การประชุมจีน-อาเซียนว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมความร่วมมือ ครั้งที่ 8 (The 8th Forum on China-ASEAN Technology Transfer and Collaborative Innovation) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเจ้าภาพร่วมกับรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และดำเนินการจัดงานโดยสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งกว่างซี ร่วมกับศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน โดยจัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Empower the Future with Opening-up and Innovation" ประกอบด้วยกิจกรรมในช่วงพิธีเปิดและกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การเสวนาเวทีหลัก, การเสวนาอาเซียน+3 ด้านนวัตกรรมโดยนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 2, นิทรรศการเทคโนโลยีขั้นสูงจีน-อาเซียนเอกซ์โปครั้งที่ 17, การจับคู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน รวมถึงเวทีเสวนานานาชาติจีน-อาเซียนว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความร่วมมือด้านนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้นวัตกรรมเกิดการไหลเวียนอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาแบบองค์รวมระหว่างจีนและอาเซียน
สำหรับการประชุมในปีนี้ มีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ และไทย รวม 6 คน ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดงานผ่านทางวิดีโอ โดยมีผู้แทนจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศสมาชิกอาเซียนในแวดวงเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างห้องปฏิบัติการร่วมในการเสวนาอาเซียน+3 ด้านนวัตกรรมโดยนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 2 ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ ส่วนในช่วงพิธีเปิดงานได้มีการประกาศและลงนามการบรรลุข้อตกลงด้านนวัตกรรมหลายโครงการ โดยรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับมหาวิทยาลัยฉางอาน และยังได้มีการประกาศทางออนไลน์เกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน (CATTC) ประจำกรุงเทพฯ รวมถึงท่าเรือนวัตกรรมจีน-ไทย-อาเซียนด้วย ตลอดจนการเปิดตัวโครงการศูนย์นวัตกรรมข้อมูล Big Earth ระหว่างจีน-อาเซียนที่ศาสตราจารย์ Guo Huadong เป็นผู้ริเริ่มขึ้น การลงนามดังกล่าวจะช่วยขับเคลื่อนความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างจีนและอาเซียน รวมถึงร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคให้มีคุณภาพสูง
การประชุมในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 นับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา ตอดระยะเวลาที่ผ่านมา การประชุมได้เปิดพื้นที่ให้เกิดการสื่อสารและการจับคู่ระหว่างรัฐบาล องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ของจีนและอาเซียนอย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความร่วมมือด้านนวัตกรรมในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในเชิงบวกในการสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินนโยบาย "สามสถานะ" ของกว่างซีที่รัฐบาลกลางได้กำหนดขึ้น ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือที่ก่อประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันทั้งในระดับโลกและภูมิภาค รวมถึงส่งเสริมการเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน
No comments:
Post a Comment