ในรายงานวิจัยล่าสุดหัวข้อ Learning from Large-Scale Wearable Device Data for Predicting Epidemics Trend of COVID-19 ซึ่งเผยแพร่โดยฉบับพิเศษ[1]จากวารสารทางวิทยาศาสตร์เจ้าหนึ่ง[2] Huami ได้แสดงให้เห็นศักยภาพในการบริหารจัดการสุขภาพของอุปกรณ์สวมใส่ รวมถึงบทบาทสำคัญของอุปกรณ์เหล่านี้ในการแจ้งเตือนการแพร่ระบาดและระบบสาธารณสุขตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้เบาะแสใหม่ ๆ ในการจัดตั้งระบบเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในวงกว้าง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและคาดการณ์ทางสาธารณสุข[3]
การวิจัยนี้[4]ได้รับการสนับสนุนจาก Huami Corporation ซึ่งได้มีการกำหนดโมเดลการคาดการณ์ขึ้นโดยใช้บิ๊กดาต้าและอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ สิ่งนี้ก่อให้เกิดแนวทางใหม่ในการคาดคะเนแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
การวิจัยดังกล่าวดำเนินการภายใต้นโยบายความเป็นส่วนตัวของ Huami และการปกป้องข้อมูล นักวิจัยได้เก็บข้อมูลอัตราหัวใจเต้น กิจกรรมทางกายภาพ การนอน และข้อมูลทางสรีรวิทยาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการข้างต้น โดยเป็นข้อมูลจากอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ จนได้ข้อมูลที่ลบตัวบ่งชี้ออกไปจากเซ็นเซอร์ของผู้สวมใส่อุปกรณ์ Huami ราว 1.3 ล้านคน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 8 เมษายน 2563 ตามมาตรการควบคุมความปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งนี้ ผู้ใช้งานทุกรายได้รับการชี้แจงแล้วว่า ข้อมูลของพวกเขาที่ลบตัวบ่งชี้ออกไปแล้วอาจนำไปใช้ในการวิจัยทางวิชาการ[5]
ผลการวิจัยพบว่า เมื่ออุณหภูมิร่างกายขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของหัวใจก็จะเพิ่มขึ้นประมาณ 8.5 bpm[6] และเมื่อประเมินจากข้อมูลดังกล่าวแล้ว การที่อัตราหัวใจเต้นเพิ่มขึ้นจากอาการไข้ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 หรือโรคที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเฟ้นหาแนวทางตรวจจับความผิดปกติทางสรีรวิทยา
นักวิจัยของ Huami ได้กำหนดเกณฑ์ประเมินความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักไว้ที่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.5 เหนือจากค่าเฉลี่ยของแต่ละบุคคลเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน และระยะเวลานอนมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่น้อยกว่า 0.5 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย
ผลการวิเคราะห์โมเดลคาดคะเนพบว่า ในเมืองอู่ฮั่น ปักกิ่ง เซินเจิ้น เหอเฟย และหนานจิง มีการพบช่วงการแพร่ระบาดชัดเจนในเส้นโค้งคาดคะเนอัตราการติดเชื้อของแต่ละเมือง ซึ่งสอดคล้องกับการแพร่ระบาดจริงในแต่ละเมือง
ยกตัวอย่างเช่น ที่เมืองอู่ฮั่น อัตราการติดเชื้อที่คาดการณ์จากแบบจำลองดังกล่าวแตะระดับสูงสุดเมื่อวันที่ 28 มกราคม ขณะที่จำนวนผู้ป่วยได้ทีรับการยืนยันรายใหม่ของเมืองอู่ฮั่น แตะระดับสูงสุดจริง ๆ เกือบ 2,000 รายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ โดยอัตราการติดเชื้อที่คาดไว้ว่าจะแตะระดับสูงสุดนั้นถึงจุดสูงสุดก่อนเกิดขึ้นจริง 10 วัน
เมื่อพิจารณาถึงช่วงห่างระหว่างการติดเชื้อโควิด-19 กับการแสดงอาการและการวินิจฉัยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองดังกล่าวยังสอดคล้องกับผลการศึกษาโควิด-19 ย้อนหลัง ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์ Chinese Center for Disease Control[7]
ความพยายามที่เพิ่มขึ้นในการสู้กับโรคโควิด-19 และการจัดการด้านสุขภาพ
นอกจากงานวิจัยทางวิชาการจาก Huami แล้ว ทางบริษัทยังคงเดินหน้าความพยายามตามพันธกิจ Connect Health with Technology โดยบริษัทได้บริจาคเวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์มูลค่า 11.5 ล้านหยวนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
Amazfit ซึ่งเป็นแบรนด์ของ Huami ได้เริ่มพัฒนาหน้ากากอนามัย N95 แบบใสในชื่อ Amazfit AERI เพื่อช่วยยกระดับการบริหารจัดการทางการแพทย์และการป้องกันการแพร่ระบาดทั่วโลก ผลิตภัณฑ์คอนเซปต์นี้ประกอบด้วยที่ครอบแบบใสพร้อมคุณสมบัติกันฝ้าและโครงหน้ากากแบบโปร่งแสง ซึ่งทำให้มองเห็นสีหน้าของผู้สวมใส่ ส่งผลให้รู้สึกสบายใจมากขึ้นแม้ต้องเว้นระยะทางสังคม ทั้งยังทำให้ผู้สวมใส่ปลดล็อกมือถือด้วย Face ID ได้ด้วย นอกจากนี้ Amazfit AERI ที่ล้ำสมัยยังสามารถทำความสะอาดด้วยตัวเองและคงอยู่นานหลายสัปดาห์ และในเดือนเมษายนที่ผ่านมา Amazfit X Smartwatch สุดล้ำสมัย ที่มีจอแสดงผล AMOLED แบบโค้ง และดีไซน์ไร้ปุ่มกด ได้เปิดขายผ่านการทำคราวด์ฟันดิง ซึ่งสร้างประสบการณ์เหนือชั้นแก่ผู้ใช้งานเช่นกัน
ในเรื่องของการต่อสู้กับโรคโควิด-19 Huami ยังได้จับมือเป็นพันธมิตรกับศูนย์ China National Clinical Research Center of Respiratory Disease (NCRCRD) และสถาบัน Guangdong Nanshan Medical Innovation Institute ซึ่งนำโดยนายแพทย์จงหนานซาน เพื่อสร้างห้องปฏิบัติการอุปกรณ์อัจฉริยะ ห้องปฏิบัติการดังกล่าวจะใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะของ Huami และอัลกอริทึมประมวลผลอันทรงพลัง เพื่อช่วยผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หายดีแล้วในการติดตามอาการและดูแลตนเองผ่านแพลตฟอร์มบิ๊กดาต้าอย่าง NCRCRD
[1] Cognitive Modeling of Multimodal Data Intensive Systems for Applications in Nature and Society (COMDICS)
[2] Discrete Dynamics in Nature and Society https://www.hindawi.com/journals/ddns/2020/6152041
[3] อุปกรณ์สวมใส่ของ Huami ไม่ใช่เครื่องมือแพทย์ และไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการวินิจฉัยหรือติดตามอาการทางการแพทย์
[4] ความพร้อมใช้ของข้อมูล: ข้อมูลเซ็นเซอร์ในการวิจัยนี้ไม่สามารถแบ่งปันได้เนื่องด้วยความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ แต่สามารถทำข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลสถิติระดับภูมิภาคที่ลบตัวบ่งชี้ออกไปแล้วเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาการ
ผลประโยชน์ทับซ้อน: ผู้นิพนธ์การวิจัยนี้ขอประกาศว่า ตัวผู้นิพนธ์ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการตีพิมพ์รายงานฉบับนี้
[5] อ้างอิงจาก https://www.hindawi.com/journals/ddns/2020/6152041
[6] ข้อมูลจากการวิจัยอาการไข้และจังหวะการเต้นของหัวใจ, L. Faust, K. Feldman, S. M. Mattingly et al., "Deviations from normal bedtimes are associated with short-term increases in resting heart rate," Npj Digital Medicine, vol. 3, no. 1, pp. 1–9, 2020.
[7] The New England Journal of Medicine (NEJM): https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2001316
No comments:
Post a Comment