Friday, May 29, 2020

ผลสำรวจของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น เผยผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกหาข้อมูลโภชนาการในโซเชียลมีเดีย แต่ความเชื่อผิด ๆ ที่เผยแพร่เต็มโลกออนไลน์ทำให้พลาดข้อมูลโภชนาการที่ถูกต้อง

มีผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกไม่ถึง 1 ใน 4 ที่ทำแบบทดสอบความรู้เรื่องโภชนาการทั่วไปผ่านเกณฑ์ และมีเพียง 4 ใน 10 คนที่มั่นใจมากว่าตนเองมีความรู้เรื่องโภชนาการ



เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น (Herbalife Nutrition) บริษัทโภชนาการระดับโลก เผยแพร่ผลสำรวจความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโภชนาการในเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2563 (Asia Pacific Nutrition Myths Survey 2020) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกหาข้อมูลโภชนาการในโซเชียลมีเดียบ่อยที่สุด โดยเกือบ 7 ใน 10 (68%) ใช้โซเชียลมีเดียรวบรวมข้อมูลโภชนาการทุกเดือน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลและความเชื่อผิด ๆ ที่เผยแพร่เต็มโลกออนไลน์เป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับความรู้เรื่องโภชนาการของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก และเปิดเผยความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโภชนาการที่พบบ่อยที่สุดในปัจจุบัน เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ได้ทำการสำรวจผู้บริโภค 5,500 คนในหลายตลาด ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม เมื่อเดือนมีนาคม 2563

ผู้ตอบแบบสำรวจต้องทำแบบทดสอบความรู้เรื่องโภชนาการทั่วไปที่แนบมาพร้อมกับแบบสำรวจ ซึ่งผลปรากฏว่ามีไม่ถึง 1 ใน 4 (23%) ที่ตอบคำถามถูกมากกว่าครึ่งหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกมีความรู้เรื่องโภชนาการในระดับต่ำ นอกจากนั้นยังมีไม่ถึง 4 ใน 10 (38%) ที่มั่นใจมากว่าตนเองมีความรู้เรื่องโภชนาการ

"แหล่งข้อมูลโภชนาการมีอยู่มากมายมหาศาล แต่ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโภชนาการก็เผยแพร่เต็มไปหมด ผู้บริโภคจึงเผชิญกับความท้าทายมากกว่าที่เคยในการรับข้อมูลที่ถูกต้อง และต้องแยกความจริงออกจากความเท็จให้ได้ การที่ผู้บริโภคทำแบบทดสอบความรู้เรื่องโภชนาการทั่วไปได้คะแนนต่ำ ยิ่งตอกย้ำความสำคัญของการรับข้อมูลที่ถูกต้องจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้" สตีเฟน คอนจี รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น กล่าว "ข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจากการสำรวจทำให้เราต้องการเผยช่องว่างด้านข้อมูลโภชนาการและช่วยอุดช่องว่างนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความรู้เรื่องโภชนาการที่จำเป็น อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์สุขภาพตามที่ปรารถนา"

โซเชียลมีเดีย : แหล่งข้อมูลโภชนาการที่ใช้บ่อยที่สุด แต่มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด

เมื่อถามผู้บริโภคว่าหาข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการจากแหล่งใด:

- 68% ใช้โซเชียลมีเดีย
- 64% ถามคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง
- 59% ดูในสื่อสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์อย่างน้อยเดือนละครั้ง

โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข้อมูลโภชนาการที่ใช้บ่อยที่สุด แต่ผู้บริโภคกลับเชื่อมั่นน้อยที่สุดในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล

- ผู้บริโภคเพียง 3 ใน 10 (30%) มั่นใจมากในความถูกต้องของข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย
- ผู้บริโภคกว่า 7 ใน 10 (72%) มั่นใจมากในความถูกต้องของข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ
- ผู้บริโภคกว่าครึ่ง (54%) มั่นใจมากในความถูกต้องของข้อมูลจากบริษัทโภชนาการ

เมื่อถามถึงประโยชน์ของแหล่งข้อมูลโภชนาการ มีผู้บริโภคไม่ถึงครึ่ง (48%) ที่ระบุว่าข้อมูลจากโซเชียลมีเดียมีประโยชน์มากหรือมากที่สุด โดยผู้บริโภคมองว่าข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ (74%) บริษัทโภชนาการ (60%) รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ (53%) มีประโยชน์มากกว่า

ข้อมูลและความเชื่อผิด ๆ บนโลกออนไลน์ : ขัดขวางการเข้าถึงความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง

ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกกว่า 7 ใน 10 (72%) กล่าวว่า การได้รับความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสมมีความสำคัญมากหรือมากที่สุด แต่มีผู้บริโภคไม่ถึง 3 ใน 10 (27%) ที่ได้รับข้อมูลโภชนาการอย่างเหมาะสม โดยอุปสรรคสำคัญประกอบด้วย

- ข้อมูลและความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโภชนาการที่เผยแพร่เต็มโลกออนไลน์ (40%)
- การขาดแคลนข้อมูลโภชนาการจากเว็บไซต์ของภาครัฐและหน่วยงานสุขภาพ (16%)
- การขาดแคลนข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ (16%)

อุดช่องว่างด้านความรู้เรื่องโภชนาการในเอเชียแปซิฟิก

เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพและบริษัทโภชนาการถูกมองว่าเป็นแหล่งข้อมูลโภชนาการที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ทั้งสองฝ่ายจึงต้องมีบทบาทมากขึ้นในการมอบข้อมูลและเครื่องมือที่จำเป็นให้แก่ผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์มากที่สุดจากโภชนาการที่ดี

ผลสำรวจเผยให้เห็นว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก (65%) สนใจรับคำแนะนำด้านโภชนาการจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น และกว่า 4 ใน 5 (83%) ต้องการรับคำแนะนำด้านโภชนาการเชิงรุกมากขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ ด้วยเหตุนี้ ความพยายามร่วมกันของภาครัฐ สถาบันสุขภาพ และแวดวงโภชนาการ จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโภชนาการและประโยชน์ของโภชนาการที่ดี อันจะนำไปสู่การมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

เกี่ยวกับเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น

เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น เป็นบริษัทโภชนาการระดับโลกที่มีความมุ่งหมายในการทำให้ผู้คนทั่วโลกมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น บริษัทก่อตั้งขึ้นด้วยพันธกิจด้านโภชนาการ เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนด้วยโภชนาการและแผนการจัดการโภชนาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 บริษัทร่วมกับผู้จำหน่ายอิสระเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น มีพันธะสัญญาในการนำเสนอทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค เพื่อต่อสู้กับปัญหาที่ผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญ ได้แก่ ภาวะการได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน สภาวะน้ำหนักเกิน การเพิ่มขึ้นของกลุ่มประชากรผู้สูงวัย ค่าใช้จ่ายการดูแลรักษาสุขภาพของภาครัฐที่พุ่งสูงขึ้น และการเติบโตของธุรกิจผู้ประกอบการในทุกช่วงวัย ด้วยการส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ผ่านการรับรองทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตในโรงงานของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น พร้อมคำแนะนำเฉพาะบุคคลจากผู้จำหน่ายอิสระ รวมถึงแนวทางในการสนับสนุนชุมชน ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคได้ใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์ของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ครอบคลุมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์โภชนาการเฉพาะ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการจัดการน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างพลังงานและเพื่อการกีฬา ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณและเส้นผม ซึ่งจัดจำหน่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนตัวของผู้จำหน่ายอิสระของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น และผ่านผู้จำหน่ายอิสระไปยังผู้บริโภคในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก สำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัทได้ให้การสนับสนุน เฮอร์บาไลฟ์ แฟมิลี่ ฟาวเดชั่น (Herbalife Family Foundation: HFF) และโครงการคาซ่า เฮอร์บาไลฟ์ เพื่อนำพาโภชนาการที่ดีไปสู่เด็ก ๆ ที่ขาดแคลน อีกทั้งยังให้การสนับสนุนนักกีฬา สโมสรกีฬา รวมถึงการจัดการแข่งขันระดับโลกรวมกว่า 190 ราย อาทิ คริสเตียโน โรนัลโด ทีมฟุตบอลแอลเอ กาแลคซี่ และทีมกีฬาระดับโอลิมปิคประเภทต่าง ๆ

ปัจจุบัน เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น มีพนักงานทั่วโลกกว่า 8,300 คน และหุ้นของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของนิวยอร์ค (NYSE:HLF) โดยมียอดขายสุทธิ 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถคลิกดูได้ที่เว็บไซต์ Herbalife.co.th หรือ IAmHerbalife.com

No comments:

Post a Comment