Tuesday, November 24, 2015

การประชุมทางการแพทย์หลายงานต่างยกให้ Stretta Therapy เป็นวิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อนเรื้อรังที่ครอบคลุมรอบด้าน

          ในการประชุมทางการแพทย์หลายงานที่จัดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้ ได้มีการนำเสนอบทบาทของ Stretta ในการรักษา โรคกรดไหลย้อน (GERD) ทั้งในการประชุม Obesity Week, International Federation for Surgery of Obesity (IFSO), American College of Surgeons (ACS) และ World Organization for Specialized Studies on Diseases of the Esophagus (OESO)

          รูปภาพ - http://photos.prnewswire.com/prnh/20151117/288282

          ณ การประชุม OESO ในประเทศโมนาโก นพ.จอร์จ ทริอาดาฟิโลปูลอส ศาสตราจารย์คลินิกสาขาแพทยศาสตร์ประจำ Stanford University ได้รับหน้าที่เป็นผู้นำการประชุมว่าด้วยการใช้ Stretta รักษาโรคกรดไหลย้อน ขณะเดียวกัน เซอร์ฮัต บอร์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิทยาทางเดินอาหารจาก Ege University School of Medicine ในเมืองอิซเมียร์ ประเทศตุรกี และนพ.เควิน เรียวิส จาก The Oregon Clinic ในเมืองพอร์ทแลนด์ ได้นำเสนอเกี่ยวกับการใช้ Stretta รักษาโรคกรดไหลย้อนเรื้อรังในผู้ป่วยหลากหลายกลุ่ม ทั้งผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่มีอาการดื้อยา ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบ หรือหอบหืด ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่เป็นโรคอ้วน ผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อนหลังเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน รวมถึงผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่ยังคงมีอาการแม้ผ่านการผ่าตัดป้องกันการไหลย้อนแล้ว

          นพ.ทริอาดาฟิโลปูลอส กล่าวว่า "หลักฐานที่สั่งสมมาเป็นเวลานานกว่าทศวรรษแสดงให้เห็นว่า Stretta เป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนสำหรับผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน"

          สำหรับการประชุม IFSO ที่กรุงเวียนนา นพ.ซาเมอร์ มัตทาร์ จาก Oregon Health & Science University ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ Stretta พร้อมกับเป็นผู้นำการอบรมให้ความรู้ โดยนพ.มัตทาร์เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยการใช้ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) ถือเป็นกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการใช้ Stretta โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ผ่านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน นพ.มัตทาร์อธิบายว่า "โรคกรดไหลย้อนเรื้อรังภายหลังการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนนั้นรักษาได้ยาก Stretta เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพเมื่อการใช้ยาไม่ได้ผลหรือก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการของโรคได้โดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเพิ่มเติม"

          ด้านการประชุม ACS ที่ชิคาโก ได้มีการพูดถึง Stretta ในห้องปฏิบัติการฝึกอบรม 2 กลุ่ม รวมถึงในการประชุมย่อยๆเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อนในผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน

          นอกจากนี้ ในการประชุม Obesity Week ที่ลอสแองเจลิส Stretta ยังได้รับการกล่าวถึงในหลักสูตรอบรมให้ความรู้ รวมถึงการอภิปรายกลุ่มในหัวข้อ "การจัดการกับกรดไหลย้อนในผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน" ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่างๆ ได้แก่ การเปลี่ยนจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะเป็นการผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร และการใช้ Stretta รักษาโรคกรดไหลย้อนหลังการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน นพ.เดนา พอร์เทนเนียร์ ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเมตาบอลิกและการผ่าตัดลดน้ำหนัก ภาควิชาศัลยศาสตร์ของ Duke University School of Medicine รวมถึงประธานแผนกศัลยกรรมของ Duke Regional Hospital และผู้อำนวยการร่วมประจำ Minimally Invasive and Bariatric Surgery Fellowship Program ได้ยกให้ Stretta เป็นวิธีการรักษารูปแบบใหม่สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเขาได้อธิบายว่า "Stretta เป็นวิธีการรักษาแบบส่องกล้องและไม่ต้องผ่าตัด จึงไม่ก่อให้เกิดแผลบนตัวผู้ป่วย Stretta มีหลักฐานรองรับด้วยข้อมูลที่สั่งสมมานานถึง 10 ปี อีกทั้งยังได้รับการแนะนำในระดับสูงสุดจากสมาคมศัลยแพทย์ส่องกล้องและศัลยแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งอเมริกา (SAGES) และในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มแรกนั้น ผลปรากฏว่าผู้ป่วย 9 ใน 10 รายมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังรักษาด้วย Stretta" ส่วนความท้าทายในผู้ป่วยกลุ่มนี้นั้น เขากล่าวเสริมว่า "หน้าที่ของเราคือการช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำ ซึ่ง Stretta ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในจุดนี้"

          เกี่ยวกับ STRETTA(R)
          Stretta Therapy เป็นวิธีการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่ไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและไม่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด Stretta ได้รับการศึกษาในกว่า 37 โครงการ ซึ่งทั้งหมดล้วนแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพในระดับสูง ทั้งนี้ Stretta ผลิตโดย Mederi Therapeutics และสามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก

          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถรับชมได้ที่: www.stretta-therapy.com

          ติดต่อ:
          จูเลีย แบรนแนน
          โทร. (908) 464-2470
          อีเมล: julia@pascalecommunications.com

          พีอาร์นิวส์ไวร์


No comments:

Post a Comment