หัวเว่ย ได้แสดงกลยุทธ์และโซลูชั่นด้านนวัตกรรมสำหรับการพลิกโฉมธุรกิจสู่ดิจิทัล ภายใต้ธีม "Leading New ICT, Building a Better Connected World" ที่งาน Intertop Tokyo 2016 งานแสดงด้านไอซีทีที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ซึงจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 มิ.ย.
หยาน หลี่ต้า ประธาน Enterprise Business Group ของหัวเว่ย (ขวา) รับมอบรางวัล 2016 Interop Tokyo Best of Show "Grand Prix" Award สำหรับผลิตภัณฑ์ Huawei KunLun 9032 Mission Critical Server จากตัวแทนของ Interop Tokyo Committee (ซ้าย)
สำหรับโซลูชั่นของหัวเว่ยที่เป็นไฮไลท์สำคัญในงานนี้ได้แก่ Internet of Things (IoT), Hybrid Cloud, Software-Defined Networking (SDN) และ Converged Cloud Communications ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รวมเอาคุณสมบัติ "cloud-pipe-device" ไว้เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและคุณค่าเพื่อธุรกิจ โดยในบรรดาโซลูชั่นเหล่านี้ ปรากฏว่า Huawei KunLun 9032 Mission Critical Server, Huawei IP Hard Pipe Solution และ Huawei NE40E-X2-M8A Universal Service Router สามารถคว้ารางวัล Best of Show "Grand Prix" Awards ด้านนวัตกรรมไอซีทีเพื่อธุรกิจ มาครองได้ถึง 3 สาขาด้วยกัน ขณะที่ หัวเว่ย ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่นไอซีทีชั้นนำ ยังได้รับรางวัล Interop ShowNet "Grand Prix" Award อีกด้วย
ในงานนี้ หัวเว่ยยังได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทที่จะสร้างระบบนิเวศไอซีทีที่เปิดกว้างและแข็งแกร่งในญีปุ่น โดยร่วมกับหุ้นส่วนกลยุทธ์ระดับโลก ได้แก่ Intel และ SAP ตลอดจนหุ้นส่วนญี่ปุ่น ประกอบด้วย CyberAgent, Hanshin Electric Railway, JBS และ Softbank
รางวัล Best of Show Awards ยกย่องนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจของหัวเว่ย
ภายในงาน Interop Tokyo 2016 ได้มีการประกาศรางวัล Best of Show Awards เพื่อเชิดชูนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจใน 3 สาขา ซึ่งตัดสินโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอุตสาหกรรม โดยผลิตภัณฑ์ Huawei KunLun 9032 Mission Critical Server ได้รับรางวัล Best of Show Awards "Grand Prix" ในสาขา Server and Storage เนื่องด้วยดีไซน์ Reliability, Availability, and Serviceability (RAS) อันโดดเด่น ตลอดจนศักยภาพในการขยายขนาดที่ไม่เหมือนใคร และสถาปัตยกรรมแบบเปิด ขณะที่ Huawei IP Hard Pipe Solution ได้รับรางวัล Best of Show Awards "Grand Prix" ในสาขา Enterprise/SMB Networking เนื่องจากคุณสมบัติด้าน physical pipe isolation ตลอดจนความหน่วงต่ำ ความน่าเชื่อถือสูง การพัฒนาข้อตกลง Service-Level Agreement (SLA) ในระดับสากล และการปฏิบัติการและบำรุงรักษา (O&M) ที่เรียบง่าย ส่วน Huawei NE40E-X2-M8A Universal Service Router ได้รับรางวัล Best of Show Awards "Grand Prix" ในสาขา Carrier/ISP Networking จากศักยภาพในการส่งต่อข้อมูลที่สูงถึง 480gdps ดีไซน์กะทัดรัด และฟังก์ชั่นการทำงานที่สนับสนุนบริการอย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ หัวเว่ยได้เข้าร่วมงาน Interop ShowNet อันเป็นส่วนหนึ่งของงาน Interop Tokyo เพื่อสาธิตเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอันครอบคลุม โดยหัวเว่ยได้จัดแสดงสวิตช์และเราเตอร์สำหรับศูนย์ข้อมูล 6 รายการ ประกอบด้วย Huawei CE12800, CE8860, CE6800, NE5000E, NE40E และ NE20E รวมทั้ง Huawei Agile Controller ซึ่งประสิทธิภาพที่อยู่ในระดับสูงของโซลูชั่นเหล่านี้ส่งผลให้หัวเว่ยได้รับรางวัล Interop Best of ShowNet Award ภายหลังจากที่ได้มีการทดสอบความสามารถในการเชื่อมต่อระหว่างกันโดยใช้ EVPN/VXLAN
ทั้งนี้ หัวเว่ยชนะรางวัล Best of Show Award ที่งาน Interop Tokyo ติดต่อกันมา 4 ปีแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาโซลูชั่นประสิทธิภาพสูง เพื่อขยายขอบเขตการสร้างสรรค์นวัตกรรมไอซีทีให้ตอบโจทย์ความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของตลาดญี่ปุ่น
ก้าวนำไอซีที เสริมพลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่
เทคโนโลยีพลิกโฉม เช่น IoT คลาวด์ และบิ๊กดาต้า กำลังเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล และจะเป็นขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจและสังคมในอีก 10 ปีข้างหน้า
คุณหยาน หลี่ต้า ประธาน Enterprise Business Group ของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์หลักในหัวข้อ "Leading New ICT, Empowering New Industrial Revolution" ว่า "เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการแข่งขันปัจจุบันนี้ องค์กรต่างๆจึงต้องการธุรกิจแบบเรียลไทม์และแพลตฟอร์มการวิเคราะห์เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิตอล เทคโนโลยีไอซีทีใหม่ๆ เช่น IoT คลาวด์ และบิ๊กดาต้า จะกลายเป็นศูนย์กลางของระบบการผลิตธุรกิจ โดยช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น และปลอดภัยเพื่อช่วยเหลือลูกค้าในการพัฒนาแอพพลิเคชันที่ปรับให้เข้ากับความต้องการด้านธุรกิจได้อย่างแท้จริง บนพื้นฐานของนวัตกรรมที่ผสานคุณสมบัติ cloud-pipe-device นอกจากนี้ แพลตฟอร์มดังกล่าวยังช่วยสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนและเอื้อประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอีกด้วย"
คุณหยานได้เน้นย้ำความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการร่วมมือสร้างสรรค์นวัตกรรม และส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศคลาวด์ที่แข็งแกร่งในญี่ปุ่น เขากล่าวว่า "เรามุ่งผลักดันให้ลูกค้าในญี่ปุ่น หุ้นส่วนและพนักงาน นำนวัตกรรมไอซีทีใหม่ๆ มาปรับใช้ในธุรกิจ เพื่อเร่งเดินหน้าการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิตอล และส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศคลาวด์ที่แข็งแกร่ง"
จับมือผู้นำไอซีทีญี่ปุ่นสร้างสรรค์ระบบนิเวศคลาวด์อันแข็งแกร่ง
ในงานนี้ หัวเว่ยได้จัดกิจกรรมร่วมกับหุ้นส่วนอุตสาหกรรมและนักวิชาการ เพื่อแบ่งปันความรู้ในเชิงลึกไปจนถึงแนวปฏิบัติอันดีในการสร้างระบบนิเวศคลาวด์อันแข็งแกร่งและสร้างประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย โดยในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ เอซากิ ฮิโรชิ จากมหาวิทยาลัยโตเกียว และศาสตราจารย์ นากามูระ โอซามุ จากมหาวิทยาลัยเคโอ ได้ให้เกียรติมาร่วมแบ่งปันมุมมองในการยกระดับการพัฒนาและขับเคลื่อนเทคโนโลยี SDN และคลาวด์
การเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมไอทีไปสู่สถาปัตยกรรมคลาวด์นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไอซีทีเพื่อสร้างระบบนิเวศแบบเปิด สำหรับงาน Interop Tokyo ในปีนี้ หัวเว่ยได้จับมือกับ Interop Tokyo Committee และ WIDE Project เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Tokyo Cloud Congress ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเปิดเวทีให้ผู้มีบทบาทในอุตสาหกรรมด์ได้หารือกันถึงแนวโน้มและกระแสต่างๆในอนาคต รวมทั้งแบ่งปันหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดในการย้ายระบบไปยังคลาวด์
บูธของหัวเว่ยในงาน Interop Tokyo 2016 ตั้งอยู่ที่หมายเลข 5Z32 ณ ศูนย์ประชุมมาคุฮาริ เมสเซ (Makuhari Messe) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวเว่ยที่งาน Interop Tokyo 2016 ได้ทาง http://enterprise.huawei.com/topic/interop2016_jp_en/index.html
No comments:
Post a Comment