Friday, November 20, 2020

หัวเว่ยปลื้ม ลูกค้าคว้า 3 รางวัลเมืองอัจฉริยะ และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 3 รางวัลที่งาน 2020 Smart City Expo World Congress

 --เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และเขตหนานไห่ เมืองฝอซาน ได้รับรางวัล


เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่งาน Smart City Expo World Congress ครั้งที่ 10 ลูกค้าของหัวเว่ย ได้รับรางวัล World Smart City Award จำนวน 3 รางวัล และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงอีก 3 รางวัลสำหรับไอเดียเชิงนวัตกรรมและความสำเร็จที่โดดเด่นในการดำเนินโครงการเมืองอัจฉริยะ โดยเซินเจิ้นได้รับรางวัล Enabling Technologies Award สำหรับการใช้เทคโนโลยีพัฒนาระบบธรรมาภิบาลของเมือง เซี่ยงไฮ้ได้รับรางวัล City Award ซึ่งเป็นรางวัลที่ยกย่องเมืองอัจฉริยะระดับโลก เขตหนานไห่ เมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้งได้รับรางวัล Economy Award ขณะที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี มหานครเทียนจิน (Tianjin Economic - Technological Development Area - TEDA) เขตเศรษฐกิจใหม่เจิ้งตง (Zhengdong New District) มณฑลเหอหนาน และเมืองหวงซาน มณฑลอันฮุย ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Inclusive & Sharing Cities Award (เมืองที่ให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มคนและการแบ่งปัน) รางวัล Innovative Idea Award (ไอเดียเชิงนวัตกรรม) รางวัล Governance & Service Award (ธรรมาภิบาลและบริการ) และรางวัล Economy Award (เศรษฐกิจ) ตามลำดับ รางวัลเหล่านี้ไม่เพียงยกย่องผู้ได้รับรางวัล แต่ยังแสดงถึงความชื่นชมที่อุตสาหกรรมมีต่อหัวเว่ยในด้านการสร้างเมืองอัจฉริยะ โดยในระหว่างงานเอ็กซ์โป หัวเว่ยยังได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Smart City Summit ภายใต้ธีม "Empowering the City Being with Intelligence and Vitality" (ส่งเสริมชีวิตในเมืองด้วยความอัจฉริยะและพลังชีวิต) เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับการสร้างเมืองแห่งอนาคต


Yue Kun ประธาน Global Government Business Unit ของหัวเว่ย กล่าวว่า "ขณะที่เราเดินหน้าการก่อสร้างและการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เราต้องเริ่มต้นการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในขั้นต่อไปอย่างเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติด้วยประสบการณ์และวิสัยทัศน์ของเรา เนื่องจากเมืองอัจฉริยะเป็นรูปแบบใหม่ของการพัฒนาเมืองในอนาคต เราจึงต้องมุ่งเน้นไปที่ปัญหาหลักของเมือง ยึดแนวคิดที่มุ่งเน้นผู้คน มุ่งให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและมุ่งเน้นประสบการณ์เกี่ยวกับบริการของเมือง ตลอดจนมุ่งสร้างความเชื่อมโยงแนวนอนและการรื้อปรับกระบวนการ กระบวนการดังกล่าวรวมถึงการวางแผนระบบธุรกิจในภาพรวม ความร่วมมือในห้าวงการเทคโนโลยีหลัก การเชื่อมถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพของระบบข้อมูล และการพัฒนาระบบปฏิบัติการอย่างยั่งยืน การสร้างเมืองให้เป็นบ้านแสนสุขอย่างมีระบบจะทำให้เราสามารถสร้างคู่แฝดเมืองอัจฉริยะและสร้างชีวิตที่ดีกว่าไปด้วยกัน"


เซี่ยงไฮ้ได้รับรางวัล City Award ในฐานะเมืองอัจฉริยะที่สร้างสุขด้วยเทคโนโลยี


การพัฒนาเมืองขึ้นอยู่กับแนวคิด รากฐาน และรูปแบบของการก่อสร้างเมือง ซึ่งผลปรากฏว่า เซี่ยงไฮ้ เมืองอัจฉริยะระดับโลกจากนวัตกรรมของหัวเว่ยในยุคดิจิทัล ได้รับการยกย่องด้วยรางวัล City Award ระดับโลก


หัวเว่ย และ Urban Operation and Management Center ได้ร่วมกันพัฒนาระบบสัมผัสอัจฉริยะ "12345" ในเขตสวีหุ้ย นครเซี่ยงไฮ้ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นสำคัญจากสามมิติ ได้แก่ เวลา พื้นที่ และผู้คน ซึ่งจากการรับมือประเด็นสำคัญในอดีตที่ผ่านมา ได้มีการสร้างโมเดลพื้นฐานเพื่อเป็นกระบวนการวงปิดในการสร้างการรับรู้อัจฉริยะ การวิเคราะห์ข้อมูล และการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับเครื่องจักร ทำให้สามารถคาดการณ์ประเด็นด่วนและความเสี่ยงที่สำคัญได้ล่วงหน้า เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจให้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


และระหว่างการก่อสร้างเขตเมืองอัจฉริยะ เขตหวงผู่ของเซี่ยงไฮ้ได้เสนอภารกิจการก่อสร้างและเป้าหมายโดยรวมของ "IoT, การเชื่อมโยงข้อมูล และการเชื่อมต่ออัจฉริยะ" โครงการดังกล่าวมีการออกแบบเชิงนวัตกรรมระดับโลก และจะสร้าง Urban Operation Management Center ในเขตหวงผู่ด้วยโมเดลการปฏิบัติการและการจัดการเชิงนวัตกรรมที่ครอบคลุม พร้อมคำนึงถึงทุกพื้นที่และเวลาด้วยกระบวนการวงปิดอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบัน เขตดังกล่าวมีแอปพลิเคชั่นพิเศษ 15 แอปในสี่ด้าน ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัยสาธารณะ การบริหารจัดการสาธารณะ บริการสาธารณะ และปฏิบัติการเศรษฐศาสตร์ ในกระบวนการปรับปรุงการบริหารจัดการเมืองระดับมหานคร แนวคิด "การจัดการเครือข่ายอย่างมีเอกภาพ" ช่วยส่งเสริมธรรมาภิบาลของเมืองอัจฉริยะเพื่อนำไปสู่เขตหวงผู่ที่มีความอัจฉริยะยิ่งขึ้น


เซินเจิ้นได้รับรางวัล Enablng Technologies Award จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้ชีวิตดีขึ้น


จากเป้าหมายในการสร้างคู่เมืองอัจฉริยะชั้นหนึ่งแห่งใหม่ (Double First-Class New Smart City) เซินเจิ้นได้สร้างคู่แฝดเมืองอัจฉริยะเผิงเฉิง (Pengcheng Intelligent Twins) โดยใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของเมืองอย่างครอบคลุม ด้วยการวางระบบในหกด้าน ได้แก่ บริการสาธารณะ ความมั่นคงปลอดภัยสาธารณะ ธรรมาภิบาลของเมือง อุตสาหกรรมอัจฉริยะ บริการบิ๊กดาต้า และเครือข่ายการรับรู้ เซินเจิ้นได้สร้างรูปแบบการก่อสร้างเมืองอัจฉริยะแบบใหม่ที่ใช้การบูรณาการ ประกอบด้วยแพลตฟอร์ม แอปพลิเคชั่น และสมองอัจฉริยะของเมือง ซึ่งยกระดับการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นธรรมาภิบาลของเมือง บริการสาธารณะ และการพัฒนาอุตสาหกรรม


เซินเจิ้นได้วาดภาพเมืองที่มีภูมิทัศน์อัจฉริยะแห่งอนาคตแบบครบวงจรในหนึ่งเดียว (all-in-ONE) ได้แก่ แผนที่เมืองในที่เดียว หมายเลขโทรศัพท์เดียวสำหรับบริการของเมือง คลิกเดียวสำหรับวิสัยทัศน์รอบด้าน โครงสร้างเดียวสำหรับการทำงานและการเชื่อมต่อที่รวมไว้ในที่เดียว และหน้าจอเดียวสำหรับการใช้ชีวิตแบบอัจฉริยะ ด้วยระบบบริการของรัฐที่เชื่อมถึงกันผ่านระบบดิจิทัล บริการอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของรัฐบาลได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เสมอ ในปี 2020 เซินเจิ้นวางแผนสร้างสถานีฐาน 5G จำนวน 46,000 แห่ง เป็นเมืองแห่งแรกในจีนที่มีโครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่ครอบคลุมอย่างสมบูรณ์พร้อมเครือข่ายที่เป็นอิสระ เซินเจิ้นกำลังจะก้าวเป็นศูนย์รวมเชิงนวัตกรรมสำหรับความอัจฉริยะของอุตสาหกรรมและการเป็นผู้นำในแง่ของเทคโนโลยี


นอกจากนี้ ด้วยการสร้างระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการรายงานและดำเนินการในไม่กี่วินาที เซินเจิ้นได้ทำให้บริการหลัก 350 รายการในสำนักงานรัฐบาล 53 แห่งย้ายเข้าไปอยู่ในระบบคลาวด์ เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับการบริหารจัดการในเมืองและเขตต่างๆ ซึ่งส่งเสริมคุณภาพของบริการสาธารณะ ด้วยแพลตฟอร์มคลาวด์ของเมือง ข้อมูลจะถูกส่งโดยตรง เป็นการลดกระบวนการที่ต้องกระทำกันต่อหน้า และส่งเสริมบริการไร้สัมผัสในหลากหลายบริการของเมือง นอกจากนี้ เซินเจิ้นยังดำเนินหลากหลายวิธีในการบริหารเวลาทำการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยลดระยะเวลาการจดทะเบียนและอนุมัติบริษัทใหม่ให้เหลือเพียงไม่ถึงนาที การยื่นเอกสารโครงการขององค์กรไปจนถึงการอนุมัติใช้เวลาทั้งหมดเพียงหกวินาทีเท่านั้น


เขตหนานไห่ เมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้งได้รับรางวัล Economy Award


เขตหนานไห่ เมืองฝอซานได้รับรางวัล Economy Award สำหรับการก้าวจากอดีตสู่สมัยใหม่ เขตหนานไห่ใช้ระบบไอซีทีแบบใหม่ในการสร้าง "หนานไห่ดิจิทัล" ประกอบด้วยศูนย์บูรณาการข้อมูล การติดตามการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์การตัดสินใจ นิทรรศการที่ครอบคลุม และการบัญชาการและควบคุม ด้วยแนวคิดดังกล่าว ทั้งเมืองสามารถดูได้ในแผนที่เดียว ด้วยระบบปฏิบัติการอัจฉริยะบนหน้าจอเดียวและแอปพลิเคชั่นที่มีเอกภาพบนหนึ่งระบบคลาวด์


ลูกค้าของหัวเว่ยได้เข้าชิงหลากหลายรางวัล


เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี มหานครเทียนจิน (TEDA) เป็นหนึ่งในผู้เข้าชิงรางวัล Inclusive & Sharing Cities Award จากความสำเร็จในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการสร้างเมืองอัจฉริยะ ในปี 2018 หัวเว่ยได้ร่วมมือกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี มหานครเทียนจิน และได้ประกาศ "เมืองอัจฉริยะ AI+" (AI+ Smart City) เป็นแห่งแรกของจีน ได้แก่ TEDA New City หลังจากดำเนินการก่อสร้างอยู่สามปี เมืองอัจฉริยะ Teda New City มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบแอปพลิเคชั่นระดับโลกสำหรับการสนับสนุนนวัตกรรมทางสังคมและบริการทางสังคม เมืองแห่งนี้ได้กลายเป็นเมืองสมัยใหม่ที่เจริญรุ่งเรือง น่าอยู่ และมีความสุข และได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่การสร้างเมืองอัจฉริยะ


เกาะอัจฉริยะเจิ้งโจว (Zhengzhou Smart Island) ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Innovative Idea Award สำหรับห้องปฏิบัติการเชิงนวัตกรรม เกาะอัจฉริยะเจิ้งโจวมุ่งเน้น "อนาคต" และ "นวัตกรรม" โดยได้สร้างห้องปฏิบัติการเมืองแห่งอนาคตแบบพาโนราม่าเพื่อสร้างรูปแบบการใช้ชีวิตในเมืองที่มุ่งเน้นอนาคต ปัจจุบันมีการใช้โดรน 5G และปัญญาประดิษฐ์เพื่อติดตามสภาพแวดล้อมแบบรอบด้าน เป็นระบบอัตโนมัติที่เข้ามาแทนที่การปฏิบัติงานแบบเดิม ขณะเดียวกัน ด้วยบิ๊กดาต้า เกาะอัจฉริยะแห่งนี้ใช้ข้อมูลองค์กรแบบละเอียด 360 องศา สร้างระบบส่งเสริมการลงทุนแบบตรงจุด และสร้างฐานข้อมูลขององค์กร 54 ล้านองค์ทั่วจีน เกาะอัจฉริยะแห่งนี้ใช้โมเดลดิจิทัลสำหรับทุกวัตถุทางกายภาพเพื่อสร้างแฝดดิจิทัลในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เป็นการจัดแสดงเมืองอัจฉริยะและเป็นตัวขับเคลื่อนใหม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจดิจิทัล


เมืองหวงซานได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Governance & Service Award สำหรับการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการท่องเที่ยว ด้วยแนวคิดและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างเช่นระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์และบิ๊กดาต้า เมืองหวงซานทำตามหลักการ "แบ่งปันแพลตฟอร์ม ร่วมกันสร้างคอนเทนต์ แบ่งปันความสำเร็จ" เพื่อเร่งให้เกิดการสร้างมาตรฐานทรัพยากรข้อมูลและปรับปรุงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ด้วยสมองของเมืองหวงซาน การปฏิบัติงานและศูนย์บัญชาการของ "รัฐบาลดิจิทัล" สามารถเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ ด้วยการมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชั่นวิเคราะห์ด้วยบิ๊กดาต้าในด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการปกป้องสิ่งแวดล้อม เมืองหวงซานเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลของวัฒนธรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว


ทั้งนี้ หัวเว่ยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเมืองอัจฉริยะ โดยใช้แนวคิดคู่แฝดเมืองอัจฉริยะ (City Intelligent Twins) ในการส่งเสริมการวางแผนร่วมกัน และการก่อสร้างแพลตฟอร์มเชิงเทคนิคต่างๆ อย่างเช่น 5G, คลาวด์, AI และเทอร์มินัลอัจฉริยะ ซึ่งทำให้เกิดความร่วมมือในการให้บริการ หัวเว่ยทำงานร่วมกับคู่ค้าในการพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นสำหรับการใช้งานหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการของรัฐบาล ธรรมมาภิบาลทางสังคม บริการสาธารณะ อารยธรรมแห่งนิเวศ และบริการทางเศรษฐกิจ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการพัฒนาเมืองที่หลากหลายและช่วยลูกค้าสร้างแฝดเมืองอัจฉริยะเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันในภาพรวม ปัจจุบัน หัวเว่ยได้ให้บริการโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะแก่เมืองกว่า 200 แห่งใน 40 ประเทศ




ที่มา: พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

No comments:

Post a Comment