Friday, October 20, 2017

“ทีเส็บ” มองอุตสาหกรรมไมซ์ของไทยได้ประโยชน์จากโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก

          การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศไทยนั้น คาดว่าจะได้รับแรงผลักดันเพิ่มมากขึ้นจากยุทธศาสตร์การพัฒนา "ไทยแลนด์ 4.0" และ "โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก" (EEC) ของรัฐบาล เพื่อการลงทุนขยายสนามบินและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอื่นๆ
         

          แผนยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกที่รัฐบาลไทยได้ประกาศในปีนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดทางตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยคาดว่าจะดึงดูดการลงทุนร่วมจากภาครัฐและภาคเอกชนมากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ( 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในระยะเวลา 5 ปีแรกของการดำเนินโครงการ

          คุณจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (ทีเส็บ) ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐที่มีภารกิจในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมนานาชาติ และการจัดงานแสดงสินค้า (ไมซ์) กล่าวว่า "ตลอดเส้นทางสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 นั้น มีโอกาสมากมายให้ธุรกิจการจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดงานแสดงสินค้าได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน"

          คุณจิรุตถ์ได้กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ "Eastern Economic Corridor: Fast track to Thailand 4.0?" (โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก: ทางลัดสู่ไทยแลนด์ 4.0?) ซึ่งทีเส็บได้จัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนธุรกิจของไทยและต่างชาติ โดยประเทศไทยมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาทำธุรกิจทะลุ 1 ล้านคนเป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา

          "การลงทุนเป็นเรื่องดีสำหรับอุตสาหกรรมของเรา เพราะโครงสร้างพื้นฐานทั้งหลายเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสนามบิน ท่าเรือ รางรถไฟ และถนน ล้วนแล้วแต่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจัดงานแสดงสินค้า เพื่อนำประเทศไทยไปสู่ระดับที่สูงกว่าในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ" คุณทาลูน เทง นายกสมาคมการแสดงสินค้าไทย (TEA) กล่าว

          "EEC เป็นยุทธศาสตร์เพื่อผลักดันการดำเนินวิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0 ในทิศทางที่ถูกต้อง" ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าว "ความสำเร็จของ EEC ควรวัดจากความสามารถด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นของประเทศ"

          ข้อมูลจาก TDRI ระบุว่า อู่ตะเภา สนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีแผนการลงทุนมูลค่า 2 แสนล้านบาท (5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ถือเป็น "เสาหลักของ EEC" และจะดึงดูดนักลงทุนระดับโลกเข้ามาลงทุน เนื่องจากมีข้อได้เปรียบในด้านทำเลที่ตั้ง นอกจากนี้จะมีการเพิ่มทางวิ่ง (รันเวย์) และอาคารผู้โดยสารอีก 2 แห่งที่สนามบิน เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ที่แข็งแกร่ง

          ทั้งนี้ การลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่ EEC จะได้รับมาตรการจูงใจพิเศษมากมาย เช่น ภาษี การเช่าที่ดินระยะยาว และการลัดขั้นตอนระเบียบราชการที่ยุ่งยาก เป็น

          สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (ทีเส็บ)
          อีเมล: jutarat_a@tceb.or.th
          โทร: +66-2-694-6000

No comments:

Post a Comment