Friday, May 22, 2020

สถานีโทรทัศน์ CGTN เผยแพร่แผนพัฒนา 5 ปี สู่การวางเป้าหมายพัฒนาอนาคตของจีน

แผนพัฒนา 5 ปี (FYP) ของจีนเป็นระบบที่ทำขึ้นมาเพื่อวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสำหรับ 5 ปีข้างหน้า และล่าสุดสถานีโทรทัศน์ CGTN ก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้คนได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นแบบอินเตอร์แอคทีฟในเพจเพื่อทบทวนแผนพัฒนา 5 ปีของประเทศที่มีมาตั้งแต่ปี 2496 

ออกแบบอนาคต: แผนพัฒนา 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2496
คำบรรยายภาพ - ออกแบบอนาคต: แผนพัฒนา 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2496

การเข้าถึงเพจอินเตอร์แอคทีฟของ CGTN ว่าด้วยแผนพัฒนา ปี  ออกแบบอนาคต

แผนพัฒนาฉบับแรกเริ่มขึ้นเมื่อปี 2496 โดยมีการจัดทำและดำเนินการตามแผนมาแล้วทั้งหมด 13 ฉบับ ยกเว้นช่วงที่มีการปรับตัวทางเศรษฐกิจระหว่างปี 2506 ถึงปี 2508

ปี 2563 นี้เป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฉบับที่ 13 และปัจจุบันจีนกำลังอยู่ระหว่างการร่างแผนพัฒนาฉบับที่ 14 ขณะที่ทุกสายตาต่างก็กำลังจับจ้องไปที่การประชุมใหญ่ประจำปีทั้ง 2 ครั้ง ซึ่งกำลังจะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อดูว่าจะมีรายละเอียดเรื่องใดถูกเปิดเผยออกมาเพิ่มเติม

สถานีโทรทัศน์ CGTN ได้ทำการวิเคราะห์และแสดงภาพแผนพัฒนาของจีนออกมาทั้งในแง่ของความยาว เป้าหมายหลัก ตลอดจนแผนการสำหรับภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม สุขภาพ การบริหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การค้ากับต่างประเทศ และการป้องกันประเทศ

แบบพิมพ์เขียวฉบับนี้ถูกวางเป้าหมายและแนวทางมาอย่างละเอียดครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ประกอบไปด้วยเป้าหมายสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจ และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม

จากแผนฉบับแรกถึงแผนฉบับที่ 13

หลังจากที่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นเมื่อปี 2492 เศรษฐกิจของจีนได้ตกอยู่ในช่วงเวลาของการฟื้นฟู จนปี 2496 รัฐบาลกลางก็ได้เปิดตัวแผนพัฒนาฉบับแรกออกมา (2496-2500) โดยมีเป้าหมายที่จะพลิกโฉมจีนจากประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรมขั้นสูงด้วยการมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก

แผนพัฒนาฉบับต่อมา ๆ เน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยที่แผนพัฒนาฉบับที่ 2 (2501-2506) พูดถึงเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยการขบเน้นอุตสาหกรรมหนัก ขณะที่ภารกิจสำคัญของแผนพัฒนาฉบับที่ 3 (2509-2513) คือการพัฒนาการเกษตรและสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมพื้นฐาน ด้านแผนพัฒนาฉบับที่ 4 (2514-2518) ได้มีการกำหนดเป้าหมายสำหรับผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงการลงทุนเชิงโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนแผนพัฒนาฉบับที่ 5 (2519-2523) มีการตั้งเป้าหมายในการสร้างระบบอุตสาหกรรมที่เป็นอิสระและค่อนข้างสมบูรณ์เอาไว้

ตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 2 จนถึงฉบับที่ 5 รัฐบาลจีนอยู่ในช่วงของการสำรวจการกำหนดและดำเนินการตามแนวทางพัฒนาระยะกลางถึงระยะยาว โดยมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายอย่างต่อเนื่องจากความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมา

แผนพัฒนาฉบับแรก ๆ ของจีน มีการกำหนดโควต้าการผลิตสินค้าเฉพาะ เช่น เหล็กและธัญพืชเอาไว้ แต่นับตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จีนกำลังอยู่ในขั้นตอนของการสร้างเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิสังคมนิยมแบบจีน บทบาทของแผนพัฒนาก็เริ่มมีความผ่อนคลายและละทิ้งเป้าหมายเชิงตัวเลขไปอย่างมาก

แผนพัฒนาฉบับที่ 6 มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนและการแก้ปัญหาของแผนก่อนหน้า

โครงการอินเตอร์แอคทีฟนี้วิเคราะห์ตัวบทของแผนพัฒนาฉบับแรกและฉบับที่ 7 ไปจนถึงฉบับที่ 13 เนื่องจากไม่สามารถเข้าดูตัวบทฉบับเต็มของแผนพัฒนาฉบับที่ 2-6 ได้ ส่วนเอกสารทางการของฉบับที่ 8 นั้นก็ประกอบไปด้วยตัวหนังสือภาษาจีนมากกว่า 360,000 ตัว

ในแง่ของความยาวของแผนแต่ละฉบับ แผนพัฒนาฉบับแรกมีความยาวมากที่สุดและเป็นรากฐานสำหรับแผนพัฒนาฉบับต่อ ๆ มาในอนาคต

แผนพัฒนาฉบับที่ 7 (2529-2533) บ่มเพาะขึ้นเพื่อสร้างรากฐานสำหรับระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบใหม่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของจีน

แผนพัฒนาฉบับที่ 8 (2534-2538) ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นอันดับแรก ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาด้านเทคโนโลยี การศึกษา และการค้ากับต่างประเทศ

เป้าหมายหลักของแผนพัฒนาฉบับที่ 9 (2539-2543) มุ่งเน้นการจัดตั้งระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเบื้องต้นและยกระดับโครงการอุตสาหกรรมเพิ่มเติม

แผนพัฒนาฉบับที่ 10 (2544-2548) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบประกันสังคมที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และสร้างความก้าวหน้าสำคัญด้านการสร้างระบบองค์กรที่ทันสมัยในรัฐวิสาหกิจ

แผนพัฒนาฉบับที่ 11 (2549-2553) เสนอให้ดำเนินการและปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมและยกระดับการใช้ทรัพยากร

แผนพัฒนาฉบับที่ 12 (2554-25558) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนกำหนดเป้าหมายในการปกป้องสิ่งแวดล้อม

แผนพัฒนาฉบับที่ 13 (2559-2563) ยกระดับการใช้นวัตกรรมเพื่อผลักดันการพัฒนา

แผนพัฒนาของจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะในด้านเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น ทว่ายังให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับหลายส่วนที่กว้างขึ้น รวมถึง การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การตั้งเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ตลอดจนโครงการสวัสดิการสังคมต่าง ๆ เช่นเรื่องของความมั่นคงทางสุขภาพและการสร้างงาน เป็นต้น



No comments:

Post a Comment