ดร.ปิแอร์ แวร์ลินเดน (Pierre Verlinden) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของทรินา โซลาร์ (Trina Solar) เปิดเผยในการประชุมและนิทรรศการพลังงานแสงอาทิตย์แห่งยุโรป (European Photovoltaic Solar Energy Conference and Exhibition) ว่า "เซลล์แสงอาทิตย์ต้องทั้งเสถียรและน่าเชื่อถือ โดยเทคโนโลยีที่มีอยู่เป็นเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและใช้งานได้จริงที่สุดในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"
งานนี้เป็นการประชุมที่ครบเครื่องและทรงอิทธิพลที่สุดในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจัดขึ้นที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เมื่อวันที่ 18 ถึง 22 กันยายน ที่ผ่านมา
ดร.ปิแอร์ แวร์ลินเดน เปิดเผยในการประชุมโต๊ะกลมว่า ทรินา โซลาร์ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่คุ้มค่าและยั่งยืนที่สุดในขณะนี้ บริษัทฯ ได้ทุ่มลงทุนไปอย่างมหาศาลในการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี และเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีท็อปคอน (TOPCon) ในปี 2558 เกือบจะในทันทีหลังจากเปิดตัว PERC ซึ่งวางรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์กลุ่มเอ็นไทป์ (n-type) ทรินา โซลาร์ ได้เริ่มผลิตโมดูลซีรีส์เวอร์เท็กซ์ เอ็น (Vertex N) ขนาด 700W+ จำนวนมากในเดือนสิงหาคม จนกลายเป็นผู้ผลิตโมดูลรายแรกที่ผลิตโมดูลท็อปคอนที่มีกำลังเกิน 700W ในปริมาณมากได้
อเดล จ้าว (Adele Zhao) หัวหน้าฝ่ายโซลูชันและการตลาดผลิตภัณฑ์ประจำภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ของทรินา ซึ่งร่วมงานที่กรุงลิสบอนเช่นกัน ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อถนนสู่เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (The Road to Sustainable Technology) โดยแนะนำเทคโนโลยีล่าสุด ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน และโซลูชันพลังงานอัจฉริยะของบริษัทฯ
โมดูลเวอร์เท็กซ์ เอ็น ที่มีความน่าเชื่อถือสูงได้ผ่านการทดสอบ Thresher Test ของศูนย์ทดสอบพลังงานทดแทน (Renewable Energy Test Center) ในเมืองฟรีมอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งแสดงให้เห็นสมรรถนะอันยอดเยี่ยม โดยประสิทธิภาพอันเหนือชั้นของโมดูลซีรีส์เวอร์เท็กซ์ เอ็น 700W ของทรินา โซลาร์ ทำให้พีวี อีโวลูชัน แล็บส์ (PV Evolution Labs) ในเมืองนาปา รัฐแคลิฟอร์เนีย ยกให้ทรินา โซลาร์ ติดกลุ่มผู้ทำผลงานยอดเยี่ยม (Top Performer) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9
ความเหนือชั้นของโมดูลเวอร์เท็กซ์ เอ็น โดดเด่นขึ้นไปอีกขั้นด้วยการออกแบบ "ขนาดมาตรฐานทองคำ" มาในขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งช่วยเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุดและลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE) ขณะที่การรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ช่วยป้องกันไม่ให้วัสดุมีค่าต้องไปจบที่หลุมฝังกลบ และสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วย
ทรินา โซลาร์ มุ่งลดความจำเป็นในการเปลี่ยนโมดูล ขณะเดียวกันก็เพิ่มผลผลิตพลังงานตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ โดยโมดูลเวอร์เท็กซ์ขนาด 210 มม. ทั้งหมดนั้นได้รับใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากทียูวี ไรน์แลนด์ (T?V Rheinland) เมื่อปีที่แล้ว ส่วนโมดูลเวอร์เท็กซ์ เอสพลัส (Vertex S+) ของบริษัทฯ ก็ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 11% เมื่อพลาสติกในแผ่นรองด้านหลังถูกแทนที่ด้วยแก้ว ซึ่งนำไปรีไซเคิลได้
คุณอเดลกล่าวในสุนทรพจน์ของเธอว่า โลกต้องผนึกกำลังส่งเสริมความยั่งยืน และทรินา โซลาร์ จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์และการจัดเก็บแบบบูรณาการ เพื่อผลักดันความก้าวหน้าอย่างใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงและคาร์บอนต่ำ ตามสโลแกน "พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อทุกคน" (Solar Energy for All)
นับจนถึงปลายเดือนมิถุนายน พลังงานสีเขียวทั้งหมดที่ทรินา โซลาร์ ผลิตได้อยู่ที่ 2.025 แสนล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 201.89 ล้านตัน
เมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา หอการค้าสหภาพยุโรปในประเทศจีนได้ยกย่องทรินา โซลาร์ ติดกลุ่มผู้นำในการลดการปล่อยคาร์บอน จากความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนต่ำและการบรรเทาผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทั้งนี้ ทรินา โซลาร์ มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะ และอำนวยความสะดวกในการยกระดับระบบไฟฟ้า เพื่อสร้างอนาคตที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
ดร.ปิแอร์ แวร์ลินเดน เปิดเผยในการประชุมโต๊ะกลมว่า ทรินา โซลาร์ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่คุ้มค่าและยั่งยืนที่สุดในขณะนี้ บริษัทฯ ได้ทุ่มลงทุนไปอย่างมหาศาลในการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี และเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีท็อปคอน (TOPCon) ในปี 2558 เกือบจะในทันทีหลังจากเปิดตัว PERC ซึ่งวางรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์กลุ่มเอ็นไทป์ (n-type) ทรินา โซลาร์ ได้เริ่มผลิตโมดูลซีรีส์เวอร์เท็กซ์ เอ็น (Vertex N) ขนาด 700W+ จำนวนมากในเดือนสิงหาคม จนกลายเป็นผู้ผลิตโมดูลรายแรกที่ผลิตโมดูลท็อปคอนที่มีกำลังเกิน 700W ในปริมาณมากได้
อเดล จ้าว (Adele Zhao) หัวหน้าฝ่ายโซลูชันและการตลาดผลิตภัณฑ์ประจำภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ของทรินา ซึ่งร่วมงานที่กรุงลิสบอนเช่นกัน ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อถนนสู่เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (The Road to Sustainable Technology) โดยแนะนำเทคโนโลยีล่าสุด ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน และโซลูชันพลังงานอัจฉริยะของบริษัทฯ
โมดูลเวอร์เท็กซ์ เอ็น ที่มีความน่าเชื่อถือสูงได้ผ่านการทดสอบ Thresher Test ของศูนย์ทดสอบพลังงานทดแทน (Renewable Energy Test Center) ในเมืองฟรีมอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งแสดงให้เห็นสมรรถนะอันยอดเยี่ยม โดยประสิทธิภาพอันเหนือชั้นของโมดูลซีรีส์เวอร์เท็กซ์ เอ็น 700W ของทรินา โซลาร์ ทำให้พีวี อีโวลูชัน แล็บส์ (PV Evolution Labs) ในเมืองนาปา รัฐแคลิฟอร์เนีย ยกให้ทรินา โซลาร์ ติดกลุ่มผู้ทำผลงานยอดเยี่ยม (Top Performer) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9
ความเหนือชั้นของโมดูลเวอร์เท็กซ์ เอ็น โดดเด่นขึ้นไปอีกขั้นด้วยการออกแบบ "ขนาดมาตรฐานทองคำ" มาในขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งช่วยเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุดและลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE) ขณะที่การรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ช่วยป้องกันไม่ให้วัสดุมีค่าต้องไปจบที่หลุมฝังกลบ และสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วย
ทรินา โซลาร์ มุ่งลดความจำเป็นในการเปลี่ยนโมดูล ขณะเดียวกันก็เพิ่มผลผลิตพลังงานตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ โดยโมดูลเวอร์เท็กซ์ขนาด 210 มม. ทั้งหมดนั้นได้รับใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากทียูวี ไรน์แลนด์ (T?V Rheinland) เมื่อปีที่แล้ว ส่วนโมดูลเวอร์เท็กซ์ เอสพลัส (Vertex S+) ของบริษัทฯ ก็ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 11% เมื่อพลาสติกในแผ่นรองด้านหลังถูกแทนที่ด้วยแก้ว ซึ่งนำไปรีไซเคิลได้
คุณอเดลกล่าวในสุนทรพจน์ของเธอว่า โลกต้องผนึกกำลังส่งเสริมความยั่งยืน และทรินา โซลาร์ จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์และการจัดเก็บแบบบูรณาการ เพื่อผลักดันความก้าวหน้าอย่างใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงและคาร์บอนต่ำ ตามสโลแกน "พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อทุกคน" (Solar Energy for All)
นับจนถึงปลายเดือนมิถุนายน พลังงานสีเขียวทั้งหมดที่ทรินา โซลาร์ ผลิตได้อยู่ที่ 2.025 แสนล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 201.89 ล้านตัน
เมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา หอการค้าสหภาพยุโรปในประเทศจีนได้ยกย่องทรินา โซลาร์ ติดกลุ่มผู้นำในการลดการปล่อยคาร์บอน จากความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนต่ำและการบรรเทาผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทั้งนี้ ทรินา โซลาร์ มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะ และอำนวยความสะดวกในการยกระดับระบบไฟฟ้า เพื่อสร้างอนาคตที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
No comments:
Post a Comment