Tuesday, January 19, 2021

โครงการในประเทศไทยได้รับเลือกขึ้นบนแพลตฟอร์มไฮโดรเจนของ COP21

 สหภาพยุโรปประกาศแพลตฟอร์ม Global Hydrogen Valley Mission Innovation มี 32 โครงการต้นแบบด้านไฮโดรเจน


โครงการบ้านผีเสื้อของประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 32 โครงการต้นแบบด้านไฮโดรเจนทั่วโลกบนแพลตฟอร์ม Hydrogen Valley ของ Mission Innovation แพลตฟอร์มนี้นำเสนอโครงการชั้นนำที่เรียกว่า "Hydrogen Valleys" เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้พัฒนาโครงการที่ส่งไปถึงผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก


จากการประกาศโครงการไฮโดรเจนชั้นนำของโลกโดยคณะกรรมาธิการยุโรป มีโครงการบ้านผีเสื้อที่พัฒนาโดย Enapter หนึ่งในบริษัทไฮโดรเจนที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกในขณะนี้ โครงการนี้สร้างขึ้นในปี 2015 เป็นกลุ่มอาคารบ้านพักแห่งแรกของโลกที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ควบคู่กับระบบกักเก็บพลังงานไฮโดรเจน ผลิตไฟฟ้าใช้เองทั้งหมด ที่สำคัญโครงการบ้านผีเสื้อเป็นเพียงโครงการเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Hydrogen Valley และเป็นหนึ่งในไม่กี่โครงการที่มีการใช้งานจริง จาก Hydrogen Valley อื่น ๆ ที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา


แนวคิด Mission Innovation ริเริ่มจากการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 (COP21) ที่กรุงปารีส เมื่อปี 2015 เพื่อกระตุ้นและขับเคลื่อนนวัตกรรมพลังงานสะอาดในระดับโลก การเปิดตัวแพลตฟอร์มในวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นการแก้ไขปัญหาความท้าทายด้านนวัตกรรม 1 ใน 8 ด้าน นำโดยประเทศออสเตรเลีย เยอรมนี และสหภาพยุโรป ในฐานะผู้นำร่วมของเป้าหมายด้านพลังงานทดแทนและไฮโดรเจนสะอาด


"ประเทศไทยตั้งเป้าให้มีสัดส่วนพลังงานทดแทน 30% ภายในปี 2037 ทั้งนี้ ความท้าทายไม่ใช่แค่การผลิตพลังงานสะอาดเพียงอย่างเดียว แต่ประเทศไทยเห็นว่าการกักเก็บพลังงานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เราจึงยินดีที่ทราบว่าประเทศไทยมีโครงการบ้านผีเสื้อ อยู่ในแพลตฟอร์ม Hydrogen Valley ของ Mission Innovation และหวังว่าบ้านผีเสื้อจะไม่เป็นเพียงโครงการเดียวแต่เป็นโครงการแรกของอีกหลาย ๆ โครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต"


- ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน


"ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของโครงการเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นคือ โครงการบ้านผีเสื้อ อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการที่แสดงให้เห็นว่าพลังงานไฮโดรเจนสามารถนำมาใช้ได้แล้วในวันนี้ เป็นต้นแบบของ Enapter บริษัทสัญชาติเยอรมันที่เป็นตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือระหว่างไทย-เยอรมัน"


- Georg Schmidt เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย


บ้านผีเสื้อเป็นกลุ่มอาคารบ้านพักที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ควบคู่กับระบบกักเก็บพลังงานแบบไฮบริดไฮโดรเจนร่วมกับแบตเตอรี่และเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน โครงการต้นแบบนี้พัฒนาโดยนายเซบาสเตียน ยุสตุส ชมิดท์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Enapter ผู้ผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์เทคโนโลยี AEM ที่ติดตั้งอยู่ในโครงการบ้านผีเสื้อ ทำงานโดยการผลิตไฮโดรเจนจากน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์


Enapter เป็นผู้ผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์เทคโนโลยี AEM รายเดียวของโลก ที่มีประสิทธิภาพสูงและทำงานแบบโมดูลาร์ เครื่องผลิตไฮโดรเจนชนิดนี้ถูกใช้อยู่ในกลุ่มลูกค้ามากกว่า 100 ราย กระจายอยู่กว่า 30 ประเทศ Enapter ได้เลือกประเทศเยอรมนีเป็นฐานผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์แห่งใหม่ จะเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2022 ฐานผลิตแห่งใหม่จะสามารถผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ได้มากกว่า 100,000 โมดูลต่อปี


"บ้านผีเสื้อทำให้เรารู้แล้วว่าเราเป็นได้มากกว่า เราทำได้มากกว่า และได้จารึกสิ่งเล็ก ๆ นี้ไว้ในประวัติศาสตร์เทคโนโลยีที่จังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้ ผมขอแสดงความยินดีกับโครงการบ้านผีเสื้อและผู้ก่อตั้งโครงการ คุณเซบาสเตียน ยุสตุส ชมิดท์ และบริษัท Enapter สำหรับความสำเร็จในครั้งนี้"


-  นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่


ดาวน์โหลดเอกสารสำหรับสื่อได้ที่ https://www.enapter.com/mission-innovation-hydrogen  


เกี่ยวกับ Enapter


Enapter เป็นบริษัทที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในฐานะผู้ผลิตเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยี AEM ที่มีประสิทธิภาพสูงและทำงานแบบโมดูลาร์ ด้วยสิทธิบัตรเทคโนโลยีที่มีการใช้งานมานานกว่า 10 ปีทำให้อิเล็กโทรไลเซอร์ของเรามีเอกลักษณ์พิเศษ ต้นทุนต่ำ และขนาดกะทัดรัด เทคโนโลยีนี้มีการใช้อยู่ในกว่า 30 ประเทศทั่วโลกทั้งในอุตสาหกรรมพลังงาน ขนส่ง โทรคมนาคม การผลิตความร้อน และอื่น ๆ Enapter มีสำนักงานอยู่ในประเทศอิตาลี เยอรมนี ไทย และรัสเซีย


รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1422392/Phi_Suea_House_Main_house.jpg

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1312105/Enapter_Logo.jpg


ติดต่อ

Vaitea Cowan

หัวหน้าฝ่ายสื่อสาร

อีเมล: vaitea@enapter.com 

โทร: (+49) 030-339-413-80


No comments:

Post a Comment