ในขณะที่บริษัทต่างๆ พยายามที่จะรับมือกับการแข่งขันในตลาดโลกท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงนั้น วันนี้บริษัทเหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์จากแบบจำลองการปรับเปลี่ยนต้นทุนซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย รวมถึงคงความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนหรือภาระค่าใช้จ่ายได้ด้วย
แบบจำลองหรือโมเดลดังกล่าวทำหน้าที่เสมือนโครงสร้างการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติและการตัดสินอย่างสมเหตุสมผล เพื่อเปลี่ยนแปลงและบริหารจัดการความสามารถในการแข่งขันด้านภาระค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วยโมเดล 6 รายการ ที่จะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย และประคับประคองความสามารถในการแข่งขันด้านค่าใช้จ่ายในระยะยาว
โมเดล 6 รายการ ประกอบไปด้วย:
- การสร้างวัฒนธรรมของการใส่ใจเรื่องต้นทุน
เพื่อให้การดำเนินการปรับเปลี่ยนต้นทุน และกลยุทธ์การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้จำเป็นต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร และตอบสนองในทิศทางที่จะทำให้องค์กรมีความคล่องตัวในยามที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ความยุ่งยาก
- การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวพันกับการขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน
ในขณะที่ธุรกิจต่างๆต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไปในตลาดและองค์กรอยู่ตลอดเวลานั้น ความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนเองนั้น ก็อาจจะเผชิญกับความเสี่ยงบางประการได้บ่อยครั้ง
- การเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์เข้ากับความสามารถในการทำกำไร
ไม่ว่ารูปแบบของธุรกิจจะเป็นอย่างไร มูลค่าผลิตภัณฑ์ที่เราสามารถสร้างให้กับลูกค้า จะต้องผ่านการวิเคราะห์และทำความเข้าใจ หากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไม่ให้คุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์ของตนเอง ก็มีความเป็นไปได้ว่าพวกเขาจะไม่ยอมจ่ายแพง หรือไม่ก็เปลี่ยนไปอุดหนุนเจ้าอื่นแทน
- การสร้างมูลค่าสูงสุดผ่านผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ควรได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะเพิ่มเติม หรือตัดทอนบางส่วนให้เหมาะกับตลาดจำนวนมากเท่าที่จะเป็นไปได้โดยไม่ขาดทุน
- การสร้างความยั่งยืนเพื่อเพิ่มผลกำไร
การประยุกต์วิธีการที่มีความยั่งยันมาใช้ในโมเดลการทำธุรกิจ (ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนา, การผลิต, บรรจุภัณฑ์,โลจิสติกส์ และการตลาด เป็นต้น) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในห่วงโซ่คุณค่า
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของค่าใช้จ่าย: กระบวนการและระบบบัญชีต้นทุน
ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ต้นทุนต่ำลง อีกทั้งยังช่วยรักษาและเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
แบบจำลองการปรับเปลี่ยนต้นทุนยังมีกรณีศึกษา 3 กรณีตัวอย่างในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และบรรจุภัณฑ์เหล็ก โดยแบบจำลองได้รับการพัฒนาจาก Chartered Institute of Management Accountants (CIMA) และ สมาคมนักบัญชีสาธารณะของสหรัฐ (American Institute of Certified Public Accountants: AICPA) ซึ่งสามารถดูข้อมูลที่ www.cgma.org
No comments:
Post a Comment