- ผู้บริหารการรถไฟจากทั่วโลกรวมตัวกันเพื่อถกอนาคตของการเดินรถไฟในยุคไอซีที
หัวเว่ย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Asia Pacific Railway Summit 2016 ที่ฮ่องกงในวันนี้ (23 มี.ค.) ภายใต้หัวข้อ "Leading New ICT, Building a Better Connected Railway" ซึ่งมีผู้บริหารและบุคลากรมืออาชีพในแวดวงการรถไฟกว่า 100 คน จาก 10 ประเทศร่วมงานในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนหลักปฏิบัติอันดีและหารือถึงทิศทางและความท้าทายที่พลิกโฉมการพัฒนาการเดินรถไฟ
หยวน ซีหลิน ประธานฝ่ายการขนส่งจาก Enterprise Business Group ของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์ต้อนรับผู้ร่วมงาน โดยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลจากการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีที่มีต่ออุตสาหกรรมว่า "เทคโนโลยีใหม่ๆที่มีการประมวลผลบนคลาวด์เป็นแกนกลางนั้นได้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการรถไฟ ด้วยเหตุนี้หัวเว่ยจึงรุกส่งเสริมการพัฒนาและการใช้งานเทคโนโลยีแบบเปิดเหล่านี้เพื่อช่วยวงการรถไฟในการพลิกโฉมบทบาทของระบบไอซีที จากการเป็นส่วนสนับสนุนไปสู่การเป็นองค์ประกอบการทำงานหลัก" เขากล่าว
หัวเว่ยมีความเชื่อมั่นอย่างหนักแน่นว่าการคมนาคมด้วยรถไฟจะประสบความสำเร็จได้ก็ด้วยการประสานงานที่ได้ผลระหว่างระบบโครงสร้างพื้นฐาน ยานพาหนะ และบุคลากร ดังนั้นในขณะการรถไฟยังคงพัฒนาไปเป็นลำดับ ผู้ดำเนินการรถไฟทั่วโลกก็ต้องคิดหาแนวทางใหม่ๆในการจัดการทรัพยากรและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ริชาร์ด ซี เอส หว่อง ซึ่งเป็น Principal Fellow ของ Systems & Technology Group และรองประธานและหัวหน้าระบบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสิงคโปร์ (SMRT) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับแนวทางที่ผู้ดำเนินการรถไฟสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ เขากล่าวว่า "ปัจจุบันบริการสื่อสารไร้สายถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการรถไฟมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากวิธีนี้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยากซับซ้อน และยังช่วยลดสัญญาแทรกสอดอุปกรณ์การสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันการสื่อสารระหว่างรถไฟและการหาตำแหน่งรถไฟยังง่ายขึ้นด้วยระบบสัญญาณรถไฟที่ทำงานผ่านระบบไร้สายและไอซีที ทำให้ผู้โดยสารเชื่อมต่อเข้าถึงข้อมูลรถไฟเต็มรูปแบบ การเดินทางจึงมีความสะดวกสบายและรื่นรมย์มากขึ้น"
ในยุคอินเทอร์เน็ตมือถือ ผู้โดยสารต่างเรียกร้องให้มีบริการข้อมูลข่าวสาร ธุรกิจ และความบันเทิงในระหว่างการเดินทาง โดยซู ชูเผิง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิศวกรรมเครื่องกลของ Zhengzhou Rail Transport Company แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ โดยยกข้อดีของการเชื่อมต่อเต็มรูปแบบว่า "เนื่องจากมีการตั้งเครือข่าย eLTE ขึ้นมา รถไฟใต้ดินเจิ้งโจว (Zhengzhou Metro) จึงสามารถใช้ระบบกล้องวงจรปิดความคมชัดสูงติดตามรถไฟได้อย่างเรียลไทม์ การวิเคราะห์ข้อมูลจราจรจึงสามารถทำได้เรียลไทม์ด้วย การควบคุมการเดินรถไฟและสถานการณ์ต่างๆบนรถไฟจึงมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น" นายซูกล่าว "ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เราจึงสามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที เพื่อเป็นการรับประกันความปลอดภัยของผู้โดยสารและรถไฟ ไม่เพียงเท่านี้ eLTE ยังรับประกันคุณภาพบริการระบบข้อมูลผู้โดยสารในขั้นสูง เปิดทางให้ผู้โดยสารสามารถดูวิดีโอแบบเรียลไทม์ได้อย่างไม่สะดุด จึงเป็นการยกระดับประสบการณ์การเดินทาง บริการดังกล่าวนี้ยังเป็นการวางรากฐานสำหรับการใช้งานในภารกิจที่สำคัญ เช่น การควบคุมรถไฟด้วยการสื่อสาร, Broadband Trunking และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคุณสมบัติพิเศษ"
เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่หัวเว่ยเป็นผู้จัดหาโซลูชั่นแนวหน้าในอุตสาหกรรมการรถไฟ ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นนวัตกรรมที่อาศัยระบบไอซีทีของหัวเว่ยนั้นได้ให้บริการแก่เส้นทางเดินรถไฟรวมความยาว 100,000 กิโลเมตรทั่วโลก หรือยาวเป็นสองเท่าของเส้นรอบวงโลก บริษัทเป็นผู้จำหน่ายผู้รายเดียวในอุตสาหกรรมที่นำเสนอโซลูชั่น GSM-R เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ LTE เป็นไปอย่างราบรื่น จึงไม่น่าแปลกใจที่โซลูชั่นการสื่อสารสำหรับการเดินรถไฟ GSM-R ของหัวเว่ยได้กลายเป็นผู้นำในตลาดส่วนเพิ่มติดต่อกันเป็นปีที่ 4 และปัจจุบันให้บริการทางเดินรถไฟเป็นระยะทางกว่า 45,000 กิโลเมตรทั่วโลก
บริษัทกำลังต่อยอดความสำเร็จนี้ด้วยการขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมการรถไฟทั่วโลก โดยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2015 บริษัทสามารถคว้าสัมปทานโครงการปรับปรุง GSM-R ให้มีความทันสมัย ซึ่งเสนอโครงการโดย Deutsche Bahn (DB) ในภาคเหนือของเยอรมนี โครงการนี้เป็นการปรับโครงสร้างเครือข่าย GSM-R ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน โดยครอบคลุมเส้นทาง 12,000 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 40% ของเครือข่ายของ DB
ในส่วนของโครงการที่แล้วเสร็จ หัวเว่ยประสบความสำเร็จในการวางโซลูชั่นการสื่อสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสำหรับ Addis Ababa Light Rail ของเอธิโอเปีย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2015
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Asia Pacific Railway Summit 2016 กรุณาเข้าชมที่ http://enterprise.huawei.com/topic/asiapacificrail2016/index.html
เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย เป็นผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ชั้นนำระดับโลก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของหัวเว่ยที่ www.huawei.com
No comments:
Post a Comment