Monday, June 20, 2016

นักวิจัยเผยทารกในครรภ์อายุ 16 สัปดาห์ขึ้นไปมีการตอบสนองต่อเสียงของมารดาผ่านทางช่องคลอด

          อุปกรณ์ขับเสียงที่ออกแบบขึ้นเป็นพิเศษเปิดโอกาสให้คุณแม่ได้สื่อสารกับลูกน้อยก่อนลืมตาดูโลก

          ข้อมูลดังกล่าวได้รับการเปิดเผยในการประชุม European Congress of Perinatal Medicine ครั้งที่ 25

          ทารกในครรภ์มีการขยับปากมากกว่าปกติเมื่อได้ยินเสียงมนุษย์ โดยเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ที่มีอายุ 16 สัปดาห์ขึ้นไป (ทารกยาว 11 ซม.) และเสียงนั้นต้องส่งผ่านทางช่องคลอดของมารดาโดยใช้อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ข้อมูลข้างต้นนี้นำเสนอโดยดร. อเล็กซ์ การ์เซีย-ฟอรา ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ Institut Marques ในระหว่างการประชุม European Congress of Perinatal Medicine ครั้งที่ 25 ณ เมืองมาสทริชต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์

         

          รับชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่
          http://www.multivu.com/players/uk/7859951-institut-marques-babies-react-mother-voice/

          ผลการวิจัยพบว่า ทารกในครรภ์แทบจะไม่ได้ยินเสียงจากภายนอก และจะตอบสนองต่อเสียงที่ส่งผ่านช่องคลอดของมารดาเท่านั้น ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าทารกแทบจะไม่ได้ยินเสียงที่ส่งผ่านท้องของมารดา การวิจัยนี้ได้ศึกษาการตอบสนองของทารกในครรภ์โดยใช้ Babypod(R) อุปกรณ์ขนาดเล็กที่สอดผ่านช่องคลอดในลักษณะเดียวกับผ้าอนามัยแบบสอด และมีการเชื่อมสัญญาณกับโทรศัพท์มือถือ ช่วยให้เสียงของมารดาหรือใครก็ตามสามารถส่งไปถึงทารกในครรภ์ได้

          ดร. อเล็กซ์ การ์เซีย-ฟอรา กล่าวว่า "เมื่อได้ยินเสียงพูดที่เราส่งผ่านทางช่องคลอดของมารดา ทารกในครรภ์จะตอบสนองด้วยการขยับอวัยวะที่ใช้ในการเปล่งเสียง ซึ่งการตอบสนองที่ว่านี้แตกต่างไปจากตอนที่เราส่งเสียงเพลงเข้าไป เนื่องจากเสียงเพลงและเสียงพูดกระตุ้นกลไกสมองคนละส่วนกัน โดยเสียงเพลงจะกระตุ้นระบบประสาทที่ส่งผลต่อความรู้สึก" จากการเปรียบเทียบปฏิกิริยาตอบสนองต่างๆที่เกิดขึ้นด้วยการอัลตราซาวด์ช่องท้อง พบว่า ทารกในครรภ์ 70% ขยับปากเมื่อได้ยินเสียงพูด และหากได้ยินเสียงเพลงทารกจะมีการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น แลบลิ้น

          การวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยที่ริเริ่มโดย Institut Marques เพื่อศึกษาประโยชน์ของเสียงเพลงในช่วงกำเนิดของชีวิต รวมถึงค้นหาคำตอบว่าทารกในครรภ์สามารถจำเสียงของมารดาได้หรือไม่ ซึ่งถือเป็นความท้าทายครั้งใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญท่านนี้กล่าวว่า "ทารกในครรภ์ตอบสนองต่อเสียงพูดทุกเสียงเหมือนกันหมด จึงเกิดคำถามใหม่ว่า ทารกที่ได้ยินเสียงพ่อแม่จากภายในครรภ์ จะสามารถจดจำเสียงพ่อแม่ได้หรือไม่ และสิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารได้หรือไม่"

          นอกจากจะเป็นช่องทางสื่อสารกับทารกในครรภ์แล้ว Babypod(R) ยังเป็นอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยและสามารถนำไปในทางการแพทย์ได้ โดยสามารถใช้ตรวจสอบว่าทารกในครรภ์มีอาการหูหนวกหรือไม่ ทั้งยังช่วยทำให้มองเห็นโครงสร้างทารกได้ชัดเจนขึ้นเมื่อทำอัลตราซาวด์ ด้วยการกระตุ้นให้ทารกเคลื่อนไหว

          รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://institutomarques.com/area-cientifica/musica-y-estimulacion-fetal  

          รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้จากช่องทางต่างๆ ดังนี้

          เว็บไซต์
          http://www.institutomarques.com
          http://www.babypod.net

          เฟซบุ๊ก
          http://www.facebok.com/musicinbaby/
          http://www.facebook.com/institutomarques

          ทวิตเตอร์: @_Babypod [https://twitter.com/_Babypod]

          ติดต่อ
          Institut Marques
          Mireia Folguera
          อีเมล: mireia.folguera@institutomarques.com
          โทร. +34-93-285-82-16 / 649-901-494

          Weber Shandwick
          Rocio Bueno
          อีเมล: rbueno@webershandwick.com
          โทร. +34-91-745-86-64

          (รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20160613/378315 )

          แหล่งข่าว: Institut Marques

No comments:

Post a Comment