หนึ่งในกิจกรรมหลักคือ การประชุมแบ่งปันกรณีศึกษาที่น่าสนใจทั่วประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวและช่วยต่อสู้กับความยากจนได้
ยกตัวอย่างเช่น วังอ๋องแห่งจิ้งเจียง (Jingjiang Princes' City) สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดี ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างมาก
วังอ๋องแห่งจิ้งเจียง ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1915 ครอบคลุมพื้นที่ราว 200,000 ตารางเมตร เป็นพระราชวังของเจ้าชายแห่งราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911-2187) รวมทั้งสิ้น 14 พระองค์
เจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นเปิดเผยว่า "เพื่อคืนชีวิตให้กับวังอ๋องแห่งจิ้งเจียง เมืองกุ้ยหลินได้ขุดค้นและทำความสะอาดทางโบราณคดี และปรับภูมิทัศน์สุสานของเจ้าชาย 11 สุสาน นอกจากนั้นยังทำการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างผิดกฎหมายบริเวณกำแพงวัง เพื่อเผยความงามของกำแพงโบราณ"
นอกเหนือจากความพยายามของภาครัฐในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติแล้ว ประชาชนยังมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมด้วย
ภายในงานยังมีการจัดพิธีมอบรางวัลให้แก่บุคคลที่สร้างคุณูปการต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
ถัง อี้จิน วัย 76 ปี จากหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองกุ้ยหลิน อุทิศตนเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมมานานหลายปี โดยในปี 2552 เขาได้ซื้อกลุ่มอาคารที่อยู่อาศัยโบราณที่ตั้งอยู่ทางเหนือของกว่างซี ก่อนจะย้ายไปยังที่ใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกรื้อถอนอันเนื่องมาจากการขยายเส้นทางรถไฟ
ในโอกาสนี้ เขากล่าวอย่างตื่นเต้นว่า "รางวัลอันทรงเกียรตินี้เป็นทั้งผลตอบแทนและแรงกระตุ้น ผมจะเดินหน้าอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมต่อไปในอนาคต"
นอกจากนี้ เมืองกุ้ยหลินได้จัดตั้งฮอลล์เปิดประสบการณ์มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยเน้นไปที่ผลงานศิลปะและการแสดงโอเปร่า
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีนได้ยกระดับการลงทุนและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ปี 2561 กว่างซีได้สร้างพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง ส่งผลให้จำนวนพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 252 แห่ง และมีผู้เยี่ยมชมเกือบ 20 ล้านคนต่อปี จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่กรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวกว่างซี (เรียบเรียงโดย หู ผิงเฉา จาก Xinhua Silk Road อีเมล: hupingchao@xinhua.org)
No comments:
Post a Comment