Wednesday, April 28, 2021

สถาบันราอูลวอลเลนเบิร์กว่าด้วยกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม กำหนดเป้าหมายในการรับรองน้ำที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

 


RWI มุ่งสร้างความตระหนักของประชาชนเกี่ยวกับน้ำดื่มที่ปลอดภัยซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างชีวิตที่มีศักดิ์ศรีสำหรับทุกคน

ผู้คนมากกว่า 100 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ชีวิตโดยปราศจากการใช้น้ำที่ปลอดภัยอันเป็นผลมาจากมลพิษ การใช้น้ำมากเกินไป ความแห้งแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทางน้ำ เขื่อน และการปนเปื้อน โดยสถาบันราอูลวอลเลนเบิร์กว่าด้วยกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม (RWI) องค์กรไชน่า ไดอะล็อก (China Dialogue) และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิบน์ ค็อลดูน ในเมืองโบโกร์ ประเทศอินโดนีเซีย เผยแพร่รายงานฉบับล่าสุดในหัวข้อสิทธิในการใช้น้ำที่ปลอดภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศต่าง ๆ ที่เคารพ ปฏิบัติตาม และปกป้องสิทธิในการใช้น้ำที่ปลอดภัย ล้วนมีมุมมองที่ดีกว่าในการจัดการปัญหาน้ำประปา และรับรองผลประโยชน์ด้านสิทธิมนุษยชนทั้งหมดอย่างครบถ้วน

วิกเตอร์ เบอร์นาร์ด เจ้าหน้าที่โครงการ RWI ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า "รายงานสิทธิในการใช้น้ำที่ปลอดภัยเน้นย้ำว่า ประเทศในอาเซียนควรได้รับการชมเชยเนื่องจากพวกเขาได้ดำเนินการขั้นตอนสำคัญในการตระหนักถึงสิทธิในการมีน้ำดื่มที่ปลอดภัยในรูปแบบที่แบ่งแยกไม่ได้ และเป็นรากฐานสำหรับการบรรลุสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอื่น ๆ มากมาย"

การตระหนักถึงสิทธิการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยในฐานะสิทธิแบบแยกเดี่ยวหรือส่วนหนึ่งของสิทธิในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ

ประเทศอาเซียนต่างตระหนักว่า สิทธิการเข้าถึง "น้ำดื่มที่ปลอดภัยและสุขอนามัย" และ "สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด และยั่งยืน" คือสิ่งที่จำเป็นต้องมี ก่อนที่จะตระหนักถึงสิทธิของมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสมในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปี 2555 อย่างไรก็ดี อาเซียนยังไม่มีสนธิสัญญาหรือเครื่องมือทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนสิทธิดังกล่าวโดยเฉพาะ

ผู้เขียนรายงานสิทธิในการใช้น้ำที่ปลอดภัย เสนอว่าประเทศในอาเซียนควร

  • ปกป้องการรับรองสิทธิการใช้น้ำตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ
  • พัฒนาและดำเนินการตามมาตรฐานด้านสุขภาพที่แข็งแกร่งในกฎหมายสำหรับสารปนเปื้อนในน้ำ สารเคมีอุตสาหกรรม และมลพิษจากยาฆ่าแมลงที่คุกคามสิทธิในการใช้น้ำที่ปลอดภัย
  • เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำ สุขาภิบาล และบริการด้านน้ำอย่างเต็มที่
  • สนับสนุนบริการด้านสุขาภิบาลและหลักประกันถ้วนหน้ามากขึ้น
  • ส่งเสริมแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการสุขาภิบาลสำหรับชุมชนในชนบทและชุมชนที่ด้อยโอกาส เช่น ระบบสุขาภิบาลโดยรวมที่นำโดยชุมชน
  • เลือกการจัดหาน้ำสาธารณะหรือเทศบาลที่จะช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงและช่วยกำหนดนโยบายน้ำแบบบูรณาการมากขึ้น

ดาวน์โหลด " สิทธิในการใช้น้ำที่ปลอดภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " ที่นี่ (https://rwi.or.id/publications/post/right-safe-water-southeast-asia)

No comments:

Post a Comment