หลิว หลี่หมิน ประธานฝ่ายบริการทางการเงินของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรซ์ บิสิเนส กรุ๊ป
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา หัวเว่ย (Huawei) ได้จัดการประชุม Global Financial Summit ครั้งที่ 5 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ภายใต้แนวคิด "Leading New ICT, Fueling Digital Finance Transformation" โดยได้ให้การต้อนรับลูกค้าและผู้คร่ำหวอดในแวดวงการเงินทั้งในและต่างประเทศกว่า 800 ท่าน เช่น ตัวแทนจาก China Construction Bank (CCB), Agricultural Bank of China (ABC), China Merchants Bank (CMB), Asian Banker, Barclays, Intel และ Infosys เพื่อร่วมกันสำรวจนวัตกรรมไอซีทีล่าสุด รวมถึงแนวปฏิบัติอันเหมาะสมที่จะช่วยผลักดันให้สถาบันการเงินพลิกโฉมไปสู่ยุคดิจิทัล
เร่งผลักดันสถาบันการเงินไปสู่ยุคดิจิทัลและคลาวด์
หลิว หลี่หมิน ประธานฝ่ายบริการทางการเงินของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรซ์ บิสิเนส กรุ๊ป กล่าวถึงแนวโน้มของธนาคารในอนาคตว่า "ในอนาคต ธนาคารต่างๆจะกลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคาร โดยสินทรัพย์ บุคลากร และห่วงโซ่อุปทาน จะเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หัวเว่ยยึดมั่นในกลยุทธ์ "platform + ecosystem" จึงมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ให้บริการทางการเงิน ในการสร้างแพลตฟอร์มและโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีที่เพียบพร้อมด้วยสถาปัตยกรรมอันยืดหยุ่น การวิเคราะห์อันแม่นยำ การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมอันหลากหลาย และการจัดการที่มีความปลอดภัย เราเชื่อว่าแพลตฟอร์มไอซีทีขั้นสูงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสถาบันการเงินในการให้บริการอย่างเหนือชั้น นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า และดูแลลูกค้าอย่างชาญฉลาด นอกจากนี้ เรายังทุ่มเทส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศแบบเปิดเพื่อสนับสนุนการธนาคารบนคลาวด์ด้วย"
ในการประชุมครั้งนี้ บรรดาวิทยากรรับเชิญได้มาร่วมแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับธนาคารในอนาคต รวมถึงข้อมูลเชิงลึกและแนวทางปฏิบัติอันเหมาะสมที่จะช่วยผลักดันธนาคารไปสู่ยุคดิจิทัลและคลาวด์ ดังนี้
- เอมมานูเอล แดเนียล ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ Asian Banker กล่าวว่า "เนื่องจากอุตสาหกรรมการธนาคารมีการแข่งขันกันมากขึ้น บริการทางการเงินต่างๆ จึงถูกกำหนดโดยลูกค้า ไม่ใช่โดยธนาคารอีกต่อไป ปัจจุบัน ผู้ให้บริการทางการเงินนำปัญญาประดิษฐ์และระบบวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้กันมากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ให้บริการเหล่านี้จำเป็นต้องตามเทคโนโลยีใหม่ๆให้ทัน เช่น การเรียนรู้ของเครื่องจักรหรือรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งเข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจรวมถึงวิถีชีวิตและการทำงานของผู้คน"
- จิ้น ผันซี ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการจัดการด้านไอทีจาก China Construction Bank (CCB) ได้ร่วมแบ่งปันวิธีที่ CCB นำระบบดิจิทัลมาใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงลึกภายในองค์กร โดยกล่าวว่า "แนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแบบ 3 in 1 ของ CCB ประกอบด้วยกรอบการทำงานระดับองค์กรที่จะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ สถาปัตยกรรมไอทีที่ผสมผสาน "การรวมศูนย์ + การกระจายศูนย์" ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาและหลอมรวมการทำงานและบริการอันหลากหลายของ CCB ทั้งนี้ แนวคิดการแปลงโฉมธุรกิจไปสู่ดิจิทัลได้ช่วยเปลี่ยนการทำงานแบบแยกส่วนตามแผนก ไปเป็นการทำงานในระดับองค์กรที่เป็นปึกแผ่น ทำให้เราสามารถนำเสนอบริการทางการเงินใหม่ๆ ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆให้กับเราด้วย"
- เหยา ฮุ่ยหยา หัวหน้าฝ่ายวิจัยนวัตกรรมของ Webank กล่าวว่า "คลาวด์เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการส่งมอบนวัตกรรมทางการเงิน" ทั้งนี้ ด้วยแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่เปิดกว้าง มีประสิทธิภาพ และบริหารจัดการได้ด้วยตัวเอง Webank ได้จับมือกับ Tencent Cloud สร้างระบบนิเวศที่ผสมผสาน "คลาวด์ + ธนาคาร" ซึ่งจะช่วยสนับสนุนนการพัฒนาวัตกรรมทางการเงิน และมอบบริการทางการเงินที่ดีขึ้นให้แก่ธุรกิจขนาดย่อมและผู้บริโภค ตลอดจนมอบบริการในรูปแบบ "SaaS+" (Software-as-a-Service + industry) ให้แก่องค์กรในแวดวงการเงินและอุตสาหกรรมดั้งเดิมอื่นๆ
ความร่วมมือครั้งใหม่และโซลูชั่นที่ครอบคลุมสำหรับภาคการเงิน
ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ หัวเว่ย และ ABC ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ โดยหัวเว่ยจะเข้ามาพัฒนาและบูรณาการสถาปัตยกรรมภายในศูนย์บริการและศูนย์ข้อมูลหลายแห่งของ ABC ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อรองรับการดำเนินงานที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระดับสากล นอกจากนี้ หัวเว่ยยังร่วมมือกับ Pactera เปิดตัวโซลูชั่นหลักด้านการธนาคารดิจิทัล โดยเน้นที่การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า ทั้งในด้านบริการทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ
ขณะเดียวกัน หัวเว่ยได้นำ 12 โซลูชั่นหลักสำหรับอุตสาหกรรมการเงินมาจัดแสดงในงานนี้ ผ่านการจำลองสถานการณ์และการสาธิตที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วม โดยแบ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงขนาดใหญ่ 3 ส่วน ได้แก่ "Cloud Finance", "Big Data Finance" และ "Omni-channel Finance"
โซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมการเงินของหัวเว่ยถูกนำไปใช้ในสถาบันการเงินกว่า 300 แห่งทั่วโลก ซึ่งรวมถึง 6 ใน 10 ธนาคารชั้นนำของโลก สำหรับในยุโรป เอเชียแปซิฟิก รัสเซีย และและภูมิภาคอื่นๆ โซลูชั่นของหัวเว่ยถูกนำไปใช้โดยลูกค้าซึ่งเป็นผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำในแต่ละประเทศ ส่วนในประเทศจีน หัวเว่ยเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ไอทีให้กับธนาคารรายใหญ่ของรัฐรวม 4 แห่ง
รับชมข้อมูลเกี่ยวกับงาน Huawei Global Financial Summit ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมแชงกรีลาในกรุงปักกิ่ง ได้ที่ http://e.huawei.com/topic/finance2017-en/index.html
No comments:
Post a Comment