โลกยังคงเผชิญกับความท้าทายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว การระบาดของโรค และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้สุขภาพจิตของพนักงานกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องใส่ใจ ธีมวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) ปีนี้คือ "สุขภาพจิตในที่ทำงาน" (Mental Health at Work) เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจสำคัญให้องค์กรต่าง ๆ ลุกขึ้นมาดูแลสุขภาพจิตและสุขภาวะของพนักงาน อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) จึงขอเชิญชวนให้องค์กรทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิตที่ดีและความยืดหยุ่นในการรับมือกับปัญหาของบุคลากร
ความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้น
วิกฤตการณ์โลกที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น ประกอบกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ระดับความเครียดและความวิตกกังวลพุ่งสูงขึ้น และยิ่งซ้ำเติมปัญหาสุขภาพจิตของแรงงานทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีผู้ใหญ่วัยทำงานประมาณ 15% ที่กำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต1
นอกจากนี้ ข้อมูลความช่วยเหลือของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส2 พบว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสุขภาพจิต 5 อันดับแรกที่พนักงานขอรับความช่วยเหลือมากที่สุด ได้แก่
- ความวิตกกังวล
- โรคซึมเศร้า
- โรคแพนิค
- โรคสมาธิสั้น (ADHD)
- ความเครียดเฉียบพลัน
ภาวะหมดไฟก็เป็นอีกปัญหาสำคัญของพนักงาน โดยพนักงาน 1 ใน 4 ทั่วโลกรายงานว่ามีอาการหมดไฟ3 รายงานประเมินแนวโน้มความเสี่ยง ประจำปี 2567 จากอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS Risk Outlook 2024) ชี้ว่า ภาวะหมดไฟของพนักงานเป็นภัยคุกคามสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร4
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาสุขภาพจิตก็เป็นอีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ WHO ประเมินว่าทั่วโลกต้องสูญเสียวันทำงานไปประมาณ 1.2 หมื่นล้านวันต่อปีเนื่องจากภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล ส่งผลให้สูญเสียผลิตภาพคิดเป็นมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี1 ตัวเลขเหล่านี้ตอกย้ำถึงความสำคัญที่นายจ้างต้องสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี และชี้ให้เห็นถึงต้นทุนมหาศาลที่จะต้องจ่าย หากมีการละเลยปัญหาสุขภาพจิตและสุขภาวะของพนักงาน ด้วยเหตุนี้ องค์กรต่าง ๆ จึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของสุขภาพจิตด้วยการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมสุขภาวะของพนักงาน
ดร. แคทเธอรีน โอไรลี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ประจำภูมิภาคของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า "วันสุขภาพจิตโลกเป็นเครื่องเตือนใจให้องค์กรต่าง ๆ เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงาน สภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาพจิตของพนักงาน ทั้งในทางบวกและทางลบ โดยที่ทำงานอาจจะส่งเสริมสุขภาวะ หรือมิฉะนั้นก็เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวล เช่นเดียวกับที่เราลงทุนในด้านความปลอดภัยทางกายภาพของพนักงาน เราต้องตระหนักด้วยว่าสุขภาพจิตเป็นส่วนสำคัญของสุขภาพโดยรวม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นของจิตใจในการรับมือกับปัญหา"
"องค์กรต่าง ๆ สามารถเสริมศักยภาพให้พนักงานรับมือกับความท้าทาย การเติบโตและก้าวหน้า และมีส่วนร่วมในการสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เป็นบวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการสร้างบรรยากาศที่เกื้อหนุนกัน ส่งเสริมการสื่อสารอย่างเปิดเผย ความเห็นอกเห็นใจ และความเข้าใจ การเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต บริการให้คำปรึกษา และโปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าพนักงานมีความพร้อมที่จะรับมือกับความซับซ้อนของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน"
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ขอแนะนำองค์กรต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนสุขภาพจิตและสุขภาวะของพนักงาน ดังนี้
- ปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานที่เกื้อหนุนกัน โดยเริ่มจากความมุ่งมั่นของผู้บริหาร: สร้างวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ให้ความสำคัญและส่งเสริมการพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพจิตอย่างเปิดเผย ดูแลให้แนวทางการส่งเสริมสุขภาพจิตสอดคล้องกับนโยบายที่เกี่ยวข้องและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ อย่างราบรื่น เพื่อให้การสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง
- จัดเตรียมทรัพยากรที่สามารถเข้าถึงได้: จัดเตรียมชุดเครื่องมือด้านสุขภาพจิตที่พนักงานสามารถเข้าถึงได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว ตั้งแต่การให้คำปรึกษาไปจนถึงชุดคู่มือหรือแนะแนวด้วยตนเอง
- ส่งเสริมความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว: เสนอรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นและการทำงานทางไกล เพื่อช่วยให้พนักงานบริหารจัดการชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้พนักงานได้หยุดพักอย่างสม่ำเสมอ และให้พนักงานเป็นผู้กำหนดลำดับความสำคัญของสุขภาวะของตนเอง
- การฝึกอบรมและให้ความรู้: ดำเนินโครงการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพจิตอย่างครอบคลุมเพื่อลดการตีตรา จัดการฝึกอบรมด้านสุขภาพจิตเพื่อให้ทุกคนรับรู้ เข้าใจ และช่วยเหลือในประเด็นที่เกี่ยวกับความท้าทายด้านสุขภาพจิต
- ติดตามและประเมินผล: ติดตามสอบถามความคิดเห็นและคอยเฝ้าระวังสุขภาพจิตของพนักงานอย่างต่อเนื่องผ่านการทำแบบสำรวจและแบบประเมิน เพื่อปรับโปรแกรมตามความจำเป็น
- ลงทุนในด้านสุขภาวะทางอารมณ์: จัดให้มีกิจกรรมในการฝึกสติการรับรู้และการจัดการความเครียด ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่ได้รับการรับรองเพื่อให้บริการให้คำปรึกษาและสนับสนุนอย่างเป็นความลับ
- โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (Employee Assistance Programs หรือ EAPs): จัดให้มี EAPs ที่ให้คำปรึกษาที่เป็นความลับและบริการสนับสนุนแก่พนักงาน ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานทราบถึงบริการและประโยชน์ของ EAPs เพื่อส่งเสริมให้พนักงานกล้าขอความช่วยเหลือโดยไม่ต้องกลัวการถูกตีตรา เสริมสร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้างและให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน
About the International SOS Group of Companies
The International SOS Group of Companies is in the business of saving lives and protecting your global workforce from health and security threats. Wherever you are, we deliver customised health, security risk management and wellbeing solutions to fuel your growth and productivity. In the event of extreme weather, an epidemic or a security incident, we provide an immediate response, providing peace of mind. Our innovative technology and medical and security expertise focus on prevention, offering real-time, actionable insights and on-the-ground quality delivery. We help protect your people and your organisation's reputation and support compliance reporting needs. By partnering with us, organisations can fulfil their Duty of Care responsibilities while empowering business resilience, continuity, and sustainability.
Founded in 1985, the International SOS Group, headquartered in London & Singapore, is trusted by over 9,000 organisations. This includes the majority of the Fortune Global 500. As well as mid-size enterprises, governments, educational institutions, and NGOs. Nearly 12,000 multi-cultural security, medical, logistics and digital experts stand with you to provide support & assistance from over 1,200 locations in 90 countries, 24/7, 365 days. Between them, International SOS employees speak nearly 100 languages and dialects in our Assistance Centres, Clinics, and offices.
To protect your workforce, we are at your fingertips: www.internationalsos.com
----------
- World Health Organization | WHO guidelines on Mental health at work
- International SOS Assistance Data (2022 - 2024)
- McKinsey Health Institute | Employee Mental Health and Wellbeing Survey 2022
- International SOS Risk Outlook 2024 Report
- World Health Organization | Mental health at work fact sheet
No comments:
Post a Comment