- นักนวัตกรรมชาวซีเรียขึ้นแท่นผู้ชนะคนใหม่
Yaman Abou Jieb นักนวัตกรรมรุ่นใหม่จากซีเรีย คว้าตำแหน่งแชมป์ไปครองในการแข่งขันรอบสุดท้ายอันน่าตื่นเต้นของ Stars of Science พร้อมปิดฉากซีซั่นที่ 7 สำหรับรายการโทรทัศน์เรียลลิตี้ควบคู่สาระบันเทิงทางช่อง MBC4 ของมูลนิธิกาตาร์ (Qatar Foundation - QF) ซึ่งถ่ายทอดสดจากสตูดิโอรายการในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
รับชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่:
http://www.multivu.com/players/uk/7697251-stars-of-science-season-7-winner-announced/
คะแนนโหวตจากผู้ชมทั่วโลกอาหรับ ประกอบกับการปรึกษาหารือโดยเหล่าคณะกรรมการ ส่งผลให้ Yaman Abou Jieb คว้าคะแนนไป 37.2% ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้เขากลายเป็นผู้ชนะรางวัลอันดับหนึ่ง มูลค่า 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากการประดิษฐ์ Glean เครื่องซักผ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Washing Machine) โดย Yaman ได้ฉายแววโดดเด่นในรายการ Stars of Science ซีซั่นที่ 7 อันเนื่องมาจากความคิดสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นเฉพาะตัวของเขา
Stars of Science เริ่มออกอากาศในปี 2552 โดยมุ่งเน้นที่นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนนักนวัตกรรมเยาวชนรุ่นใหม่ของอาหรับ แนวคิดริเริ่มดังกล่าวทำให้วิสัยทัศน์หลักของ QF ในการปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเพิ่มความรอบรู้นั้นบรรลุผลสำเร็จเป็นอย่างดี
ด้าน Omar Hamid นักประดิษฐ์เก้าอี้ละหมาด (Prayer Chair) ที่มีชื่อว่า Sanda รั้งตำแหน่งรองชนะเลิศด้วยคะแนน 23.1% พร้อมรับเงินรางวัลมูลค่า 150,000 ดอลลาร์ Omar สร้างความประทับใจให้ผู้ชมในปีนี้ด้วยความคิดสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นเพื่อสังคมของเขา
ส่วน Hassan Albalawi นักนวัตกรรมผู้บากบั่นและนักแก้ปัญหาจากราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ได้คะแนนอันดับสามที่ 20.4% จากสิ่งประดิษฐ์ชื่อ Wakecap ซึ่งเป็นหมวกวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG Cap Analyzer) ขณะที่ Digiheart เครื่องวิเคราะห์ความเครียดจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG Stress Analyzer) ของ Mohamed Mourad Benosman นักคิดผู้ไม่ยอมแพ้จากแอลจีเรียครองอันดับที่สี่ด้วยคะแนน 19.3% โดย Hassan และ Mohamed ได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์ และ 50,000 ดอลลาร์ตามลำดับ
"Stars of Science คือประสบการณ์สำคัญในชีวิตของผม ผมภูมิใจมากที่ได้เป็นตัวแทนซีเรียในการแข่งขันที่ยอดเยี่ยมนี้" Yaman Abou Jieb ผู้ชนะรายการ Stars of Science ซีซั่นที่ 7 กล่าว "มูลนิธิกาตาร์ปลุกความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และการออกแบบขึ้นในโลกอาหรับ ด้วยการเชื่อมนักประดิษฐ์รุ่นใหม่อย่างผมเข้ากับแหล่งทรัพยากรและทักษะความรู้ ในอนาคตผมจะไม่พัฒนาแค่ Glean เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะทำให้เยาวชนทั่วภูมิภาคมีความมั่นใจในความสามารถของพวกเขา และยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยนวัตกรรม"
Stars of Science จะกลับมาอีกครั้งเป็นซีซั่นที่ 8 ในปี 2559 ซึ่งในซีซั่นใหม่นี้ ทางรายการจะเปิดรับผู้สมัครอายุระหว่าง 18-35 ปี โดยจะเน้นเป็นพิเศษไปที่การเฟ้นหาไอเดียโปรเจ็คดาวรุ่ง ที่มีส่วนช่วยแก้ไขความท้าทายในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกลุ่มประเทศอาหรับ และรับรองว่าการคิดค้นต่างๆ มีประโยชน์ต่อชุมชนและส่งผลในระดับภูมิภาคและทั่วโลก ซึ่งโปรเจ็คที่จะเปิดรับนั้นครอบคลุมในหลากหลายสาขาตั้งแต่คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงสุขภาพ และชีวเวชศาสตร์
รายการยังจะกระจายรางวัลสำหรับผู้เข้ารอบสุดท้ายให้รวมทั้งเงินสดและเงินสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างเช่นในช่วงเริ่มต้น โดยมูลค่ารวมของรางวัลสำหรับผู้เข้ารอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
นักนวัตกรรมจากทั่วภูมิภาคที่สนใจเข้าร่วมรายการ Stars of Science ซีซั่น 8 ยังคงมีเวลาสมัครทางออนไลน์จนถึงวันที่ 30 มกราคม 2559 ผ่านทางเว็บไซต์ทางการของ Stars of Science ที่ http://www.starsofscience.com
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าชม
เว็บไซต์ - http://www.starsofscience.com
เฟซบุ๊ก - https://www.facebook.com/StarsOfScienceTV
ทวิตเตอร์ - https://twitter.com/starsofscience
ยูทูบ - https://www.youtube.com/user/StarsOfScienceTV
อินสตาแกรม - https://instagram.com/starsofsciencetv/
Stars of Science
Stars of Science รายการโทรทัศน์ "เรียลลิตี้ควบคู่สาระบันเทิง" ด้านวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกอาหรับ ซึ่งริเริ่มโดยมูลนิธิกาตาร์เพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และการพัฒนาชุมชน (QF) จะกลับมาในซีซั่นที่ 8 ทางช่อง MBC4 ในปี 2559 พร้อมรูปแบบรายการใหม่ที่น่าตื่นเต้น
ผู้เข้าแข่งขัน 9 คน อายุระหว่าง 18-35 ปี ที่ได้รับการคัดเลือกจากทั่วโลกอาหรับ จะร่วมแข่งขันในรายการด้วยไอเดียโปรเจ็คดาวรุ่ง ที่มีส่วนช่วยแก้ไขความท้าทายในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกลุ่มประเทศอาหรับ และรับรองว่าการคิดค้นต่างๆ มีประโยชน์ต่อชุมชนและส่งผลในระดับภูมิภาคและทั่วโลก ซึ่งโปรเจ็คที่จะเปิดรับนั้นครอบคลุมในหลากหลายสาขาตั้งแต่ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน สภาพแวดล้อม ไปจนถึงสุขภาพ และชีวเวชศาสตร์
ผู้เข้าแข่งขันดาวเด่นของภูมิภาคจะประลองแนวคิดด้านนวัตกรรมกันอย่างดุเดือด ผ่านรอบ Prototyping & Customer Validation ที่เป็นการคัดผู้แข่งขันออก เพื่อคว้าโอกาสเข้าชิงรางวัลเงินทุนเริ่มโปรเจ็คและการสนับสนุนอื่นๆ มูลค่ากว่า 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ระหว่างการแข่งขันสุดโหด 10 สัปดาห์ ผู้แข่งขันจะต้องพิสูจน์ถึงความถูกต้องแม่นยำของแนวคิดของพวกเขา โดยได้รับความช่วยเหลือจากทีมวิศวกรผู้มีประสบการณ์ นักออกแบบ ที่ปรึกษาชั้นนำในแวดวงอุตสาหกรรม ตลอดจนศิษย์เก่ารายการ Stars of Science ขณะที่แข่งขันกับเวลาในห้องปฏิบัติการที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งต้องใช้ทั้งไหวพริบและความมุ่งมั่นในการไปสู่ความสำเร็จ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าชม http://www.starsofscience.com
มูลนิธิกาตาร์ – การปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์
มูลนิธิกาตาร์เพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และการพัฒนาชุมชน (QF) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร ซึ่งช่วยเหลือกาตาร์ในการเปลี่ยนแปลงประเทศจากระบบเศรษฐกิจคาร์บอนไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ด้วยการปลดปล่อยศักยภาพของประชากรเพื่อประโยชน์ของกาตาร์เองและของทั่วโลก มูลนิธิกาตาร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 โดยชีค ฮาหมัด บิน คาลิฟา อัล ธานี (His Highness Sheikh Hamad Bin Khalifa Al Thani) เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ และมี เชคกา โมซาบินด์ นัสเซอร์ เป็นองค์ประธาน
มูลนิธิกาตาร์ดำเนินภารกิจโดยใช้กลยุทธ์หลัก 3 ประการ ได้แก่ การศึกษา วิทยาศาสตร์และการวิจัย และการพัฒนาชุมชน ทางมูลนิธิดำเนินกลยุทธ์ด้านการศึกษาด้วยการนำมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่งมาสู่กาตาร์ เพื่อช่วยสร้างรากฐานการศึกษาที่เยาวชนสามารถพัฒนาทัศนคติและทักษะที่จำเป็นสำหรับระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ส่วนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยเน้นไปที่การสร้างนวัตกรรมและขีดความสามารถทางเทคโนโลยี ด้วยการพัฒนาและขายองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ และสุดท้ายคือกลยุทธ์การพัฒนาชุมชนซึ่งช่วยสร้างสังคมที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า พร้อมกับส่งเสริมวัฒนธรรม รักษามรดกของกาตาร์ และตอบสนองความต้องการอย่างเร่งด่วนในชุมชน
สำหรับรายชื่อโครงการทั้งหมดของมูลนิธิกาตาร์ กรุณาเข้าชม http://www.qf.org.qa
วิดีโอ: http://www.multivu.com/players/uk/7697251-stars-of-science-season-7-winner-announced/
ที่มา: Stars of Science
No comments:
Post a Comment