Monday, June 25, 2018

Pulsus เผยสื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดียคือช่องทางเผยแพร่วารสารวิชาการที่คุ้มค่า

 ลอนดอน--25 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์


          - Dr Srinubabu ซีอีโอ Pulsus เผยวารสารวิชาการแบบบอกรับสมาชิก และเว็บไซต์สืบค้นข้อมูลแบบดรรชนี (indexing site) กำลังค่อย ๆ สูญหายไป

          วารสารวิชาการที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระ ( Open Access publishing ) กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากปัจจุบันโลกเชื่อมต่อถึงกันมากขึ้นผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้การจัดเก็บ การจัดทำดรรชนี การทำเหมืองข้อมูล การเรียกดูข้อมูล และการกระจายข้อมูลการวิจัยกลายเป็นเรื่องที่สะดวกและง่ายขึ้น วารสารแบบเปิดเหล่านี้ผลิตบทความนับล้านชิ้นต่อปี จากนักวิจัย 25,000-30,000 คน โดยจำนวนนักวิจัยและผู้เขียนบทความที่ยอมรับการเผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารแบบเปิดหรือตามเว็บบอร์ดนั้น มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ 10% ต่อปี และปัจจุบันมีผู้เขียนมากกว่า 5.5 ล้านคนที่เผยแพร่บทความของตนในวารสารแบบเปิดหรือเว็บบอร์ด ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า วารสารวิชาการแบบเปิดจะยังคงเป็นโมเดลการเผยแพร่บทความที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอนาคต ในขณะที่การเผยแพร่บทความลงในวารสารแบบบอกรับสมาชิกและเว็บสืบค้นข้อมูลแบบดรรชนีนั้น กำลังจะสูญหายไปเรื่อย ๆ เนื่องจากนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ต่างหันไปค้นคว้าข้อมูลจากวารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระ

          นอกจากนี้ หน่วยงานหลัก ๆ อย่างเช่น WHO, EMBL, NIH และ Welcometrust ยังได้ตั้งกฎให้เผยแพร่ผลงานที่ทางหน่วยงานเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนวิจัย ลงในวารสารวิชาการแบบเปิดอีกด้วย ทั้งนี้ ในการสำรวจตลาดสื่อสิ่งพิมพ์ปี 2559 มูลค่ารวม 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งประกอบด้วยหนังสือและสิ่งพิมพ์ประเภทอื่น ๆ นั้น พบว่า  วารสารวิชาการ ประเภทวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ (STM) มีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็นมูลค่าถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยในขณะที่วารสารประเภท STM แบบบอกรับสมาชิกได้หดตัวลงมาอยู่ที่ 8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2559 (1.25 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2557) แต่วารสาร STM ที่เปิดให้เข้าถึงอย่างอิสระนั้น กลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแตะ 900 ล้านดอลลาร์ในปี 2560 นักวิจัยเหล่านี้ผลิตบทความจำนวน 2.5 ล้านบทความต่อปี โดยจำนวนนักวิจัยและบทความที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ ( peer-reviewed articles ) มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีถึง 10% (CAGR) ซึ่ง Dr. Srinubabu Gedela  ซีอีโอของ Pulsus และ  Omics International  กล่าวว่า "สถานการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า สื่อดิจิทัลและตัววัดความนิยมของบทความวิชาการนั้นกำลังเป็นที่ต้องการเร่งด่วน เพื่อมารองรับชุมชนวิทยาศาสตร์"

          การเกิดขึ้นของสือดิจิทัลออนไลน์ได้พลิกโฉมวงการตีพิมพ์บทความวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนี้อย่างสิ้นเชิง ด้วยการให้ความสำคัญต่อตัววัดความนิยมของบทความ หรือ article impact factor/articles metrics แทนการวัดความนิยมจากวารสาร หรือ journal impact factor โดยคำนวณจากยอดคลิกไปยังบทความ ยอดอ่าน ยอดดาวน์โหลด ยอดแชร์ ยอดไลค์ การโต้ตอบออนไลน์ และจำนวนครั้งที่บทความถูกนำไปอ้างอิงในวารสาร peer reviewed ฉบับอื่น ๆ ซึ่ง  Dr. Srinubabu Gedela กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า แพลตฟอร์มเครือข่ายนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ อาทิ ResearchGate, LinkedIn, GoogleScholar ตลอดจนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Twitter นั้น มีบทบาทสำคัญในการยกระดับ article impact factor

          Pulsus เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านสุขภาพและสารสนเทศทางสุขภาพ โดยมีพนักงานมากกว่า 5,000 คน ประจำสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ รวมถึงสำนักงานในลอนดอน ( Pulsus-London ) เชนไน (Pulsus-Chennai) คุร์เคาน์ (Pulsus-Gurgaon) วิสาขปัตนัม (Pulsus Visakhapatnam) และไฮเดอราบัด ( Pulsus-Hyderabad )

          ติดต่อ: contact@pulsus.com , +1-650-268-9744

          โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/544592/PULSUS_Logo.jpg

No comments:

Post a Comment