปริมาณน้ำ ล้วนมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการปลูกเชื้อ ปัจจัยเหล่านี้ทำงานควบคู่กับระบบที่มีประสิทธิภาพซึ่งบริษัทเป็นเจ้าของและพัฒนาขึ้นเองตามหลักวิทยาศาสตร์

          ไม้กฤษณาซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไม้ของเหล่าทวยเทพ" มาจากต้นกฤษณาพันธุ์เอควิลาเรียที่ใกล้สูญพันธุ์ ต้นกฤษณาจะผลิตแก่นไม้ที่มีลักษณะเป็นเรซินสีเข้มเนื้อแน่นออกมา อันเป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อเกิดการติดเชื้อ แต่ Asia Plantation Capital ใช้เทคโนโลยีปลูกเชื้อต้นไม้เพื่อกระตุ้นการติดเชื้อ จึงรับประกันว่าต้นไม้ทุกต้นจะผลิตเรซิน ซึ่งจะถูกนำไปสกัดและแปรรูปเป็นชิ้นไม้สับ บดเป็นผง หรือกลั่นเป็นน้ำมันกฤษณาที่มีมูลค่าสูงต่อไป

          ตามธรรมชาติแล้วมีต้นกฤษณาในป่าเพียง 7% (หรือน้อยกว่านั้น) ที่สามารถผลิตไม้กฤษณาได้ ส่งผลให้ไม้กฤษณาค่อนข้างหายากและมีราคาสูง ขณะเดียวกันจำนวนต้นกฤษณาในป่ากำลังค่อยๆหมดไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปลูกต้นกฤษณาและผลิตไม้กฤษณาอย่างยั่งยืนและมีจรรยาบรรณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีตัวเลขประมาณการว่า ไม้กฤษณามากถึงสองในสามในตลาดอาจมาจากแหล่งผลิตที่ผิดกฎหมาย

          "นี่เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเราในมาเลเซียและของทั้งบริษัท" สตีฟ วัตส์ ซีอีโอประจำเอเชียแปซิฟิกของ Asia Plantation Capital กล่าว "อย่างไรก็ดี ทุกท่านวางใจได้เลยว่าเราจะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ เราขอสัญญาว่าจะเดินหน้าวิจัยและพัฒนาระบบของเราอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้นไปและกำหนดเป็นมาตรฐานใหม่ที่ต้องทำตามให้ได้ อย่างตอนนี้เราก็ตั้งเป้าว่าจะปลูกเชื้อในส่วนอื่นๆของต้นไม้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งบริเวณกิ่งและราก ไม่ใช่แค่ส่วนลำต้นเพียงที่เดียว"

          เขากล่าวเสริมว่า "การผลิตไม้กฤษณาอย่างสม่ำเสมอและยั่งยืนจะทำให้การตัดไม้อย่างผิดกฎหมายลดลง ซึ่งจะฉุดความต้องการในตลาดมืดให้ลดลงตามไปด้วย เรามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน เราจึงทุ่มเงินลงทุนมหาศาลทั้งในและรอบๆชุมชนที่เราดำเนินงาน นอกจากนี้ เราจะแบ่งปันเทคโนโลยีให้แก่ผู้ปลูกและเกษตรกรรายย่อยทั่วเอเชีย ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการเพาะปลูกและการแปรรูปไม้กฤษณา และทำให้เกษตรกรเหล่านี้มีรายได้ ทางบริษัทยินดีที่ได้รู้ว่า ทุกสิ่งที่เราทำเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ไม่ใช่แค่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังสืบทอดไปถึงคนรุ่นต่อๆไปด้วย

          เพื่อตอบสนองความต้องการไม้กฤษณาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อช่วงต้นปีนี้ ทาง Asia Plantation Capital จึงเปิดโรงงานและศูนย์วิจัยไม้กฤษณาในเมืองยะโฮร์บาห์รู ประเทศมาเลเซีย โรงงานสุดล้ำสมัยแห่งนี้มีทั้งโรงกลั่นน้ำมันกฤษณา โรงแปรรูปชิ้นไม้สับ และโรงงานธูปหอม นอกจากนั้นยังมีศูนย์รับรองผู้มาเยือน พร้อมร้านค้าราคาโรงงานซึ่งมีผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาให้เลือกสรรอย่างจุใจ ซึ่งเป็นไปตามแผนงานการเปิดโรงงานแปรรูปขนาดใหญ่ในจุดยุทธศาสตร์ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง เพื่อตอบสนองความต้องการพร้อมส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับตลาดที่มีลักษณะเฉพาะอย่างจีนและตะวันออกกลาง

          Asia Plantation Capital ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมนี้ ได้ดำเนินการเพาะปลูกต้นกฤษณามาตั้งแต่ปี 2552 โดยเป็นผู้นำในด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคการปลูกเชื้อเพื่อกระตุ้นการเกิดแก่นไม้เรซิน ตามธรรมชาติแล้วต้นไม้ที่ติดเชื้อจะผลิตเรซินหลังผ่านไปอย่างน้อย 20 ปี แต่เมื่ออยู่ในพื้นที่เพาะปลูกที่ Asia Plantation Capital เป็นผู้ควบคุมดูแลแล้ว ต้นกฤษณาสามารถผลิตไม้กฤษณาภายในเวลาเพียง 7 ปี โดยในโครงการเพาะปลูกของ Asia Plantation Capital เรซินจากไม้กฤษณาถูกผลิตขึ้นระหว่างปีที่ 7-15 และถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทต่อไป

          ทีมวิจัยและพัฒนาของ Asia Plantation Capital ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านต้นกฤษณาพันธุ์เอควิลาเรีย การผลิตไม้กฤษณา และเทคนิคการกลั่นน้ำมันกฤษณา นอกจากนี้ ทีมวิจัยและพัฒนายังมีการประสานงานกับบรรดามหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วเอเชีย ทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถผลิตไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาที่เปี่ยมด้วยคุณภาพและปริมาณได้อย่างสม่ำเสมอ

          หมายเหตุถึงบรรณาธิการ:
          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

          ซาแมนธา ธาม
          ผู้บริหารฝ่ายการตลาด, สิงคโปร์
          อีเมล:samantha.tham@asiaplantationcapital.com
          มือถือ: +65 914 409 33

          สตีเวน วัตส์
          ซีอีโอ, เอเชียแปซิฟิก
          อีเมล:steve.watts@asiaplantationcapital.com
          มือถือ: +60 720 706 76

          เกี่ยวกับ Asia Plantation Capital

          ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมไม้กฤษณา Asia Plantation Capital ได้กรุยทางสู่การบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกอย่างยั่งยืนนับตั้งแต่ที่ได้ก่อตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2552 (แม้ว่าได้มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2545) ปัจจุบันบริษัทได้ลงทุนอย่างมหาศาลในภาคการเพาะปลูกของมาเลเซีย ทั้งการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกใหม่ๆ และตั้งโรงงานผลิตไม้กฤษณารวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ

          Asia Plantation Capital Group เป็นผู้ควบคุมดูแลและบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกอย่างยั่งยืนพร้อมรางวัลการันตีคุณภาพมากมาย บริษัทมีโครงการเพาะปลูกกระจายตัวอยู่ทั่วเอเชีย ยุโรป อเมริกา และแอฟริกา บริษัทมีคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบไปด้วยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญแถวหน้าจากนานาประเทศ (จีน ไทย มาเลเซีย อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ซึ่งได้ร่วมกันพัฒนาและจดสิทธิบัตรระบบและเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าของอุตสาหกรรม

          ความทุ่มเทที่มีต่อโครงการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์และธุรกิจแบบบูรณาการตามแนวดิ่งทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ต่อการค้า สิ่งแวดล้อม และชุมชน ส่งผลให้ Asia Plantation Capital กลายเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบ "triple bottom line" อันทรงพลังและประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การบูรณาการตามแนวดิ่งนำมาซึ่งโมเดลธุรกิจที่ปฏิบัติได้จริงและประสบผลสำเร็จ

No comments:

Post a Comment