ในระหว่างการประชุม Internet of Things (IoT) Summit ที่งาน Mobile World Congress Shanghai (MWC Shanghai) 2016 หัวเว่ย ได้เปิดตัวโซลูชัน IoT บนคลื่นความถี่แคบ หรือ Narrow-band IoT (NB-IoT) แบบเอ็นด์ทูเอ็นด์ เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลกสามารถขยายบริการด้าน IoT ไปสู่ตลาดใหม่ๆ โดยหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นในการจัดหาเทคโนโลยีอย่างครอบคลุมและให้บริการสนับสนุนแก่ธุรกิจ เพื่อการทำตลาด IoT เชิงพาณิชย์ในวงกว้าง รวมทั้งช่วยให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามารถผลักดัน IoT ให้กลายเป็นบริการพื้นฐานในอนาคต
โซลูชั่น NB-IoT แบบเอ็นด์ทูเอ็นด์ ประกอบไปด้วย: โซลูชันอุปกรณ์อัจฉริยะที่สามารถทำงานได้ด้วยระบบปฏิบัติการ Huawei LiteOS และชิปเซต NB-IoT; สถานีฐาน eNodeB ที่สามารถพัฒนาไปเป็น NB-IoT ได้อย่างราบรื่น; IoT Packet Core ที่รองรับการปรับใช้งาน Core in a Box และ Network Function Virtualization (NFV) ได้อย่างยืดหยุ่น; และแพลตฟอร์มจัดการการเชื่อมต่อ IoT บนระบบคลาวด์ ที่มาพร้อมขีดความสามารถด้านบิ๊กดาต้า โซลูชันนี้ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อตอบสนองผู้ให้บริการที่ต้องการพัฒนาบริการ IoT ที่ใช้พลังงานต่ำและครอบคลุมพื้นที่กว้าง (LPWA) โซลูชันซึ่งพัฒนาขึ้นตามมาตรฐาน 3GPP นี้ยังสนับสนุนการใช้งานเครือข่ายในสถานการณ์และในอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้อย่างยืดหยุ่น นอกจากนี้ อุปกรณ์และแพลตฟอร์มของโซลูชันยังสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชั่นและอุปกรณ์ NB-IoT ของพันธมิตรได้โดยง่าย จึงช่วยให้การบรรลุเป้าหมายด้านนวัตกรรมทางธุรกิจและการปรับแต่งตามสถานการณ์สามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
โซลูชั่น NB-IoT จะวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2016 โดยหัวเว่ยมีแผนที่จะทดลองทำการตลาดขนาดใหญ่ในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ และเปิดตัวโซลูชันเพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ในวงกว้างช่วงปลายเดือนธันวาคมนี้
"จำนวนการเชื่อมต่อ IoT ไร้สายทั่วโลกจะโตขึ้น 7 เท่าในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า ซึ่ง NB-IoT จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อแนวโน้มนี้ ทั้งยังจะเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญที่รอผู้ให้บริการเข้าไปเจาะตลาด" เจียง หวังเฉิง รองประธานฝ่ายการตลาดและโซลูชัน ภายใต้แผนกผลิตภัณฑ์และโซลูชันของหัวเว่ย กล่าว "ในปี 2015 หัวเว่ยได้เปิดตัวกลยุทธ์ '1+2+1' IoT ICT ซึ่งในขณะที่การใช้งานเชิงพาณิชย์กำลังใกล้เข้ามานี้ โซลูชั่น NB-IoT แบบเอ็นด์ทูเอ็นด์ของเราจะเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ IoT หลักและจะผลักดันการทำตลาดแอปพลิเคชัน IoT นอกจากนั้น เรากำลังสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสำรวจธุรกิจใหม่ๆ ไปพร้อมๆกับพันธมิตรและลูกค้าผู้ให้บริการโทรคมนาคมของเรา หัวเว่ยมีความมั่นใจอย่างยิ่ง และพร้อมเต็มที่ที่จะเข้าสู่ยุคใหม่ของ IoT ในเชิงพาณิชย์"
ภายใต้กลยุทธ์ "1+2+1" IoT ICT ของหัวเว่ยนี้ โซลูชัน NB-IoT แบบเอ็นด์ทูเอ็นด์จะช่วยให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้รับผลประโยชน์มากมายจากบริการ IoT อาทิ
- รับประกันว่า NB-IoT จะสามารถครอบคลุมเครือข่ายทั้งระบบอย่างรวดเร็ว: โซลูชั่นนี้ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐาน IoT ของผู้ให้บริการ โดยมีสถาปัตยกรรม SingleRAN ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถพัฒนาเครือข่ายและลดต้นทุนของเครือข่าย ขยายการเชื่อมต่อ NB-IoT ไปทั่วโลก และเพิ่มส่วนแบ่งตลาด ขณะที่ IoT Packet Core ซึ่งมาพร้อมสถาปัตยกรรมคลาวด์ที่ใช้เทคโนโลยี NFV จะสนับสนุนการใช้องค์ประกอบของเครือข่ายทางกายภาพอย่างยืดหยุ่น สิ่งนี้เองช่วยร่นระยะเวลาปล่อยผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ลดการดำเนินงานและการดูแลรักษา รวมทั้งลดการใช้พลังงาน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการให้บริการ IoT
- รองรับอุปกรณ์ NB-IoT อัจฉริยะสำหรับการใช้งานเฉพาะอุตสาหกรรม: Huawei LiteOS นำเสนอโพรโทคอลสแตก ที่เปิดทางให้นักพัฒนาสามารถกำหนดโหมดใช้ไฟต่ำได้โดยตรง Huawei LiteOS ยังสามารถทำงานร่วมกับชิป NB-IoT และแพลตฟอร์ม IoT ของหัวเว่ย และของผู้จำหน่ายรายอื่น ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาปล่อยผลิตภัณฑ์ NB-IoT อัจฉริยะออกสู่ตลาด
- เปิดกว้างและรองรับการใช้งานเฉพาะอุตสาหกรรม เพื่อใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อให้ได้มากที่สุด: แพลตฟอร์มจัดการการเชื่อมต่อ IoT บนระบบคลาวด์ที่มาพร้อมเอเจนท์ IoT นั้นสามารถรองรับการจัดการการเชื่อมต่อแบบเปิด ตลอดจนปลดล็อกความสามารถของบิ๊กดาตาและนวัตกรรมแบบเปิดสำหรับการใช้งานเฉพาะอุตสาหกรรม ฟังก์ชั่นเหล่านี้สามารถสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆนำ NB-IoT มาประยุกต์ใช้ได้รวดเร็วขึ้น และเปิดทางให้ผู้ให้บริการและลูกค้าระดับอุตสาหกรรมได้ใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อให้ได้มากที่สุด
นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีและการพัฒนาโซลูชั่นชั้นแนวหน้าแล้ว หัวเว่ยยังรุกสร้างระบบนิเวศ NB-IoT ที่แข็งแกร่ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของบริษัทในการผลักดันอุตสาหกรรม IoT ที่กำลังเติบโต ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ช่วยให้เหล่าผู้ให้บริการสร้างห้องทดลอง NB-IoT แบบเปิด เพื่อเร่งกระบวนการพัฒนาอุปกรณ์และการใช้งาน NB-IoT อัจฉริยะ ส่วนในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2016 หัวเว่ยจะเปิดตัว SoftRadio ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงห้องทดลอง NB-IoT ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมและสั่งงานจากทางไกล หัวเว่ยยังเตรียมเผยแพร่รายงานห้องทดลอง IoT แบบเปิด เพื่อมอบข้อมูลที่ช่วยชี้แนะและสนับสนุนนักพัฒนาในการเข้าใช้ห้องทดลองแบบเปิด
หัวเว่ยมีความคืบหน้าอย่างมากในการพัฒนาธุรกิจ IoT โดยก่อนที่มาตรฐาน NB-IoT จะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรทั่วโลกเพื่อทดสอบบริการและการใช้งาน เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น เร่งให้เกิดนวัตกรรมอุตสาหกรรม และปรับปรุงโซลูชั่นทางเทคนิค โดยเพียงแค่ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หัวเว่ยก็สามารถปิดโครงการความร่วมมือกับลูกค้าได้หลายรายการ ตัวอย่างเช่น หัวเว่ยได้ร่วมมือกับ Etisalat ในการทดสอบบริการและการใช้งานที่จอดรถอัจฉริยะ ตลอดจนร่วมมือกับ South East Water (Australia) และผู้ประกอบการจากออสเตรเลีย (VHA และ Optus) ในการทดสอบระบบจัดการน้ำอัจฉริยะโดยใช้ NB-IoT และลงนามในข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับ China Telecom และ Shenzhen Water Group เพื่อทำให้แนวคิดระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะกลายเป็นจริงได้
ทั้งนี้ ในการประชุม IoT Summit คุณเจียง หวังเฉิง ได้ขึ้นกล่าวสุทธพจน์หลักในหัวข้อ 'Building Open NB-IoT Solution and Ecosystem' ขณะที่บูธจัดแสดง IoT ของหัวเว่ยในงาน MWC Shanghai จะมีการสาธิตการใช้งานโซลูชั่น NB-IoT แบบเอ็นด์ทูเอ็นด์ รวมถึงการอธิบายรายละเอียดทางเทคนิค การจำลองสถานการณ์การใช้งาน และแผนการวางตลาดสินค้า
งาน Mobile World Congress Shanghai 2016 จัดขึ้นที่ Shanghai New International Expo Center (SNIEC) ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม หัวเว่ยจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันล่าสุดของบริษัทที่บูธหลักใน Hall N1 A40 และที่บูธ "Innovation City" ใน Hall N3 A40 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่: http://www.huawei.com/en/events/mwcshanghai#Agenda
เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ชั้นนำระดับโลก
No comments:
Post a Comment