- คนรุ่นใหม่มองอุตสาหกรรมพลังงานน่าสนใจน้อยลง ขณะที่แบรนด์ไลฟ์สไตล์กลับสร้างแรงดึงดูดมากขึ้น
นักศึกษาสาขาธุรกิจและวิศกรรม/ไอทีกว่า 267,000 คน ใน 12 ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกได้ร่วมตอบแบบสำรวจ Talent Survey ของยูนิเวอร์ซัม (Universum) ซึ่งจัดอันดับบริษัทที่คนยุคมิลเลนเนียลอยากร่วมงานด้วยมากที่สุด และผลสำรวจดังกล่าวนับเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
งานที่ดีต้องมีความสมดุล
นักศึกษาสาขาธุรกิจและวิศวกรรม/ไอทีต่างต้องการมีวิถีชีวิตที่สมดุลระหว่างการทำงานและการมีเวลาส่วนตัว ไลฟ์สไตล์ที่สมดุลเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกในการมองหางานของนักศึกษาทั้งสองสาขาในทุกประเทศ ยกเว้น อินเดีย ที่มองว่าการได้ทำงานในต่างแดนนั้นสำคัญกว่า และ รัสเซีย ที่ยกให้ความมั่นคงในหน้าที่การงานมาเป็นอันดับหนึ่ง
ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารต่างมีจุดเด่นที่คล้ายคลึงกัน
สำหรับประเทศส่วนใหญ่ที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา การปรับข้อเสนอให้เข้ากับบริบทท้องถิ่นเพื่อดึงดูดพนักงานกลุ่มเป้าหมายนั้นแทบจะไม่มีความจำเป็น ขณะเดียวกันความแตกต่างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทำให้ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าอะไรที่เป็นปัจจัยดึงดูด ทั้งนี้ ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากที่สุด ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ยูนิเวอร์ซัมได้สำรวจ
"กูเกิล" ยังครองใจนักศึกษาสาขาธุรกิจและวิศกรรม/ไอทีได้มากที่สุด แต่อย่าประมาท "แอปเปิล" ที่กำลังไล่ตามมาติดๆ
สำหรับนักศึกษาสาขาวิศวกรรม/ไอที กูเกิลยังคงครองอันดับ 1 ตามมาด้วยไมโครซอฟท์ แอปเปิล บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป และไอบีเอ็ม ซึ่งชิงอันดับ 5 มาจากจีอี ในส่วนของนักศึกษาสาขาธุรกิจ พบว่าแอปเปิลกำลังสั่นคลอนตำแหน่งผู้นำของกูเกิล เมื่อสามารถทำอันดับเลื่อนขึ้นถึง 5 ขั้น จากอันดับ 7 มาอยู่ที่อันดับ 2 ตามด้วยเอินส์ท แอนด์ ยัง (EY) และโกลด์แมน แซคส์ ขณะที่ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PwC) กลับร่วงถึง 3 อันดับลงไปอยู่ที่อันดับ 5
ด้านธนาคารต่างๆนั้นกำลังเผชิญกับความท้าทายในการช่วงชิงคนเก่งในสาขาธุรกิจเข้าทำงาน เนื่องจากต้องแข่งขันกับบรรดาบริษัทเทคโนโลยี จึงส่งผลให้อันดับของธนาคารบางแห่งลดลง อย่างไรก็ดี ธนาคารบางแห่งก็สามารถฉวยข้อได้เปรียบจากการที่นักศึกษาสาขาวิศกรรม/ไอทีสนใจร่วมงานกับบริษัทผู้ให้บริการทางการเงิน ทำให้อันดับของธนาคารเหล่านี้ปรับตัวสูงขึ้น
ขณะที่ระดับความน่าดึงดูดของอุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงที่ แต่สำหรับบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอันดับ โดยแบรนด์ "ไลฟ์สไตล์" ทำอันดับได้ดีกว่าแบรนด์ประเภทอื่นๆ เช่น ไนกี้ ซึ่งติดโผธุรกิจเป็นครั้งแรกในอันดับที่ 16 ส่วนอุตสาหกรรมพลังงานมีความน่าดึงดูดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันและก๊าซที่ตกต่ำ แต่ถึงกระนั้น บริษัทพลังงานทดแทนกลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่นักศึกษาทั้งสองสาขา
ยูนิเวอร์ซัม เป็นบริษัทวิจัย ให้คำปรึกษา และวางแผนกลยุทธิ์การสื่อสาร โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจเชิงลึก และความเชี่ยวชาญในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับนายจ้าง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและผลการจัดอันดับทั้งหมด กรุณาดูที่ http://bit.ly/WMAE2016
No comments:
Post a Comment