ผู้ถือบัตรยูเนี่ยนเพย์จะมีโอกาสครอบครองของขวัญทำมือสุดประณีตอันเป็นมรดกตกทอดของมาเลเซียเมื่อซื้อสินค้าที่สนามบิน 4 แห่งของมาเลเซียนับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2559 โดยผู้ถือบัตรที่มีหมายเลขบัตรเริ่มต้นด้วยเลข "62" สามารถรอรับผลิตภัณฑ์เครื่องโลหะจากรอยัล เซลังงอร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีการใช้จ่ายมูลค่าสูงกว่า 500 ริงกิตขึ้นไป
นายเอนซิค โมฮัมหมัด นาซลี ผู้จัดการทั่วไปอาวุโสของ MAHB และนายเหวินฮุ่ย หยาง ผู้จัดการทั่วไปของยูเนี่ยนเพย์เอเชียแปซิฟิค ร่วมกันเปิดตัวโปรโมชั่นใหม่ในสนามบินมาเลเซีย |
ในขณะที่ผู้ซื้อสินค้าในสนามบินนานาชาติปีนังและสนามบินนานาชาติลังกาวีที่มีการใช้จ่ายขั้นต่ำเพียง 500 ริงกิตเท่านั้น ก็จะได้ของกำนัลเป็นตะเกียบโลหะจากแบรนด์ดังด้านเครื่องโลหะของมาเลเซียอย่าง รอยัล เซลังงอร์ ส่วนผู้ซื้อสินค้าที่สนามบิน KLIA และ KLIA2 จะได้รับของกำนัลเป็นที่ใส่นามบัตรแบรนด์รอยัล เซลังงอร์ เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ 1,500 ริงกิตขึ้นไป
วิธีการรับของกำนัล คือ ลูกค้าสามารถรวบรวมใบเสร็จได้สูงสุด 3 ใบต่อการซื้อสินค้าวันเดียวกันเพื่อนำมาแลกของกำนัลตามสนามบินที่ได้ระบุ ซึ่งโปรโมชั่นของขวัญของกำนัลดังกล่าว จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2559 ไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2559
มร.เหวินฮุ่ย หยาง ผู้จัดการทั่วไปของยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "เมื่อปีที่ผ่านมา เราได้ร่วมมือกับ MAHB จัดโปรโมชั่นระยะเวลา 3 เดือนที่สนามบิน KLIA2 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมียอดผลประกอบการแบบเทียบรายปีสูงขึ้นถึง 1 เท่า นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราจึงมีความยินดีที่จะทำให้โปรโมชั่นครั้งนี้ยิ่งใหญ่ขึ้นและดีขึ้น โดยจะมีการขยายโปรโมชั่นนี้ที่สนามบิน KLIA สนามบินนานาชาติปีนัง และสนามบินนานาชาติลังกาวีอีกด้วย"
"แคมเปญของปีนี้เปิดตัวขึ้น ในขณะที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยือนมาเลเซียมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยจำนวนผู้เดินทางที่สนามบินทั้งสี่แห่งดังกล่าวในปี 2558 อยู่ที่ 57 ล้านราย" มร.หยาง กล่าว
มร.หยางได้อธิบายถึงสาเหตุที่ยูเนี่ยนเพย์เลือกสินค้าจากรอยัล เซลังงอร์มาเป็นของกำนัลว่า "รอยัล เซลังงอร์เป็นผู้ผลิตเครื่องโลหะที่มีคุณภาพดีเยี่ยมของมาเลเซียและเป็นแบรนด์ชื่อดังระดับโลก แบรนด์ดังกล่าวอยู่ในระดับเดียวกับแบรนด์หรูของต่างประเทศและยังคงเป็นแบรนด์ที่ขึ้นชื่อในด้านฝีมือ ผู้ที่เดินทางมาเยือนและชาวมาเลเซียจะรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้รับของกำนัลดังกล่าว เราชาวยูเนี่ยนเพย์มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าในประเทศต่าง ๆ ที่เราได้เข้าไปให้บริการ" มร.หยางกล่าว
นอกจากนี้ มร.หยางมีความเชื่อมั่นว่า ยูเนี่ยนเพย์และการท่องเที่ยวของมาเลเซียยังเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันด้วย "เอเชียแปซิฟิคเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งมีความสามารถในการพัฒนายิ่งขึ้น สิ่งที่เติบโตควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวของมาเลเซียคือจำนวนนักท่องเที่ยวที่เลือกใช้บัตรยูเนี่ยนเพย์ในการชำระเงิน อัตราการรองรับบัตรยูเนี่ยนเพย์ของตู้เอทีเอ็มในประเทศอยู่ที่ 90% และคาดว่า อัตราการรองรับบัตรยูเนี่ยนเพย์ของร้านค้าต่าง ๆ จะเพิ่มสูงขึ้นภายในปีนี้ด้วยเช่นกัน"
อัตราการรองรับบัตรยูเนี่ยนเพย์ในมาเลเซียที่แข็งแกร่งขึ้นได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการร่วมเป็นพันธมิตรกัน นับเป็นการส่งมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สนามบินให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล
ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล(UPI) มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาและสนับสนุนธุรกิจของยูเนี่ยนเพย์ทั่วโลก ด้วยการเป็นพันธมิตรร่วมกับสถาบัน 1,000 แห่งทั่วโลก บัตรของยูเนี่ยนเพย์ได้รับการรองรับแล้วในกว่า 157 ประเทศและภูมิภาคนอกประเทศจีนโดยมีการให้บริการเปิดบัตรใน 40 ประเทศและภูมิภาคซึ่งได้ทำการเปิดบัตรไปแล้วกว่า 5 พันล้านใบทั่วโลก ยูเนี่ยนเพย์ได้ให้บริการชำระเงินข้ามเขตแดนที่มีคุณภาพสูง มีราคาย่อมเยา และมีความปลอดภัยสูง ในฐานะที่มีฐานสมาชิกบัตรที่มากที่สุดในโลก ยูเนี่ยนเพย์ได้สร้างความเชื่อมั่นในการมอบความสะดวกในทุกจุดบริการเพื่อตอบสนองตัวเลขของผู้ถือบัตรยูเนี่ยนเพย์และร้านค้าต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น
ในอาเซียน ยูเนี่ยนเพย์ได้ให้บริการตู้เอทีเอ็ม การรองรับ POS และเพิ่มบริการออกบัตรในทุกประเทศทั้ง 10 ประเทศ ยูเนี่ยนเพย์ได้เริ่มทำธุรกิจในมาเลเซียตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งตู้เอทีเอ็มกว่า 90% และร้านค้าในประเทศอีกเกือบ 60% สามารถรองรับบัตรจากยูเนี่ยนเพย์ได้
เกี่ยวกับ มาเลเซีย แอร์พอร์ตส์
มาเลเซีย แอร์พอร์ตส์ เป็นผู้จัดการและดูแลสนามบินทั้งหมด 39 แห่งในมาเลเซีย และดูแลสนามบินนานาชาติ 1 แห่งในนครอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยสนามบิน 39 แห่งในมาเลเซียประกอบด้วยสนามบินนานาชาติ 5 แห่ง สนามบินในประเทศ 16 แห่ง และสนามบินทางวิ่งสั้น (STOL Ports) อีก 18 แห่ง นอกจากนี้ยังให้บริการการจัดการสนามบินและให้บริการด้านเทคนิคเพื่อการพัฒนา ดำเนินงาน ซ่อมบำรุง และการจัดการสนามบินนานาชาติในต่างประเทศ ในวันที่ 30 พ.ย. 2542 บริษัทมาเลเซีย แอร์พอร์ตส์ ถือเป็นบริษัทสนามบินแห่งแรกในเอเชียที่ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้น
สนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) ซึ่งเป็นสนามบินเรือธงของมาเลเซียได้รับการโหวตให้เป็นสนามบินขนาดใหญ่แห่งปี ณ งานประกาศรางวัล CAPA Awards เพื่อความเป็นเลิศด้านการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคประจำปี 2557 นอกจากนี้ ยังได้รับการโหวตให้เป็นสนามบินที่ดีที่สุดเป็นครั้งที่ 3 ณ งานประกาศรางวัล AETRA ประจำปี 2548 (มีผู้โดยสาร 15-25 ล้านรายต่อปี) และได้รับรางวัล ACI-ASQ ประจำปี 2549 และรางวัล ACI-ASQ ประจำปี 2550 อีกด้วย ในขณะเดียวกันสนามบินสำหรับเที่ยวบินราคาประหยัด (LCCT-KLIA) ก็ได้รับรางวัล CAPA สาขาสนามบินชั้นประหยัดแห่งปี ที่งานประกาศรางวัล CAPA เพื่อความเป็นเลิศด้านการบินประจำปี 2549 บริษัท มาเลเซีย แอร์พอร์ต ได้รับรางวัลมากมายที่สะท้อนถึงการยอมรับในการให้บริการ การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ความรับผิดชอบของบริษัท และความเป็นเลิศขององค์กร
KLIA ได้พยายามก้าวกระโดดขึ้นเป็นศูนย์กลางระดัยโลกด้วยการเปิดตัวแนวคิด Next Generation Hub ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มที่มีเป้าหมายในการสร้างจุดยืนให้สนามบิน KLIA เป็นสนามบินศูนย์รวมที่สมบูรณ์แบบสำหรับทุกคน ส่วนสนามบิน KLIA2 นั้น มีจุดมุ่งหมายในการให้บริการสายการบินชั้นประหยัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเริ่มให้บิรการตั้งแต่เดือนพ.ค. 2557
MAHB ได้รับการบันทึกชื่อไว้ในกระดานหลักของตลาดหุ้นมาเลเซีย ("Bursa Malaysia")
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MAHB ได้ที่ http://www.malaysiaairports.com.my/
No comments:
Post a Comment