Thursday, November 26, 2020

"เศรษฐกิจสีเขียว" ช่วยปลดล็อกอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 Bain & Company เปิดศูนย์นวัตกรรมความยั่งยืนระดับโลกในสิงคโปร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์


บริษัท Bain & Company เปิดเผยรายงานแนวโน้มความยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "Southeast Asia's Green Economy: Pathway to Full Potential" ซึ่งระบุว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หากค้นพบศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเศรษฐกิจสีเขียว และภูมิภาคนี้สามารถสร้างเศรษฐกิจสีเขียวมากขึ้นภายในปี 2573 โดยได้รับแรงหนุนจากทั่วโลกและการลงทุนเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านความยั่งยืนและสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากมาย แต่ด้วยสัดส่วนประชากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากร ภูมิภาคนี้จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นและมีศักยภาพในการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในส่วนของการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน การสร้างระบบนิเวศอาหารที่แข็งแกร่งและยั่งยืน การพัฒนาอุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ การสร้างเมืองสีเขียวที่เชื่อมถึงกันมากขึ้น รวมถึงการบุกเบิกสินเชื่อสีเขียว ดังนั้น การเร่งพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงสามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีให้แก่ภาคธุรกิจภายในปี 2573 ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการและสังคมในภูมิภาคสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต


Bain พยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนทั่วโลก และได้เปิดศูนย์นวัตกรรมความยั่งยืนระดับโลก (Global Sustainability Innovation Center: GSIC) โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ โดย GSIC จะบุกเบิกโซลูชันใหม่ ๆ เพื่อเร่งผลักดันภาคเอกชนไปสู่ความยั่งยืน นำไปสู่การจัดการกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกหลายเรื่อง ศูนย์แห่งนี้จะตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ และจะเพิ่มพูนความเชี่ยวชาญของ Bain ในด้านความยั่งยืนในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ขององค์กร 


"ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อสร้างความยั่งยืน ขณะที่ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเร่งด่วน" Gerry Mattios ผู้อำนวยการร่วมของ GSIC ในสิงคโปร์ และผู้ร่วมจัดทำรายงานฉบับนี้ กล่าว "มาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ที่อัดฉีดเข้าสู่เศรษฐกิจทั่วโลกเพื่อจัดการกับโควิด-19 และส่งเสริมแนวคิด "การฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิม" ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถสร้างแรงหนุนได้อีกมากเพื่อคว้าโอกาสนี้"


ปัจจุบัน โครงการสีเขียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังห่างชั้นเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งช่องว่างดังกล่าวถือเป็นภัยคุกคามขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสมหาศาลให้แก่ภูมิภาคนี้


"การใช้หลักปฏิบัติสีเขียวจะช่วยให้ภูมิภาคนี้บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งจะสร้างประโยชน์ทางสังคมมากมาย เช่น การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางธรรมชาติ และการสร้างความครอบคลุมทางสังคม ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตด้วย" Dale Hardcastle ผู้อำนวยการร่วมของ GSIC ในสิงคโปร์ และผู้ร่วมจัดทำรายงานฉบับนี้ กล่าว "การปลดล็อกเศรษฐกิจสีเขียวจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคส่วนต่าง ๆ ในภูมิภาคเกิดขึ้นตามมาในทันที"


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวทางครอบคลุมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในการปลดล็อกศักยภาพของเศรษฐกิจสีเขียวมูลค่านับล้านล้านดอลลาร์ โดยมีหลายอุตสาหกรรมที่ภูมิภาคนี้สามารถเป็นผู้นำโลกได้ ดังนี้


- พลังงานและทรัพยากรที่ยั่งยืน: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ทรัพยากรและพลังงานมากเกินไปเพราะการจัดการของเสียไม่มีประสิทธิภาพ แต่ภูมิภาคนี้อาจได้รับโอกาสมูลค่า 2.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐจากการเริ่มใช้พลังงานไฟฟ้าที่ปล่อยคาร์บอนลดลง การเปลี่ยนไปใช้พลังงานยั่งยืน การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ และการหมุนเวียนทรัพยากร

- ระบบอาหารที่แข็งแกร่งและยั่งยืน: เกษตรกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขยายตัวอย่างไร้ประสิทธิภาพและสิ้นเปลือง แต่ภูมิภาคนี้ก็มีศักยภาพในการพัฒนาและเพิ่มผลผลิต ซึ่งจะทำให้โภชนาการเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ในวงกว้าง และสร้างโอกาสมูลค่า 2.05 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่ภูมิภาคนี้

- การดำเนินงานเชิงอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ: กิจกรรมทางอุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขยายตัวเพราะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่ภูมิภาคนี้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เชื่อมกับห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงทำให้โปร่งใสและตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งจะนำไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนและสร้างโอกาสมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

- เมืองสีเขียวที่เชื่อมถึงกัน: ขณะที่ประชากรในเมืองมีจำนวนเพิ่มขึ้น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถสร้างบ้านสีเขียวราคาเอื้อมถึงในพื้นที่ใกล้เมืองใหญ่และเชื่อมกับระบบขนส่งสาธารณะสีเขียว ซึ่งจะสร้างโอกาสมูลค่า 1.85 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาคนี้

- สินเชื่อสีเขียวและตลาดคาร์บอนเหลว: เนื่องจากโครงการด้านความยั่งยืนมักประสบอุปสรรคด้านเงินทุน และรายได้จากการชดเชยคาร์บอนก็ไม่เพียงพอ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงสามารถเป็นผู้นำในการให้สินเชื่อสีเขียวสำหรับตลาดคาร์บอนเหลว เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยคาร์บอน


"การตัดสินใจเปิด GSIC ในสิงคโปร์จะช่วยยกระดับระบบนิเวศความยั่งยืนของเรา รวมถึงช่วยให้บริษัทที่นี่และทั่วภูมิภาคสามารถคว้าโอกาสในเศรษฐกิจสีเขียว" Dawn Lim รองประธาน และผู้อำนวยการฝ่ายบริการเชิงพาณิชย์และบริการเฉพาะกิจของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ กล่าว "เนื่องจากบริการด้านความยั่งยืนยังคงเป็นที่ต้องการมากขึ้น เราจะร่วมมือกับ Bain และบริษัทอื่น ๆ ที่มีแนวคิดเหมือนกัน เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและการจ้างงานในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น พลังงานสะอาด โครงสร้างพื้นฐานและอาคารสีเขียว รวมถึงเทคโนโลยีปล่อยคาร์บอนต่ำ"


"การเปิด GSIC เป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเรา เรายินดีมากที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำอุตสาหกรรมมากมาย โดยเฉพาะคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์" Satish Shankar ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Bain & Company กล่าว "เราเชื่อว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนในระดับโลก และเรามุ่งมั่นที่จะทำภารกิจให้สำเร็จเพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"




ที่มา: พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

No comments:

Post a Comment